คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 1 ช่วงวันที่ 9-16 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูเพาะปลูกปี 2551 สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำท่วม ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2551
จากร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ในวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2551 ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี พังงา ดังนี้
1. จังหวัดตาก เกิดน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโป่งแดง และไม้งาม เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ส่วนตำบลวังหิน หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้อำเภอบ้านตาก 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเกาะตะเภา ตากตก ทุ่งกระเซาะ ตากออก เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
2. จังหวัดกำแพงเพชร เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปางศิลาทอง และอำเภอคลองลาน ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว อำเภอเมือง(ตำบลลานดอกไม้) อำเภอโกสุมพีนคร(ตำบลโกสุมพีนคร) และอำเภอพรานกระต่าย(ตำบลวังควงและท่าไม้) ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 5 วัน
3. จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิภาวดี 1 ตำบล และอำเภอ
คีรีรัฐนิคม 3 ตำบล อำเภอพนม 3 ตำบล เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
4. จังหวัดพังงา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า บริเวณชุมชนตลาดเก่า เทศบาลตะกั่วป่า เข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2551
อุทกภัย พื้นที่ประสบภัยรวม 6 จังหวัดได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก น่าน สุโขทัย สุพรรณบุรี และสุราษฎร์ธานี เกษตรกร 2,095 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 115,475 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบ 327 ตัว บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 105 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 116 ไร่ กระชัง 251 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 2,295 ตารางเมตร
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 41,157 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 17,843 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (46,726 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 5,569 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,451 และ 4,122 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 48 และ 43 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 10,573 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 2550 (14,970 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 4,397 ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 282 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (447 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 165 ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.)
ในอ่างฯ ใช้การได้
1) แม่กวงอุดมธารา เชียงใหม่ 48 (18%) 34 (13%)
2) กิ่วลม ลำปาง 34 (30%) 30 (27%)
3) ป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี 277 (29%) 274 (29%)
4) คลองสียัด ฉะเชิงเทรา 109 (26%) 79 (19%)
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.)
ในอ่างฯ ใช้การได้
1) ศรีนครินทร์ กาญจนบุรี 14,704 (83%) 4,439 (25%)
2) บางลาง ยะลา 1,285 (88%) 1,026 (70%)
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และสถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำตะกั่วป่า สถานี X.187 บ้านหินดาด อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้ม ลดลง
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 824 ลบ.ม.ต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 782 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.45 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 10.50 เมตร.(รทก.) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำระบาย 11 ลบ.ม.ต่อวินาที เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 146 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูเพาะปลูกปี 2551
ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีสภาวะ ฝนมากเนื่องจากจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และไต้ฝุ่น) และจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มได้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูเพาะปลูกปี 2551 โดยการประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คาดหมายลักษณะอากาศ ปริมาณฝน สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ การพยากรณ์การผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก และกำหนดกรอบแนวทางการจัดทำแผนฯ แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ดังนี้
ก่อนเกิดภัย การกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านต่างๆ เช่น แผนการบริหารจัดการน้ำ แผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ฝนทิ้งช่วง และเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำปลายฤดูฝน การขุดลอกแหล่งน้ำเก็บกักและคลองระบายน้ำ การอนุรักษ์ดินและน้ำ การสำรองปัจจัยการผลิต เสบียงสัตว์และเวชภัณฑ์ การเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุต่าง การประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำทางวิชาการด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์
ขณะเกิดภัย ติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือน และรายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้บริหารทราบ โดยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติด้านการเกษตร เป็นหน่วยงานกลางในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เครื่องจักรกล เสบียงสัตว์และเวชภัณฑ์ การปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ฝนทิ้งช่วง และการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 โดยผ่านความเห็นชอบของ ก.ช.ภ.อ. และก.ช.ภ.จ.
หลังเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทด รองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 การขอสนับสนุนงบกลางเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย การให้ความช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่สมาชิกสหกรณ์และสมาชิกปฏิรูปที่ดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--
สถานการณ์น้ำท่วม ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2551
จากร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ในวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2551 ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี พังงา ดังนี้
1. จังหวัดตาก เกิดน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโป่งแดง และไม้งาม เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ส่วนตำบลวังหิน หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้อำเภอบ้านตาก 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเกาะตะเภา ตากตก ทุ่งกระเซาะ ตากออก เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
2. จังหวัดกำแพงเพชร เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปางศิลาทอง และอำเภอคลองลาน ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว อำเภอเมือง(ตำบลลานดอกไม้) อำเภอโกสุมพีนคร(ตำบลโกสุมพีนคร) และอำเภอพรานกระต่าย(ตำบลวังควงและท่าไม้) ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 5 วัน
3. จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิภาวดี 1 ตำบล และอำเภอ
คีรีรัฐนิคม 3 ตำบล อำเภอพนม 3 ตำบล เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
4. จังหวัดพังงา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า บริเวณชุมชนตลาดเก่า เทศบาลตะกั่วป่า เข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2551
อุทกภัย พื้นที่ประสบภัยรวม 6 จังหวัดได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก น่าน สุโขทัย สุพรรณบุรี และสุราษฎร์ธานี เกษตรกร 2,095 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 115,475 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบ 327 ตัว บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 105 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 116 ไร่ กระชัง 251 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 2,295 ตารางเมตร
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 41,157 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 17,843 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (46,726 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 5,569 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,451 และ 4,122 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 48 และ 43 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 10,573 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 2550 (14,970 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 4,397 ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 282 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (447 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 165 ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.)
ในอ่างฯ ใช้การได้
1) แม่กวงอุดมธารา เชียงใหม่ 48 (18%) 34 (13%)
2) กิ่วลม ลำปาง 34 (30%) 30 (27%)
3) ป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี 277 (29%) 274 (29%)
4) คลองสียัด ฉะเชิงเทรา 109 (26%) 79 (19%)
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำ (ล้าน ลบ.ม.)
ในอ่างฯ ใช้การได้
1) ศรีนครินทร์ กาญจนบุรี 14,704 (83%) 4,439 (25%)
2) บางลาง ยะลา 1,285 (88%) 1,026 (70%)
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำยม สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน สถานี N.5A สะพาน เอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และสถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำตะกั่วป่า สถานี X.187 บ้านหินดาด อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้ม ลดลง
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 824 ลบ.ม.ต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 782 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.45 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา + 10.50 เมตร.(รทก.) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำระบาย 11 ลบ.ม.ต่อวินาที เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 146 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูเพาะปลูกปี 2551
ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีสภาวะ ฝนมากเนื่องจากจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และไต้ฝุ่น) และจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มได้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูเพาะปลูกปี 2551 โดยการประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คาดหมายลักษณะอากาศ ปริมาณฝน สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ การพยากรณ์การผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก และกำหนดกรอบแนวทางการจัดทำแผนฯ แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ดังนี้
ก่อนเกิดภัย การกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านต่างๆ เช่น แผนการบริหารจัดการน้ำ แผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ฝนทิ้งช่วง และเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำปลายฤดูฝน การขุดลอกแหล่งน้ำเก็บกักและคลองระบายน้ำ การอนุรักษ์ดินและน้ำ การสำรองปัจจัยการผลิต เสบียงสัตว์และเวชภัณฑ์ การเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุต่าง การประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำทางวิชาการด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์
ขณะเกิดภัย ติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือน และรายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้บริหารทราบ โดยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติด้านการเกษตร เป็นหน่วยงานกลางในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เครื่องจักรกล เสบียงสัตว์และเวชภัณฑ์ การปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ฝนทิ้งช่วง และการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 โดยผ่านความเห็นชอบของ ก.ช.ภ.อ. และก.ช.ภ.จ.
หลังเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทด รองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 การขอสนับสนุนงบกลางเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย การให้ความช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่สมาชิกสหกรณ์และสมาชิกปฏิรูปที่ดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--