คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครน
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครน
และให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตเพื่อให้ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครนมีผลใช้บังคับหลังจากที่ยูเครนเป็นสมาชิก WTO แล้ว
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ในปี 2546 — 2550 การค้าระหว่างไทยกับยูเครน มีมูลค่าการค้ารวมเฉลี่ยปีละประมาณ 270.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2549 การค้ารวมลดลงเหลือ 138.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 264.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการนำเข้าเหล็กของไทย ซึ่งมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 90 ของการนำเข้าทั้งหมดได้ลดลงอย่างมากในปี 2549 ส่วนการส่งออกสินค้าไทยไปยูเครนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 และ 2550 มีการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และ 49.7 ตามลำดับ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้ายูเครนเป็นครั้งแรกในปี 2549 ต่อเนื่องถึงปี 2550 นับจากยูเครนแยกตัวจากสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2. ประเทศไทยและยูเครนได้ตกลงให้มีการเจรจาจัดทำความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) ระหว่างกันตั้งแต่ปี 2546 และสามารถสรุปผลการเจรจาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 โดยมีสาระสำคัญของความตกลงทางการค้าฯ ดังนี้
2.1 ให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (most — favoured — nation) ในด้านการสินค้าระหว่างกัน ตามหลักเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศ
2.2 สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผ่านทางการแลกเปลี่ยนการเยือนของคณะผู้แทนและนักธุรกิจ การจัดนิทรรศการ การแสดงสินค้า การแบ่งปันข้อมูลทางการค้า รวมทั้งการจัดตั้งธุรกิจในประเทศทั้งสอง
2.3 ส่งเสริมการลงทุนและความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างกันผ่านการร่วมลงทุน (joint venture) ในตลาดของประเทศทั้งสอง และในประเทศที่สาม
2.4 จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการรวมกลุ่มสหภาพยุโรปยูเครนเป็นประธานร่วม คณะกรรมการร่วมทางการค้าจะเป็นกลไกในการปฏิบัติตามความตกลงฯ ของทั้งสองฝ่าย
2.5 ความตกลงฉบับนี้ จะมีผลใช้บังคับเป็นเวลา 5 ปี และหลังจากนั้นจะมีผลบังคับใช้ต่อไปโดยอัตโนมัติอีกคราวละหนึ่งปี
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากความตกลงทางการค้าฯ
ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครน จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับยูเครน รวมทั้งเป็นการสร้างเวทีทวิภาคีที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาความร่วมมือทางการค้า และลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองประเทศสามารถขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันในอนาคต เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะขยายการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครน
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครน
และให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตเพื่อให้ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครนมีผลใช้บังคับหลังจากที่ยูเครนเป็นสมาชิก WTO แล้ว
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ในปี 2546 — 2550 การค้าระหว่างไทยกับยูเครน มีมูลค่าการค้ารวมเฉลี่ยปีละประมาณ 270.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2549 การค้ารวมลดลงเหลือ 138.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 264.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการนำเข้าเหล็กของไทย ซึ่งมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 90 ของการนำเข้าทั้งหมดได้ลดลงอย่างมากในปี 2549 ส่วนการส่งออกสินค้าไทยไปยูเครนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 และ 2550 มีการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และ 49.7 ตามลำดับ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้ายูเครนเป็นครั้งแรกในปี 2549 ต่อเนื่องถึงปี 2550 นับจากยูเครนแยกตัวจากสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2. ประเทศไทยและยูเครนได้ตกลงให้มีการเจรจาจัดทำความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) ระหว่างกันตั้งแต่ปี 2546 และสามารถสรุปผลการเจรจาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 โดยมีสาระสำคัญของความตกลงทางการค้าฯ ดังนี้
2.1 ให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (most — favoured — nation) ในด้านการสินค้าระหว่างกัน ตามหลักเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศ
2.2 สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผ่านทางการแลกเปลี่ยนการเยือนของคณะผู้แทนและนักธุรกิจ การจัดนิทรรศการ การแสดงสินค้า การแบ่งปันข้อมูลทางการค้า รวมทั้งการจัดตั้งธุรกิจในประเทศทั้งสอง
2.3 ส่งเสริมการลงทุนและความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างกันผ่านการร่วมลงทุน (joint venture) ในตลาดของประเทศทั้งสอง และในประเทศที่สาม
2.4 จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการรวมกลุ่มสหภาพยุโรปยูเครนเป็นประธานร่วม คณะกรรมการร่วมทางการค้าจะเป็นกลไกในการปฏิบัติตามความตกลงฯ ของทั้งสองฝ่าย
2.5 ความตกลงฉบับนี้ จะมีผลใช้บังคับเป็นเวลา 5 ปี และหลังจากนั้นจะมีผลบังคับใช้ต่อไปโดยอัตโนมัติอีกคราวละหนึ่งปี
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากความตกลงทางการค้าฯ
ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งยูเครน จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับยูเครน รวมทั้งเป็นการสร้างเวทีทวิภาคีที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาความร่วมมือทางการค้า และลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองประเทศสามารถขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันในอนาคต เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะขยายการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 พฤษภาคม 2551--จบ--