แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
โครงการรถไฟฟ้า
คณะรัฐมนตรี
ลำโพง
คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ในส่วนของการก่อสร้างงานโยธา (Civil Work) โดยมีกรอบวงเงิน 48,821 ล้านบาท งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน กรอบวงเงิน 5,900 ล้านบาท และงานจ้างที่ปรึกษาระหว่างก่อสร้าง กรอบวงเงิน 2,174 ล้านบาท รวมกรอบวงเงินทั้งสิ้น 56,895 ล้านบาท โดยให้ รฟม.เริ่มดำเนินโครงการในส่วนงานโยธาในช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ได้เมื่อรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
2. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม. รับความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปเร่งรัดดำเนินการ และรายงานให้คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนและคณะรัฐมนตรีทราบโดยลำดับ
สาระสำคัญของโครงการ
1. แนวเส้นทาง ระยะทางรวม 27 กม. ประกอบด้วย 1) ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กม. เส้นทางเริ่มต้นจากแนวเส้นทางส่วนใต้ดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีหัวลำโพง ผ่านไปตามถนนเจริญกรุง เลี้ยวซ้ายผ่านถนนมหาไชย ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองตลาด ผ่านถนนอรุณอัมรินทร์ ไปสุดที่สถานีอิสรภาพและยกระดับผ่านสถานีท่าพระไปตามแนวถนนเพชรเกษมถึงบางแค ที่บริเวณแยกถนนเพชรเกษมตัดกับถนนวงแหวนรอบนอก ช่วงบางแค และ 2) ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. เป็นส่วนยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) เดิมไปตามถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านแยกบางโพและสถานีบางโพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ และสิ้นสุดที่สถานีท่าพระบริเวณแยกท่าพระ
2. สถานีและสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการมีสถานีรับส่งผู้โดยสาร จำนวน 22 สถานี โดยมีสถานีร่วม 4 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อและสถานีหัวลำโพงเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล สายสีน้ำเงิน สถานีเตาปูนเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และสถานีท่าพระเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางของโครงการ อาคารจอดรถเพื่อโดยสารรถไฟฟ้า (Park and ride) 1 แห่ง ที่สถานีหลักสอง และศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) และศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) จำนวน 1 แห่ง ที่บริเวณเพชรเกษม 48
3. โครงสร้างทางวิ่ง และระบบราง เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและใต้ดินขนาดราง กว้าง 1.435 เมตร พร้อมสายจ่ายกระแสไฟฟ้าจากรางที่สาม (Third Rail System)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ในส่วนของการก่อสร้างงานโยธา (Civil Work) โดยมีกรอบวงเงิน 48,821 ล้านบาท งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน กรอบวงเงิน 5,900 ล้านบาท และงานจ้างที่ปรึกษาระหว่างก่อสร้าง กรอบวงเงิน 2,174 ล้านบาท รวมกรอบวงเงินทั้งสิ้น 56,895 ล้านบาท โดยให้ รฟม.เริ่มดำเนินโครงการในส่วนงานโยธาในช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ได้เมื่อรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
2. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม. รับความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปเร่งรัดดำเนินการ และรายงานให้คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนและคณะรัฐมนตรีทราบโดยลำดับ
สาระสำคัญของโครงการ
1. แนวเส้นทาง ระยะทางรวม 27 กม. ประกอบด้วย 1) ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กม. เส้นทางเริ่มต้นจากแนวเส้นทางส่วนใต้ดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีหัวลำโพง ผ่านไปตามถนนเจริญกรุง เลี้ยวซ้ายผ่านถนนมหาไชย ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองตลาด ผ่านถนนอรุณอัมรินทร์ ไปสุดที่สถานีอิสรภาพและยกระดับผ่านสถานีท่าพระไปตามแนวถนนเพชรเกษมถึงบางแค ที่บริเวณแยกถนนเพชรเกษมตัดกับถนนวงแหวนรอบนอก ช่วงบางแค และ 2) ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. เป็นส่วนยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) เดิมไปตามถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านแยกบางโพและสถานีบางโพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ และสิ้นสุดที่สถานีท่าพระบริเวณแยกท่าพระ
2. สถานีและสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการมีสถานีรับส่งผู้โดยสาร จำนวน 22 สถานี โดยมีสถานีร่วม 4 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อและสถานีหัวลำโพงเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล สายสีน้ำเงิน สถานีเตาปูนเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และสถานีท่าพระเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางของโครงการ อาคารจอดรถเพื่อโดยสารรถไฟฟ้า (Park and ride) 1 แห่ง ที่สถานีหลักสอง และศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) และศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) จำนวน 1 แห่ง ที่บริเวณเพชรเกษม 48
3. โครงสร้างทางวิ่ง และระบบราง เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและใต้ดินขนาดราง กว้าง 1.435 เมตร พร้อมสายจ่ายกระแสไฟฟ้าจากรางที่สาม (Third Rail System)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--