คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้มีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “รถ” และบทนิยามคำว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น”
2. ยกเลิกบทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” และยกเลิกลักษณะและวิธีการในการใช้เครื่องหมายแสดงการ มีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวกับเครื่องหมาย
3. กำหนดให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถต้องเก็บหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายไว้ และพร้อมแสดงหลักฐานดังกล่าวต่อเจ้าพนักงาน
4. กำหนดให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกตรวจสอบการมีประกันความเสียหายก่อนรับจดทะเบียนรถยนต์หรือรับชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
5. กำหนดกรณีที่ให้นายทะเบียนเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นคืนจากเจ้าของรถหรือบริษัทรวมทั้งการเรียกเงินเพิ่ม
6. กำหนดให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอาจจัดสรรดอกผลของเงินกองทุน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอื่น
7. ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “รถ” และบทนิยามคำว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น”
2. ยกเลิกบทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” และยกเลิกลักษณะและวิธีการในการใช้เครื่องหมายแสดงการ มีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวกับเครื่องหมาย
3. กำหนดให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถต้องเก็บหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายไว้ และพร้อมแสดงหลักฐานดังกล่าวต่อเจ้าพนักงาน
4. กำหนดให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกตรวจสอบการมีประกันความเสียหายก่อนรับจดทะเบียนรถยนต์หรือรับชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
5. กำหนดกรณีที่ให้นายทะเบียนเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นคืนจากเจ้าของรถหรือบริษัทรวมทั้งการเรียกเงินเพิ่ม
6. กำหนดให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอาจจัดสรรดอกผลของเงินกองทุน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอื่น
7. ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--