เรื่อง บันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากบริษัท ดูไบ เวิลด์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อศึกษาความ
เหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทาง
การพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และดูไบ เวิลด์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2. มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึก ความเข้าใจดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ดูไบ เวิลด์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ถึงกระทรวงคมนาคม เสนอให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย พร้อมกับจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจสำหรับการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเพื่อกระทรวงคมนาคมพิจารณา
2. กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรประสานงานกับดูไบ เวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อให้เป็นองค์กรของรัฐในการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ โดยในการประสานงานดังกล่าวได้มีการเจรจาปรับปรุงรายละเอียดสาระสำคัญในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ รวมทั้งได้มีการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2551 ที่จะลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ กับดูไบ เวิลด์ ภายหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว
3. สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ สรุปได้ดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์ของร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ เพื่อร่วมกันศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการโครงการ ประกอบด้วย
ก. การพัฒนาและเป็นเจ้าของบริการท่าเรือระหว่างประเทศ 2 แห่งเพื่อให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยท่าเรือแรกตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน และท่าเรือที่สองตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ด้านอ่าวไทย
ข. การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างท่าเรือทั้งสองแห่งข้างต้น รวมถึงการจัดตั้งให้แนวเส้นทางตามสะพานเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งให้สิทธิการยกเว้นภาษีแก่วิสาหกิจหรือบริษัทใด ๆ ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น
ค. การพัฒนาและเป็นเจ้าของบริการขนส่งทางบกบนแนวเส้นทางสะพานเศรษฐกิจซึ่งอาจรวมถึงการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทุกประเภท และรวมถึงการให้บริการสนับสนุนหรือบริการเกี่ยวข้องระหว่างท่าเรือทั้งสองแห่งผ่านสะพานเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น
ง. การศึกษาการดำเนินงานและการบริหารในทุก ๆ ด้านของโครงการที่ระบุไว้ในข้อ 3.1 ก 3.2 ข และ 3.3 ค ข้างต้น
3.2 ผลการศึกษาความเหมาะสมครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้
ก. สถานที่ตั้ง ขอบเขต รายละเอียดของท่าเรือและสะพานเศรษฐกิจ
ข. โครงสร้างเชิงพาณิชย์ โครงสร้างทางการเงิน โครงสร้างการบริหารจัดการท่าเรือและสะพานเศรษฐกิจ
ค. ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและผลกระทบจากการพัฒนา รวมทั้งแนวทางแก้ไข
ง. ความเป็นไปได้ของโครงการและปัจจัยแห่งความสำเร็จ
จ. การดำเนินการทางด้านกฎหมายที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย
ฉ. ข้อเสนอแนะสำหรับการเตรียมนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ
3.3 การคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา
ดูไบ เวิลด์ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทยเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาทำการศึกษาความเหมาะสมฯ โดยในการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาดูไบ เวิลด์ จะเป็นผู้เสนอรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอกให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดูไบ เวิลด์ ลงนามในสัญญาการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่อไป
3.4 การติดตามกำกับการดำเนินงานบริษัทที่ปรึกษาและความเป็นเจ้าของสิทธิผลการศึกษา
ฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามกำกับการดำเนินการของที่ปรึกษาและให้ความเห็นชอบงานและรายงานที่บริษัทที่ปรึกษาส่งมอบ โดยฝ่ายไทยและดูไบ เวิลด์ จะเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานและรายงานที่จะส่งมอบร่วมกัน
4. การศึกษาภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ไม่มีภาระผูกพันด้านงบประมาณเนื่องจากเป็นความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าจากดูไบ เวิลด์
5. กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ มีเนื้อหาเป็นความตกลงระหว่างส่วนราชการกับหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศในด้านความร่วมมือทางวิชาการทั่วไปและไม่มีข้อผูกพันต่อเนื่องที่ฝ่ายไทยจำเป็นต้องปฏิบัติภายหลังการศึกษาแล้วเสร็จ จึงเห็นสมควรให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยที่เหมาะสม เกิดประโยชน์แก่ประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในเชิงบูรณาการ โดยมีองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีประสบการณ์ในการบริหารเครือข่ายท่าเรือระดับโลกที่เป็นมืออาชีพมาร่วมกันทำการศึกษา จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องดังกล่าว
อนึ่ง เรื่องนี้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคมนาคม ในการพัฒนาเส้นทางการค้า (New Trade Lanes) สู่ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ผ่านทางฝั่งทะเลอันดามัน ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (พ.ศ.2550-2554) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางการค้าและการขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองรับการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่และการขยายตัวของปริมาณการค้าระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเปิดตลาดการค้าสู่กลุ่มประเทศใหม่ที่มีศักยภาพ (Emerging Market) และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมแจ้งเพิ่มเติมว่าการจัดทำบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ ดังกล่าวไม่มีประเด็นที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--
เหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทาง
การพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และดูไบ เวิลด์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2. มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึก ความเข้าใจดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ดูไบ เวิลด์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ถึงกระทรวงคมนาคม เสนอให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย พร้อมกับจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจสำหรับการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเพื่อกระทรวงคมนาคมพิจารณา
2. กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรประสานงานกับดูไบ เวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อให้เป็นองค์กรของรัฐในการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ โดยในการประสานงานดังกล่าวได้มีการเจรจาปรับปรุงรายละเอียดสาระสำคัญในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ รวมทั้งได้มีการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2551 ที่จะลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ กับดูไบ เวิลด์ ภายหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว
3. สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ สรุปได้ดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์ของร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ เพื่อร่วมกันศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการโครงการ ประกอบด้วย
ก. การพัฒนาและเป็นเจ้าของบริการท่าเรือระหว่างประเทศ 2 แห่งเพื่อให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยท่าเรือแรกตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน และท่าเรือที่สองตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ด้านอ่าวไทย
ข. การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างท่าเรือทั้งสองแห่งข้างต้น รวมถึงการจัดตั้งให้แนวเส้นทางตามสะพานเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งให้สิทธิการยกเว้นภาษีแก่วิสาหกิจหรือบริษัทใด ๆ ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น
ค. การพัฒนาและเป็นเจ้าของบริการขนส่งทางบกบนแนวเส้นทางสะพานเศรษฐกิจซึ่งอาจรวมถึงการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทุกประเภท และรวมถึงการให้บริการสนับสนุนหรือบริการเกี่ยวข้องระหว่างท่าเรือทั้งสองแห่งผ่านสะพานเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น
ง. การศึกษาการดำเนินงานและการบริหารในทุก ๆ ด้านของโครงการที่ระบุไว้ในข้อ 3.1 ก 3.2 ข และ 3.3 ค ข้างต้น
3.2 ผลการศึกษาความเหมาะสมครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้
ก. สถานที่ตั้ง ขอบเขต รายละเอียดของท่าเรือและสะพานเศรษฐกิจ
ข. โครงสร้างเชิงพาณิชย์ โครงสร้างทางการเงิน โครงสร้างการบริหารจัดการท่าเรือและสะพานเศรษฐกิจ
ค. ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและผลกระทบจากการพัฒนา รวมทั้งแนวทางแก้ไข
ง. ความเป็นไปได้ของโครงการและปัจจัยแห่งความสำเร็จ
จ. การดำเนินการทางด้านกฎหมายที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย
ฉ. ข้อเสนอแนะสำหรับการเตรียมนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ
3.3 การคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา
ดูไบ เวิลด์ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทยเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาทำการศึกษาความเหมาะสมฯ โดยในการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาดูไบ เวิลด์ จะเป็นผู้เสนอรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอกให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดูไบ เวิลด์ ลงนามในสัญญาการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่อไป
3.4 การติดตามกำกับการดำเนินงานบริษัทที่ปรึกษาและความเป็นเจ้าของสิทธิผลการศึกษา
ฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามกำกับการดำเนินการของที่ปรึกษาและให้ความเห็นชอบงานและรายงานที่บริษัทที่ปรึกษาส่งมอบ โดยฝ่ายไทยและดูไบ เวิลด์ จะเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานและรายงานที่จะส่งมอบร่วมกัน
4. การศึกษาภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ไม่มีภาระผูกพันด้านงบประมาณเนื่องจากเป็นความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าจากดูไบ เวิลด์
5. กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ มีเนื้อหาเป็นความตกลงระหว่างส่วนราชการกับหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศในด้านความร่วมมือทางวิชาการทั่วไปและไม่มีข้อผูกพันต่อเนื่องที่ฝ่ายไทยจำเป็นต้องปฏิบัติภายหลังการศึกษาแล้วเสร็จ จึงเห็นสมควรให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยที่เหมาะสม เกิดประโยชน์แก่ประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในเชิงบูรณาการ โดยมีองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีประสบการณ์ในการบริหารเครือข่ายท่าเรือระดับโลกที่เป็นมืออาชีพมาร่วมกันทำการศึกษา จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องดังกล่าว
อนึ่ง เรื่องนี้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคมนาคม ในการพัฒนาเส้นทางการค้า (New Trade Lanes) สู่ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ผ่านทางฝั่งทะเลอันดามัน ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (พ.ศ.2550-2554) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางการค้าและการขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองรับการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่และการขยายตัวของปริมาณการค้าระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเปิดตลาดการค้าสู่กลุ่มประเทศใหม่ที่มีศักยภาพ (Emerging Market) และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมแจ้งเพิ่มเติมว่าการจัดทำบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือฯ ดังกล่าวไม่มีประเด็นที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--