คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารจัดทำรายงานสภาวะอากาศรายสัปดาห์และพยากรณ์อากาศเสนอ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ ดังนี้
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่ามา ( 9-15 พฤษภาคม 2551)
ด้วยในช่วงวันที่ 9 — 15 พฤษภาคม 2551 ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านตอนกลางของประเทศไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าว ทำให้ทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร และสุราษฎร์ธานี
สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศพม่า บริเวณใกล้เคียงกับที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน นาร์กีส ได้เคลื่อนตัวเลียบฝั่งพม่าขึ้นไปทางเหนือ และมิได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ
หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้ว มีทิศทางการเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ สำหรับพายุโซร้อน มัทโม (Matmo) อีกลูกหนึ่ง ที่ก่อตัวทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่นตอนใต้
ลักษณะอากาศในช่วง 10 วันข้างหน้า (16 — 25 พฤษภาคม 2551)
การคาดหมายลักษณะอากาศที่สำคัญในช่วง 10 วันข้างหน้า (16 — 25 พฤษภาคม 2551) คาดว่าในช่วงนี้ ร่องความกดอากาศต่ำและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศต่อประเทศไทย เริ่มมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนลดน้อยลงบ้าง โดยยังคงมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายใน 4 ภาคตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก) พื้นที่ของภาคเหนือ ยังคงต้องระมัดระวังเกี่ยวกับฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น พื้นที่อยู่ใกล้ทางน้ำไหล ลาดลุ่มเชิงเขา
สำหรับพายุดีเปรสชั่นที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มที่จะแรงขึ้นอีก แต่มีทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านทางตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ มุ่งหน้าตามพายุ มัทโม (Matmo) ไปยังประเทศญี่ปุ่นตอนใต้
อนึ่ง ยังไม่มีแนวโน้มการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนหรือไซโคลนในทะเลอันดามัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่ามา ( 9-15 พฤษภาคม 2551)
ด้วยในช่วงวันที่ 9 — 15 พฤษภาคม 2551 ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านตอนกลางของประเทศไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าว ทำให้ทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร และสุราษฎร์ธานี
สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศพม่า บริเวณใกล้เคียงกับที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน นาร์กีส ได้เคลื่อนตัวเลียบฝั่งพม่าขึ้นไปทางเหนือ และมิได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ
หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้ว มีทิศทางการเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ สำหรับพายุโซร้อน มัทโม (Matmo) อีกลูกหนึ่ง ที่ก่อตัวทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่นตอนใต้
ลักษณะอากาศในช่วง 10 วันข้างหน้า (16 — 25 พฤษภาคม 2551)
การคาดหมายลักษณะอากาศที่สำคัญในช่วง 10 วันข้างหน้า (16 — 25 พฤษภาคม 2551) คาดว่าในช่วงนี้ ร่องความกดอากาศต่ำและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศต่อประเทศไทย เริ่มมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนลดน้อยลงบ้าง โดยยังคงมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายใน 4 ภาคตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก) พื้นที่ของภาคเหนือ ยังคงต้องระมัดระวังเกี่ยวกับฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น พื้นที่อยู่ใกล้ทางน้ำไหล ลาดลุ่มเชิงเขา
สำหรับพายุดีเปรสชั่นที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มที่จะแรงขึ้นอีก แต่มีทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านทางตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ มุ่งหน้าตามพายุ มัทโม (Matmo) ไปยังประเทศญี่ปุ่นตอนใต้
อนึ่ง ยังไม่มีแนวโน้มการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนหรือไซโคลนในทะเลอันดามัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--