คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 เรื่อง โครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 โดยเพิ่มเติมข้อความในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 ในข้อที่ 2.1.1 ดังนี้ “กรณีพื้นที่ที่มีปัญหาในการให้บริการจำหน่ายน้ำมันให้ชาวประมงเนื่องจากสภาพภูมิประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขององค์การสะพานปลา ในการที่จะนำน้ำมันในโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่งเข้ามาจำหน่ายบริเวณใกล้ฝั่งหรือสถานีที่องค์การสะพานปลากำกับดูแลบนฝั่ง”
2. ระยะเวลาโครงการฯ 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่เริ่มจำหน่ายน้ำมันในโครงการฯ โดยปริมาณน้ำมันที่จำหน่ายในโครงการฯ ไม่เกิน 15 ล้านลิตรต่อเดือน
3. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานพิจารณาความเหมาะสมในการขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการฯ และปริมาณน้ำมันที่จำหน่ายในโครงการฯ ในกรณีที่ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่คลี่คลาย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 และผลการดำเนินการของโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้แก่ชาวประมงชายฝั่ง (โครงการน้ำมันม่วง) พบว่า ยังคงมีปัญหาบางประการที่ทำให้โครงการไม่สามารถที่จะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสมาคมการประมงแห่งประเทศได้มีหนังสือแจ้งให้กรมประมงทราบว่า พื้นที่ให้บริการซึ่งกำหนดให้ห่างจากฝั่งไม่น้อยกว่า 5 ไมล์ทะเล (9.3 กิโลเมตร) ในบางพื้นที่นั้น ชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปใช้บริการได้ หรือมีค่าใช้จ่ายสูงในการที่จะออกไปใช้บริการ ส่งผลให้ชาวประมงขนาดเล็กได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก และขอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือกระทรวงพลังงาน กรณีการนำน้ำมันขึ้นมาจำหน่ายในสถานีบริการขององค์การสะพานปลา ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ให้ความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องกำหนดมาตรการให้ชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นกรอบระยะเวลาของโครงการการกำหนดราคาที่รัฐควรจะช่วยเหลือจ่ายเงินชดเชย และความแตกต่างของคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ใช้ในโครงการ กับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ (สถานีบริการทั่วไป) จะสร้างปัญหาทางด้านการจัดการในระบบการค้าน้ำมันค่อนข้างมาก
3. จากประเด็นข้อคิดของกระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการบริหารโครงการและกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนี้
3.1 การควบคุม กำกับดูแล
3.1.1 เรือประมงที่สามารถเข้ามาซื้อน้ำมันในโครงการน้ำมันม่วงได้ ต้องเป็นเรือประมงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงแสดงความจำนงในการขอเข้าร่วมโครงการฯ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของกรมประมง ร่วมกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย
3.1.2 สถานีบริการน้ำมันที่จะเข้าร่วมโครงการน้ำมันม่วง ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสะพานปลา และต้องรายงานผลปริมาณการจำหน่ายน้ำมันให้แก่สมาชิกโครงการฯ ต่อ “คณะกรรมการกำกับดูแลการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงระดับจังหวัด” พิจารณาความเหมาะสม
3.1.3 คณะกรรมการกำกับดูแล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
“คณะกรรมการประสานงานโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธานกรรมการ เพื่อกำกับ ดูแล การตรวจสอบดำเนินการทั้งในลักษณะการตรวจสอบจากยอดบัญชีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการตรวจสอบการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และ “คณะกรรมการกำกับดูแลการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงระดับจังหวัด” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และประมงจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อดำเนินการตรวจสอบติดตามการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในโครงการไปใช้
ผิดวัตถุประสงค์ และรายงาน “คณะกรรมการประสานงานโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง” ต่อไป
3.2 กรอบระยะเวลา
ระยะเวลาของโครงการฯ 6 เดือน ทั้งนี้ ในการช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่งเป็นไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และความไม่มีเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ-สังคม ในระหว่างที่กรมประมงกำลังดำเนินการปรับโครงสร้างการทำประมงและฟื้นฟูทรัพยากรประมง
4. ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาการให้บริการแก่ชาวประมงขนาดเล็กสมควรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่องค์การสะพานปลากำหนดในการที่จะนำน้ำมันในโครงการฯ เข้ามาจำหน่ายบริเวณใกล้ฝั่งหรือบนฝั่ง เพื่อให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ทำการประมงของชาวประมงขนาดเล็กได้มากขึ้น และไม่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงในการที่ต้องออกไปใช้บริการ
ทั้งนี้ องค์การสะพานปลาได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่จำหน่ายน้ำมันใกล้ฝั่ง หรือบนฝั่ง เพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
4.1 พื้นที่ที่มีเรือขนาดเล็กที่ไม่สามารถออกไปเติมน้ำมันในทะเลได้ และสมาคมประมง สหกรณ์ประมง กลุ่มเกษตรกรทำประมง ในพื้นที่ร้องขอให้มีการจำหน่ายน้ำมันบนฝั่งหรือใกล้ฝั่ง
4.2 พื้นที่ที่อยู่ใกล้ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เรือสถานีจำหน่ายไม่สะดวกและปลอดภัยในการที่จะออกไปลอยลำเพื่อจำหน่ายน้ำมัน
4.3 พื้นที่ที่เป็นเกาะห่างจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งชาวประมงไม่สะดวกและปลอดภัยในการนำเรือประมงเข้าเทียบกับเรือสถานีบริการน้ำมัน
4.4 พื้นที่เฉพาะที่ทางราชการหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องมีการร้องขอให้มีการจำหน่ายในพื้นที่ ที่กำหนด เพื่อความมั่นคงและบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมง โดยองค์การสะพานปลาจะนำรายชื่อและสถานที่ตั้งของสถานีบริการดังกล่าวเสนอคณะกรรมการประสานงานโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขต ให้ชาวประมงชายฝั่งเพื่อทราบ และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการกำกับดูแลต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 โดยเพิ่มเติมข้อความในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 ในข้อที่ 2.1.1 ดังนี้ “กรณีพื้นที่ที่มีปัญหาในการให้บริการจำหน่ายน้ำมันให้ชาวประมงเนื่องจากสภาพภูมิประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขององค์การสะพานปลา ในการที่จะนำน้ำมันในโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่งเข้ามาจำหน่ายบริเวณใกล้ฝั่งหรือสถานีที่องค์การสะพานปลากำกับดูแลบนฝั่ง”
2. ระยะเวลาโครงการฯ 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่เริ่มจำหน่ายน้ำมันในโครงการฯ โดยปริมาณน้ำมันที่จำหน่ายในโครงการฯ ไม่เกิน 15 ล้านลิตรต่อเดือน
3. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานพิจารณาความเหมาะสมในการขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการฯ และปริมาณน้ำมันที่จำหน่ายในโครงการฯ ในกรณีที่ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่คลี่คลาย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 และผลการดำเนินการของโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้แก่ชาวประมงชายฝั่ง (โครงการน้ำมันม่วง) พบว่า ยังคงมีปัญหาบางประการที่ทำให้โครงการไม่สามารถที่จะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสมาคมการประมงแห่งประเทศได้มีหนังสือแจ้งให้กรมประมงทราบว่า พื้นที่ให้บริการซึ่งกำหนดให้ห่างจากฝั่งไม่น้อยกว่า 5 ไมล์ทะเล (9.3 กิโลเมตร) ในบางพื้นที่นั้น ชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปใช้บริการได้ หรือมีค่าใช้จ่ายสูงในการที่จะออกไปใช้บริการ ส่งผลให้ชาวประมงขนาดเล็กได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก และขอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือกระทรวงพลังงาน กรณีการนำน้ำมันขึ้นมาจำหน่ายในสถานีบริการขององค์การสะพานปลา ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ให้ความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องกำหนดมาตรการให้ชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นกรอบระยะเวลาของโครงการการกำหนดราคาที่รัฐควรจะช่วยเหลือจ่ายเงินชดเชย และความแตกต่างของคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ใช้ในโครงการ กับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ (สถานีบริการทั่วไป) จะสร้างปัญหาทางด้านการจัดการในระบบการค้าน้ำมันค่อนข้างมาก
3. จากประเด็นข้อคิดของกระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการบริหารโครงการและกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนี้
3.1 การควบคุม กำกับดูแล
3.1.1 เรือประมงที่สามารถเข้ามาซื้อน้ำมันในโครงการน้ำมันม่วงได้ ต้องเป็นเรือประมงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงแสดงความจำนงในการขอเข้าร่วมโครงการฯ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของกรมประมง ร่วมกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย
3.1.2 สถานีบริการน้ำมันที่จะเข้าร่วมโครงการน้ำมันม่วง ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสะพานปลา และต้องรายงานผลปริมาณการจำหน่ายน้ำมันให้แก่สมาชิกโครงการฯ ต่อ “คณะกรรมการกำกับดูแลการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงระดับจังหวัด” พิจารณาความเหมาะสม
3.1.3 คณะกรรมการกำกับดูแล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
“คณะกรรมการประสานงานโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธานกรรมการ เพื่อกำกับ ดูแล การตรวจสอบดำเนินการทั้งในลักษณะการตรวจสอบจากยอดบัญชีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการตรวจสอบการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และ “คณะกรรมการกำกับดูแลการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงระดับจังหวัด” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และประมงจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อดำเนินการตรวจสอบติดตามการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในโครงการไปใช้
ผิดวัตถุประสงค์ และรายงาน “คณะกรรมการประสานงานโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง” ต่อไป
3.2 กรอบระยะเวลา
ระยะเวลาของโครงการฯ 6 เดือน ทั้งนี้ ในการช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่งเป็นไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และความไม่มีเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ-สังคม ในระหว่างที่กรมประมงกำลังดำเนินการปรับโครงสร้างการทำประมงและฟื้นฟูทรัพยากรประมง
4. ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาการให้บริการแก่ชาวประมงขนาดเล็กสมควรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่องค์การสะพานปลากำหนดในการที่จะนำน้ำมันในโครงการฯ เข้ามาจำหน่ายบริเวณใกล้ฝั่งหรือบนฝั่ง เพื่อให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ทำการประมงของชาวประมงขนาดเล็กได้มากขึ้น และไม่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงในการที่ต้องออกไปใช้บริการ
ทั้งนี้ องค์การสะพานปลาได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่จำหน่ายน้ำมันใกล้ฝั่ง หรือบนฝั่ง เพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
4.1 พื้นที่ที่มีเรือขนาดเล็กที่ไม่สามารถออกไปเติมน้ำมันในทะเลได้ และสมาคมประมง สหกรณ์ประมง กลุ่มเกษตรกรทำประมง ในพื้นที่ร้องขอให้มีการจำหน่ายน้ำมันบนฝั่งหรือใกล้ฝั่ง
4.2 พื้นที่ที่อยู่ใกล้ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เรือสถานีจำหน่ายไม่สะดวกและปลอดภัยในการที่จะออกไปลอยลำเพื่อจำหน่ายน้ำมัน
4.3 พื้นที่ที่เป็นเกาะห่างจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งชาวประมงไม่สะดวกและปลอดภัยในการนำเรือประมงเข้าเทียบกับเรือสถานีบริการน้ำมัน
4.4 พื้นที่เฉพาะที่ทางราชการหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องมีการร้องขอให้มีการจำหน่ายในพื้นที่ ที่กำหนด เพื่อความมั่นคงและบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมง โดยองค์การสะพานปลาจะนำรายชื่อและสถานที่ตั้งของสถานีบริการดังกล่าวเสนอคณะกรรมการประสานงานโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขต ให้ชาวประมงชายฝั่งเพื่อทราบ และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการกำกับดูแลต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--