คณะรัฐมนตรีพิจารณาการดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในลักษณะ Distributed Generation (DG) โดยระบบการผลิตไฟฟ้าน้ำร้อน และน้ำเย็นร่วมกัน (Combined Heat and Power : CHP) เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ กำหนดนิยามของ DG ดังนี้
“ เป็นการผลิตไฟฟ้า ณ จุดใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า (Customer’s Site) โดยอาจติดตั้งขนานกับระบบจำหน่าย (Local distribution network) หรือติดตั้งแยกอิสระจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าทั่วไป (stand alone) ”
2. เห็นชอบให้ผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ CHP ที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าส่วนเกินสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าในปัจจุบัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตไฟฟ้า
3. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดำเนินการศึกษาแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าในลักษณะ CHP รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมต่อไป
กระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่าได้รับรายงานจากการไฟฟ้านครหลวงว่า
1. ปัจจุบันอัตราการขยายตัวของความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เขตจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวงค่อนข้างชะลอตัวโดยเปรียบเทียบกับการขยายตัวในพื้นที่เขตภูมิภาค ทำให้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการตลาดในพื้นที่การไฟฟ้านครหลวงลดลงจากร้อยละ 44 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 35 ในปี 2547 และจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ฉบับเดือนมกราคม 2547 คาดว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนของการตลาดของการไฟฟ้านครหลวงจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 32 ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การเมือง และนโยบายภาครัฐ มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหลักในการจัดหาและจำหน่ายการไฟฟ้าไฟฟ้านครหลวง ดังนั้นการไฟฟ้านครหลวงจึงจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2. จากข้อ 1. การไฟฟ้านครหลวงประสงค์จะดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า น้ำร้อน และน้ำเย็นร่วมกัน (Combined Heat and Power) ในลักษณะ Distributed Generation (DG) ตามความประสงค์ของลูกค้า และ/หรือผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอยและพลังงานนอกรูปแบบ ซึ่งภายใต้พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 การไฟฟ้านครหลวงสามารถดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องได้ และคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงได้ให้ความเห็นชอบในคราวประชุม ครั้งที่ 516 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2547
3. การดำเนินธุรกิจตามข้อ 2. การไฟฟ้านครหลวงจะต้องขออนุญาตผลิตพลังงานควบคุม จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และขอรับสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้า จากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน (พน.) ในส่วนของมติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง จึงได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณา
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่า จากรายงานของการไฟฟ้านครหลวง เป็นการสนับสนุนนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของรัฐบาล และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้การไฟฟ้านครหลวง ในอนาคตอันเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 สิงหาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในลักษณะ Distributed Generation (DG) โดยระบบการผลิตไฟฟ้าน้ำร้อน และน้ำเย็นร่วมกัน (Combined Heat and Power : CHP) เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ กำหนดนิยามของ DG ดังนี้
“ เป็นการผลิตไฟฟ้า ณ จุดใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า (Customer’s Site) โดยอาจติดตั้งขนานกับระบบจำหน่าย (Local distribution network) หรือติดตั้งแยกอิสระจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าทั่วไป (stand alone) ”
2. เห็นชอบให้ผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ CHP ที่มีปริมาณพลังไฟฟ้าส่วนเกินสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าในปัจจุบัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตไฟฟ้า
3. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดำเนินการศึกษาแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าในลักษณะ CHP รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมต่อไป
กระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่าได้รับรายงานจากการไฟฟ้านครหลวงว่า
1. ปัจจุบันอัตราการขยายตัวของความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เขตจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวงค่อนข้างชะลอตัวโดยเปรียบเทียบกับการขยายตัวในพื้นที่เขตภูมิภาค ทำให้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการตลาดในพื้นที่การไฟฟ้านครหลวงลดลงจากร้อยละ 44 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 35 ในปี 2547 และจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ฉบับเดือนมกราคม 2547 คาดว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนของการตลาดของการไฟฟ้านครหลวงจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 32 ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การเมือง และนโยบายภาครัฐ มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหลักในการจัดหาและจำหน่ายการไฟฟ้าไฟฟ้านครหลวง ดังนั้นการไฟฟ้านครหลวงจึงจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2. จากข้อ 1. การไฟฟ้านครหลวงประสงค์จะดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า น้ำร้อน และน้ำเย็นร่วมกัน (Combined Heat and Power) ในลักษณะ Distributed Generation (DG) ตามความประสงค์ของลูกค้า และ/หรือผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอยและพลังงานนอกรูปแบบ ซึ่งภายใต้พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 การไฟฟ้านครหลวงสามารถดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องได้ และคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงได้ให้ความเห็นชอบในคราวประชุม ครั้งที่ 516 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2547
3. การดำเนินธุรกิจตามข้อ 2. การไฟฟ้านครหลวงจะต้องขออนุญาตผลิตพลังงานควบคุม จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และขอรับสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้า จากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน (พน.) ในส่วนของมติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง จึงได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณา
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่า จากรายงานของการไฟฟ้านครหลวง เป็นการสนับสนุนนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของรัฐบาล และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้การไฟฟ้านครหลวง ในอนาคตอันเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 สิงหาคม 2548--จบ--