คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการแก้ไขอนุสัญญาก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ซึ่งผ่านการรับรองจาก
ที่ประชุมคณะมนตรีฯ อันประกอบด้วยอธิบดีกรมศุลกากรประเทศสมาชิกเรียบร้อยแล้ว และมอบหมายให้กระทรวง
การต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแจ้งการยอมรับต่อกระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยมต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ในการปะชุมประจำปีขององค์การศุลกากรโลก (WCO Council Session) ครั้งที่ 109/110 ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2550 ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นการประชุมของคณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยอธิบดีศุลกากรประเทศสมาชิกทุกประเทศ ได้มีการพิจารณาคำร้องขอของสหภาพยุโรปในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การศุลกากรโลก และที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบเรื่องการรับสหภาพยุโรปเข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การศุลกากรโลก โดยการรับรองข้อเสนอแนะในการแก้ไขอนุสัญญาก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร เนื่องจากอนุสัญญาก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรกำหนดให้สมาชิกขององค์การศุลกากรโลกต้องมีสถานะเป็น “Governments of States” และ “Governments of Separate Customs Territory” เท่านั้น ดังนั้น การรับสหภาพยุโรปเข้าเป็นสมาชิกจึงต้องมีการแก้ไขตัวบทของอนุสัญญาดังกล่าวก่อน หลังจากนั้นต้องเวียนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศซึ่งปัจจุบันมี 171 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ให้ความเห็นชอบโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านขั้นตอนทางการทูตให้กระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยมทราบ หลังจากที่ประเทศสมาชิกรับรองการแก้ไขแล้ว การแก้ไขดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับหลังจากนั้นอีก 3 เดือน
2. ข้อเสนอแนะการแก้ไขอนุสัญญาฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 แก้ไขมาตรา 8 (a) ของอนุสัญญาฯ โดยเพิ่มข้อยกเว้นการออกเสียงโดยสมาชิกสหภาพศุลกากรหรือสหภาพเศรษฐกิจ (Customs or Economic Unions) ตามบทเฉพาะที่คณะมนตรี ฯ จะกำหนดต่อไป
2.2 เพิ่มอนุวรรค (d) ในมาตรา 18 ของอนุสัญญาฯ ให้สหภาพศุลกากรหรือสหภาพเศรษฐกิจเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้
3. กระทรวงการคลังได้มีหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขอนุสัญญา (ตามข้อ 2) ต่อมากระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) ได้มีหนังสือแจ้งกลับไปยังกรมศุลกากรโดยสรุปว่า หากกรมศุลกากรพิจารณาเห็นควรที่รัฐบาลไทยจะยอมรับการแก้ไขอนุสัญญาฯ จะต้องเสนอการแก้ไขดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการแจ้งการยอมรับต่อกระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยมต่อไป
4. กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การศุลกากรโลกมาโดยตลอดและมีระบบงานศุลกากรที่ก้าวหน้าซึ่งจะสามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานและกิจกรรมขององค์การศุลกากรโลก จึงเห็นควรสนับสนุนให้สหภาพยุโรปเข้าเป็นสมาชิกขององค์การศุลกากรโลกโดยยอมรับการแก้ไขอนุสัญญาฯ ตามที่คณะมนตรีฯได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--
ที่ประชุมคณะมนตรีฯ อันประกอบด้วยอธิบดีกรมศุลกากรประเทศสมาชิกเรียบร้อยแล้ว และมอบหมายให้กระทรวง
การต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแจ้งการยอมรับต่อกระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยมต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ในการปะชุมประจำปีขององค์การศุลกากรโลก (WCO Council Session) ครั้งที่ 109/110 ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2550 ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นการประชุมของคณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยอธิบดีศุลกากรประเทศสมาชิกทุกประเทศ ได้มีการพิจารณาคำร้องขอของสหภาพยุโรปในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การศุลกากรโลก และที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบเรื่องการรับสหภาพยุโรปเข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การศุลกากรโลก โดยการรับรองข้อเสนอแนะในการแก้ไขอนุสัญญาก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร เนื่องจากอนุสัญญาก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรกำหนดให้สมาชิกขององค์การศุลกากรโลกต้องมีสถานะเป็น “Governments of States” และ “Governments of Separate Customs Territory” เท่านั้น ดังนั้น การรับสหภาพยุโรปเข้าเป็นสมาชิกจึงต้องมีการแก้ไขตัวบทของอนุสัญญาดังกล่าวก่อน หลังจากนั้นต้องเวียนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศซึ่งปัจจุบันมี 171 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ให้ความเห็นชอบโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านขั้นตอนทางการทูตให้กระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยมทราบ หลังจากที่ประเทศสมาชิกรับรองการแก้ไขแล้ว การแก้ไขดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับหลังจากนั้นอีก 3 เดือน
2. ข้อเสนอแนะการแก้ไขอนุสัญญาฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 แก้ไขมาตรา 8 (a) ของอนุสัญญาฯ โดยเพิ่มข้อยกเว้นการออกเสียงโดยสมาชิกสหภาพศุลกากรหรือสหภาพเศรษฐกิจ (Customs or Economic Unions) ตามบทเฉพาะที่คณะมนตรี ฯ จะกำหนดต่อไป
2.2 เพิ่มอนุวรรค (d) ในมาตรา 18 ของอนุสัญญาฯ ให้สหภาพศุลกากรหรือสหภาพเศรษฐกิจเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้
3. กระทรวงการคลังได้มีหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขอนุสัญญา (ตามข้อ 2) ต่อมากระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) ได้มีหนังสือแจ้งกลับไปยังกรมศุลกากรโดยสรุปว่า หากกรมศุลกากรพิจารณาเห็นควรที่รัฐบาลไทยจะยอมรับการแก้ไขอนุสัญญาฯ จะต้องเสนอการแก้ไขดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการแจ้งการยอมรับต่อกระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยมต่อไป
4. กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การศุลกากรโลกมาโดยตลอดและมีระบบงานศุลกากรที่ก้าวหน้าซึ่งจะสามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานและกิจกรรมขององค์การศุลกากรโลก จึงเห็นควรสนับสนุนให้สหภาพยุโรปเข้าเป็นสมาชิกขององค์การศุลกากรโลกโดยยอมรับการแก้ไขอนุสัญญาฯ ตามที่คณะมนตรีฯได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--