คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน จำนวน 13,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินในประเทศ โดยการออกพันธบัตรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 13,000 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่น ๆ โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน และอนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับไปพิจารณาการแปลงสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ต่อไป
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2549 (มกราคม-ธันวาคม 2549) ธนาคารอาคารสงเคราะห์คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อในโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- โครงการสินเชื่อรายย่อยบุคคลทั่วไป จำนวนประมาณ 6,500 ล้านบาท โดยเป็นการบริการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ธนาคารใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์อื่นให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่เพียง 1-2 ปีเท่านั้น โครงการสินเชื่อรายย่อยบุคคลทั่วไปนี้ เป็นการให้สินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยแก่ลูกค้ารายย่อย และยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
- โครงการสินเชื่อสวัสดิการ จำนวนประมาณ 6,500 ล้านบาท โดยเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารอาคารสงเคราะห์กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงานของหน่วยงานนั้น ๆ โดยมีเงื่อนไขให้หน่วยงานหักเงินเดือนผ่อนชำระ เพื่อเป็นการลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีเป้าหมายว่าจะปล่อยสินเชื่อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 100,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีแหล่งเงินทุนมาจากการรับชำระคืนเงินกู้ การกู้เงินและการระดมเงินฝาก เป็นต้น ซึ่งการระดมเงินทุนเพื่อการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวที่ผ่านมาแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้น ในขณะที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ปล่อยสินเชื่อระยะยาวจึงทำให้เกิดการไม่สอดคล้องกันระหว่างแหล่งที่มาของเงินและแหล่งที่ใช้ไปของเงิน (Mismatch Fund) ดังนั้น เพื่อให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์สามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามแผนการดำเนินงานและสามารถบริหารสินทรัพย์และหนี้สินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน จำนวน 13,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2549 (มกราคม-ธันวาคม 2549) ธนาคารอาคารสงเคราะห์คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อในโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- โครงการสินเชื่อรายย่อยบุคคลทั่วไป จำนวนประมาณ 6,500 ล้านบาท โดยเป็นการบริการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ธนาคารใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์อื่นให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่เพียง 1-2 ปีเท่านั้น โครงการสินเชื่อรายย่อยบุคคลทั่วไปนี้ เป็นการให้สินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยแก่ลูกค้ารายย่อย และยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
- โครงการสินเชื่อสวัสดิการ จำนวนประมาณ 6,500 ล้านบาท โดยเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารอาคารสงเคราะห์กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงานของหน่วยงานนั้น ๆ โดยมีเงื่อนไขให้หน่วยงานหักเงินเดือนผ่อนชำระ เพื่อเป็นการลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีเป้าหมายว่าจะปล่อยสินเชื่อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 100,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีแหล่งเงินทุนมาจากการรับชำระคืนเงินกู้ การกู้เงินและการระดมเงินฝาก เป็นต้น ซึ่งการระดมเงินทุนเพื่อการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวที่ผ่านมาแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้น ในขณะที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ปล่อยสินเชื่อระยะยาวจึงทำให้เกิดการไม่สอดคล้องกันระหว่างแหล่งที่มาของเงินและแหล่งที่ใช้ไปของเงิน (Mismatch Fund) ดังนั้น เพื่อให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์สามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามแผนการดำเนินงานและสามารถบริหารสินทรัพย์และหนี้สินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน จำนวน 13,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--