แท็ก
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
กฏกระทรวง
กฎกระทรวง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังเสนอว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ กบข. สามารถมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศ และให้กองทุนอาจจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่มีอยู่ในบัญชีรายบุคคลเฉพาะในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุน การจัดการเงินกองทุนกระทำได้กว้างขวางขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จำเป็นต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎหมาย ดังนี้
1. ยกเลิก
1.1 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546
1.2 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
1.3 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
1.4 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
2. กำหนดคุณสมบัติของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ กบข. จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุน มีผู้บริหารและทีมงานที่มีประสบการณ์ และกำหนดข้อห้ามมิให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนำเงินของกองทุนไปลงทุนในตราสารทุนและตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของตนเอง โดยให้คณะกรรมการ กบข. เป็นผู้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติม รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุน และค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจัดการกองทุน
3. กำหนดประเภทของหลักทรัพย์ที่กองทุนนำเงินของกองทุนไปลงทุนได้ โดยแยกเป็นกลุ่มมั่นคงสูงซึ่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุนและกลุ่มหลักทรัพย์อื่น และกำหนดประเภทของธุรกรรมที่ให้ทำได้
4. เพิ่มเติมประเภทของหลักทรัพย์ที่กองทุนสามารถลงทุนได้ในส่วนของตราสารหนี้ หน่วยลงทุน ตราสารสิทธิ และการทำธุรกรรม
5. ให้อำนาจคณะกรรมการ กบข. กำหนดให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างจากที่กำหนดได้สำหรับการลงทุนต่างประเทศ โดยวงเงินลงทุนต่างประเทศต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน
6. ให้อำนาจคณะกรรมการ กบข. ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กองทุนรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์ที่กฎกระทรวงกำหนดให้ลงทุนได้ กรณีที่ผู้ออกตราสารหรือลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
กระทรวงการคลังเสนอว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ กบข. สามารถมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศ และให้กองทุนอาจจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่มีอยู่ในบัญชีรายบุคคลเฉพาะในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุน การจัดการเงินกองทุนกระทำได้กว้างขวางขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จำเป็นต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎหมาย ดังนี้
1. ยกเลิก
1.1 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546
1.2 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
1.3 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
1.4 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
2. กำหนดคุณสมบัติของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ กบข. จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุน มีผู้บริหารและทีมงานที่มีประสบการณ์ และกำหนดข้อห้ามมิให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนำเงินของกองทุนไปลงทุนในตราสารทุนและตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของตนเอง โดยให้คณะกรรมการ กบข. เป็นผู้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติม รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุน และค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจัดการกองทุน
3. กำหนดประเภทของหลักทรัพย์ที่กองทุนนำเงินของกองทุนไปลงทุนได้ โดยแยกเป็นกลุ่มมั่นคงสูงซึ่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุนและกลุ่มหลักทรัพย์อื่น และกำหนดประเภทของธุรกรรมที่ให้ทำได้
4. เพิ่มเติมประเภทของหลักทรัพย์ที่กองทุนสามารถลงทุนได้ในส่วนของตราสารหนี้ หน่วยลงทุน ตราสารสิทธิ และการทำธุรกรรม
5. ให้อำนาจคณะกรรมการ กบข. กำหนดให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างจากที่กำหนดได้สำหรับการลงทุนต่างประเทศ โดยวงเงินลงทุนต่างประเทศต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน
6. ให้อำนาจคณะกรรมการ กบข. ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กองทุนรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์ที่กฎกระทรวงกำหนดให้ลงทุนได้ กรณีที่ผู้ออกตราสารหรือลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--