คณะรัฐมนตรีรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ปี 2551 และอนุมัติกรอบมาตรการแก้ไขวิกฤตพลังงานและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมอบหมายหน่วยงานรับไปดำเนินการแล้วรายงานความก้าวหน้าต่อคณะรัฐมนตรีนโยบายเศรษฐกิจทุก 2 สัปดาห์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบให้กระทรวงพลังงานรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการด้านภาษีอื่น ๆ เพื่อจูงใจให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกให้มากยิ่งขึ้น และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ตามที่ นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมคณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาสถานการณ์และติดตามมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงาน ในการที่จะผลักดันการดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่องและมีบูรณาการ รวมทั้งการกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพิ่มเติม ในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2551 นั้น สศช. สรุปผลการประชุม ได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกสปี 2551
1.1 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 และ ร้อยละ 4.8 ของทั้งปี 2550 โดยที่การส่งออกยังขยายตัวได้ดีร้อยละ 21.1 และการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยขยายตัวร้อยละ 6.5 จากที่หดตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสแรกปี 2550 และร้อยละ 0.5 ในทั้งปี 2550 ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับเช่นกัน โดยขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปี 2550 และร้อยละ 1.5 ในทั้งปี 2550
ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายได้เกษตรกรยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ในขณะที่การจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 รวมทั้งผลของการปรับเพิ่มเงินเดือนเพื่อช่วยค่าครองชีพในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว ประกอบกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในไตรมาส
การฟื้นตัวดังกล่าวและการขยายตัวของการส่งออกที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีได้สนับสนุนให้ภาคการผลิตหลายสาขามีการขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสแรกนี้ โดยภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวถึงร้อยละ 9.7 เป็นการฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจนจากที่ขยายตัว ร้อยละ 5.7 ในปี 2550 สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเร็วขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.0
ในปี 2550 เป็นผลจากการที่การท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น โดยในไตรมาสแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 4.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และสาขาการเงินที่ขยายตัวได้สูงกว่าในปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน (ร้อยละ 9.1 จากที่ขยายตัว ร้อยละ 5.7 ในปี 2550) อันเนื่องจากการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับผลตอนแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
1.2 ข้อจำกัดและข้อควรระวังของเศรษฐกิจไทยในปี 2550
1.2.1 ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมากและกระทบต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพของประชาชน ราคาน้ำมันดูไบเพิ่มขึ้นจากบาเรลละ 68.8 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550 เป็น 91.5 ในไตรมาสแรกของปี 2551 และเท่ากับ 125.62 ดอลลาร์ ณ วันที่ 26 พฤษภาคมนี้ ซึ่งทำให้ราคาขายปลีกในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยลิตรละ 29.18 บาท ในปี 2550 เป็น 33.09 บาท ในไตรมาสแรกของปีนี้ ล่าสุด ณ วันที่ 26 พฤษภาคม มีราคาเท่ากับ 39.59 บาท เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่เพิ่มขึ้นจากลิตรละ 25.64 บาทในปี 2550 มาเป็นลิตร 29.38 บาท ในไตรมาสแรกของปีนี้ และเท่ากับลิตรละ 37.67 บาท ในวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มรายได้น้อยและประชาชนในชนบทนั้นจะมากกว่าผลกระทบโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศ เนื่องจากสองกลุ่มนี้มีการใช้จ่ายสำหรับหมวดอาหารต่อการใช้จ่ายรวมในสัดส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยของประเทศ
1.2.2 ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลลดลงอันเนื่องมาจากการขาดดุลการค้า ในไตรมาสแรกดุลการค้าขาดดุล 109 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส แต่มีการเกินดุลบริการและรายได้จำนวน 3.177 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการเกินดุลที่เพิ่มขึ้นมากจึงช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าและรักษาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดให้เกินดุลที่ 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่อย่างไรก็ตามเป็นการเกินดุลที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 4,963.9 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสูงขึ้นมากตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้าทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของการลงทุน การที่ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง ถ้าหากการเคลื่อนย้ายเงินทุนไม่สามารถชดเชยได้ก็จะทำให้ดุลการชำระเงินลดลง และเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้
1.2.3 อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นชัดเจน ราคาน้ำมันและราคาอาหารที่สูงขึ้นมากทำให้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 5.0 (และเท่ากับร้อยละ 6.2 ในเมษายน และเท่ากับ ร้อยละ 5.3 ใน 4 เดือนแรก) สูงขึ้นตามลำดับจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 และเฉลี่ยร้อยละ 2.3 ของทั้งปี 2550 โดยที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 2.1 ในเดือนเมษายน (ร้อยละ 1.6 ใน 4 เดือนแรก)
1.2.4 ผลผลิตการเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามยังขยายตัวได้ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.9 ของทั้งปี 2550 โดยที่ผลผลิตทางการเกษตรยังคงผันผวนได้ง่ายตามสภาพอากาศ แต่ผลิตภาพการผลิตยังต่ำ
1.2.5 สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลนั้นมีการเบิกจ่ายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายการเบิกจ่าย (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 22.5 เทียบกับเป้าหมายร้อยละ 23.5) และเป็นไปตามแนวโน้มปกติ แต่การเบิกจ่ายเป็นจำนวนเงินที่ต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณปี 2550 นั้นล่าช้า 1 ไตรมาส การเบิกจ่ายที่ล่าช้ามาจึงต้องมาเบิกจ่ายรวมกันในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปี 2550 อย่างไรก็ตามในปีนี้ยังต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 94 นอกจากนั้นรัฐบาลควรทบทวนและดูแลราคากลางโครงการภาครัฐให้มีความเหมาะสมตามอัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไปเพื่อป้องกันความล่าช้าของการโครงการลงทุนทั้งของภาครัฐและโครงการที่ร่วมกับภาคเอกชน
1.2.6 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดลงในเดือนเมษายนที่ผ่านมาหลังจากที่เริ่มเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว (ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงจาก 80.7 ในเดือนมีนาคมเป็น 79.9 ในเดือนเมษายนและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงจากระดับ 83.2 เป็น 78.8) ซึ่งความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการผลักดันการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนให้มีความต่อเนื่อง แต่มีหลายปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของประชาชน ได้แก่ ความขัดแย้งภายในประเทศ และราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่เร่งดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันให้มีประสิทธิภาผลโดยเร็วเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
1.2.7 การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ชะลอตัวต่อเนื่องจากผลกระทบจากปัญหา sub-prime ที่เริ่มต้นในปี 2550 และมีผลกระทบต่อเนื่องต่อการส่งออกของประเทศต่าง ๆ ชัดเจนมากขึ้นในปีนี้ จึงต้องดำเนินมาตรการในการส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
2. เปรียบเทียบสถานการณ์ปี 2548-2549 กับปี 2550-2551
2.1 เงื่อนไขที่เหมือนกันในปี 2548-2549 และในปี 2550-2551 ได้แก่ ราคาน้ำมันและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 ในปี 2548 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.7 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 อัตราเงินเฟ้อเคยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6 ในบางไตรมาสของปี 2548 และ2549 ตามลำดับ และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากเป็นร้อยละ 6.2 ในเดือนเมษายนปี 2551 นอกจากนั้น ในปี 2548 ดุลการค้าขาดดุล 8,529.6 ล้านดอนลลาร์ สรอ. และในปี 2551 ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากในขณะที่การลงทุนกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล 1,327.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วง 4 เดือนแรกของปี
2.2 เงื่อนไขที่แตกต่างในปี 2551 จะเอื้ออำนวยต่อการแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานได้ง่ายกว่าในช่วงปี 2548-2549
2.2.1 รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 2550 — 2551: โดยที่ในปี 2548 และ2549 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และร้อยละ 17.2 ตามลำดับ แต่ใน 4 เดือนแรกปี 2551 นั้นรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23
2.2.2 รายได้จากดุลบริการเกินดุลในระดับสูง 3,177 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 จึงช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าและส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มที่จะเกินดุลในทั้งปี 2551 นี้ แต่ในปี 2548 และ 2549 ฐานะดุลบริการและรายได้ได้รับผลกระทบจากสึนามิและการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุล 7,461.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2548
2.2.3 ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรขยายตัวได้ดี ในไตรมาสแรกปี 2551 ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว ร้อยละ 9.7 (สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.2 และ5.9 ในปี 2548 และปี2549) ส่วนภาคเกษตรมีการขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกปี 2551 แต่ในปี 2548 นั้นจากปัญหาภัยแล้งทำให้ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ1.9
2.2.4 ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเคลื่อนไหวในช่วงที่แคบลงในช่วงปี 2550 และในปี 2551 ในปี 2550 ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในช่วง 33.27-36.09 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. และในช่วง 31.52-33.61 บาท ในช่วงไตรมาสแรก แต่มีการเคลื่อนไหวในช่วง 38.21-42.09 บาทในปี 2548 และในช่วง 35.23-40.89 บาท
3. กรอบมาตรการแก้ไขวิกฤตพลังงานและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแนวทางและมาตรการในการบรรเทาผลกระทบและความเดือดร้อนที่ประชาชนได้รับจากภาวะวิกฤตราคาน้ำมันโลก ทั้งในด้านมาตรการเพิ่มรายได้และมาตรการลดรายจ่าย ดังนี้
3.1 มาตรการประหยัดพลังงาน และการส่งเสริมพลังงานทดแทน
3.1.1 รณรงค์ประหยัดการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน โดยให้กระทรวงพลังงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการควบคุมการประหยัดพลังงาน โดยให้หน่วยงานของรัฐบาลเป็นตัวอย่างอย่างเคร่งครัด เช่น ปรับระดับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานที่ 26 องศาเซลเซียล การปรับเปลี่ยนรถยนต์ราชการไปใช้ก๊าซ NGV การปรับเปลี่ยนเวลาทำงานเพื่อลดภาระด้านการจราจร เป็นต้น
3.1.2 ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับเปลี่ยนระบบรถประจำทาง ขสมก. ทั้งระบบเป็นรถ NGV จำนวน 6,000 คัน โดยให้บริการในทุกเส้นทางและปรับระบบการจัดการให้มีตั๋วโดยสารราคาประหยัดสำหรับนักเรียน ผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อย
3.1.3 กระทรวงพลังงานร่วมกับ ปตท. สนับสนุนการเปลี่ยนรถแท็กซี่ให้เป็น NGV จำนวน 42,750 คัน ภายในสิ้นปี 2551 ตามเงื่อนไขของการลอยตัวราคาก๊าซ LPG ในเดือนกรกฎาคม 2551
3.1.4 กระทรวงพลังงานและปตท. ขยายสถานีบริการ NGV ให้ได้ตามแผนงานในเดือนกรกฎาคม 2551 ไม่น้อยกว่า 260 สถานี รวมทั้งให้ส่วนราชการให้ความร่วมมือในการจัดหาสถานที่ในการก่อสร้างสถานี NGV ที่มีความสามารถในการรองรับความต้องการก๊าซ NGV ไม่ต่ำกว่าวันละ 600 ลบ.ฟุตต่อวันและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนรถยนต์ไปใช้ก๊าซ NGV จำนวน 122,370 คัน ภายในสิ้นปี 2551
3.1.5 เห็นชอบให้กระทรวงการคลังพิจารณาขยายระยะเวลา การลดภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีเงินได้ ให้แก่ อุปกรณ์ ชิ้นส่วน เครื่องจักรและเครื่องยนต์ที่เคยได้รับการยกเว้นอยู่แล้วออกไปเป็นระยะเวลา 3 ปี
3.1.6 เห็นชอบในหลักการในการส่งเสริมการใช้ E 85 โดยให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการจัดทำแผนส่งเสริมการผลิตและการใช้ E 85 ซึ่งรวมทั้งมาตรการลดหย่อนภาษี การส่งเสริมวัตถุดิบการทำเอทานอล รวมทั้งการขยายสถานีบริการ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
3.2 มาตรการดูแลรายได้และลดรายจ่ายของเกษตรกร ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
3.2.1 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสำนักงบประมาณพิจารณาเพิ่มจำนวนเงินและขอบข่ายผู้ได้รับเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุและคนพิการเพื่อช่วยเหลือในภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
3.2.2 ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากงบประมาณ SML เพื่อไปเพิ่มศักยภาพการผลิตและรายได้ของชุมชน
3.2.3 ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดโครงการ Fix-it Center เพื่อบริการซ่อมแซมเครื่องจักร อุปกรณ์ และตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของชุมชน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของคนในชนบท
3.2.4 กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเร่งรัดมาตรการสินเชื่อ SMEs ซึ่งได้จัดงบประมาณแล้ว เช่น กองทุนช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท (5,000 ลบ.) สินเชื่อ SMEs เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต 2,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ติดข้อกฎหมายของ พ.ร.บ.ธปท. ฉบับใหม่ และอยู่ระหว่างการหารือข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.2.5 ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงแรงงานพิจารณาให้ธุรกิจหักลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการอบรมฝีมือแรงงาน
3.2.6 ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง จัดโครงการธงฟ้าเพื่อนำสินค้าอุปโภคบริโภค ราคาประหยัดมาจำหน่ายให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง และให้ส่วนราชการให้ความร่วมมือในการจัดหาสถานที่ให้ผู้ประกอบการรายย่อยจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดโดยตรงต่อผู้บริโภค
3.2.7 ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามและดูแลราคาและคุณภาพสินค้าเกษตรหน้าฟาร์ม (ราคาที่เกษตรกรได้รับ) ให้เกิดความเป็นธรรมและอำนวยความสะดวกในด้านข่าวสารข้อมูลและให้บริการแก่เกษตรกรในการขายผลิตผลที่จุดรับซื้อ
3.3 มาตรการเร่งรัดงบประมาณและโครงการลงทุนภาครัฐ
3.3.1 ให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณเร่งรัดการใช้จ่ายประมาณของหน่วยงานของรัฐ ให้ได้ตามเป้าหมายเบิกจ่าย ที่ร้อยละ 94 และรัฐวิสาหกิจร้อยละ 96 รวมทั้งทบทวนและปรับราคากลางให้มีความเหมาะสมกับอัตราเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดซื้อ-จัดจ้าง และการประมูลของภาครัฐ
3.3.2 เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมปรับเปลี่ยนการขนส่งจากระบบถนนเป็นระบบรางให้ได้ร้อยละ 20 โดยเริ่มต้นใน 3 เส้นทางคือ (1) ลาดกระบัง-แหลมฉบัง (2) นครสวรรค์-กทม. และ (3) นครราชสีมา (บัวใหญ่) —แหลมฉบัง รวมทั้งการจัดหาพื้นที่สำหรับการขนถ่ายสินค้า (ICD) และกำหนดตารางการเดินรถและควบคุมให้ตรงตามตารางเวลา ทั้งนี้ ให้พิจารณาเพิ่มจำนวนหัวรถจักรและแคร่ขนส่งสินค้า
3.4 ให้กระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พิจารณาเร่งรัดมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนนโยบายปีแห่งการลงทุน รวมทั้งให้กระทรวงการคลังพิจารณาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเช่าที่ดินระยะยาวของนักลงทุนต่างชาติด้วย
3.5 เห็นชอบให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เร่งรัดมาตรการทางด้านการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว ทั้งในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยให้เริ่มดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำความสะอาดแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริเวณชายหาดที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งนี้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) พิจารณาเกี่ยวกับงบประมาณที่จะร่วมสมทบกับงบกระจายรายได้ส่วนท้องถิ่นต่อไป
3.6 ที่ประชุมเห็นว่าในขณะนี้เป็นช่วงที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในด้านความเชื่อมั่น อัตราเงินเฟ้อ และการเก็งกำไร ดังนั้นมาตรการเศรษฐกิจต่าง ๆ จะต้องมีการแลกเปลี่ยนและบูรณาการในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งหลีกเลี่ยงมาตรการที่อาจส่งสัญญาณในการบิดเบือนกลไกตลาด ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อตลาดทุน ตลาดเงินและความเชื่อมั่นของการลงทุนของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
ตามที่ นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมคณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาสถานการณ์และติดตามมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงาน ในการที่จะผลักดันการดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่องและมีบูรณาการ รวมทั้งการกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพิ่มเติม ในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2551 นั้น สศช. สรุปผลการประชุม ได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกสปี 2551
1.1 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 และ ร้อยละ 4.8 ของทั้งปี 2550 โดยที่การส่งออกยังขยายตัวได้ดีร้อยละ 21.1 และการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยขยายตัวร้อยละ 6.5 จากที่หดตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสแรกปี 2550 และร้อยละ 0.5 ในทั้งปี 2550 ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับเช่นกัน โดยขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปี 2550 และร้อยละ 1.5 ในทั้งปี 2550
ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายได้เกษตรกรยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ในขณะที่การจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 รวมทั้งผลของการปรับเพิ่มเงินเดือนเพื่อช่วยค่าครองชีพในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว ประกอบกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในไตรมาส
การฟื้นตัวดังกล่าวและการขยายตัวของการส่งออกที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีได้สนับสนุนให้ภาคการผลิตหลายสาขามีการขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสแรกนี้ โดยภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวถึงร้อยละ 9.7 เป็นการฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจนจากที่ขยายตัว ร้อยละ 5.7 ในปี 2550 สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเร็วขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.0
ในปี 2550 เป็นผลจากการที่การท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น โดยในไตรมาสแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 4.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และสาขาการเงินที่ขยายตัวได้สูงกว่าในปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน (ร้อยละ 9.1 จากที่ขยายตัว ร้อยละ 5.7 ในปี 2550) อันเนื่องจากการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับผลตอนแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
1.2 ข้อจำกัดและข้อควรระวังของเศรษฐกิจไทยในปี 2550
1.2.1 ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมากและกระทบต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพของประชาชน ราคาน้ำมันดูไบเพิ่มขึ้นจากบาเรลละ 68.8 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550 เป็น 91.5 ในไตรมาสแรกของปี 2551 และเท่ากับ 125.62 ดอลลาร์ ณ วันที่ 26 พฤษภาคมนี้ ซึ่งทำให้ราคาขายปลีกในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยลิตรละ 29.18 บาท ในปี 2550 เป็น 33.09 บาท ในไตรมาสแรกของปีนี้ ล่าสุด ณ วันที่ 26 พฤษภาคม มีราคาเท่ากับ 39.59 บาท เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่เพิ่มขึ้นจากลิตรละ 25.64 บาทในปี 2550 มาเป็นลิตร 29.38 บาท ในไตรมาสแรกของปีนี้ และเท่ากับลิตรละ 37.67 บาท ในวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มรายได้น้อยและประชาชนในชนบทนั้นจะมากกว่าผลกระทบโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศ เนื่องจากสองกลุ่มนี้มีการใช้จ่ายสำหรับหมวดอาหารต่อการใช้จ่ายรวมในสัดส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยของประเทศ
1.2.2 ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลลดลงอันเนื่องมาจากการขาดดุลการค้า ในไตรมาสแรกดุลการค้าขาดดุล 109 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส แต่มีการเกินดุลบริการและรายได้จำนวน 3.177 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการเกินดุลที่เพิ่มขึ้นมากจึงช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าและรักษาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดให้เกินดุลที่ 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่อย่างไรก็ตามเป็นการเกินดุลที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 4,963.9 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสูงขึ้นมากตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้าทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของการลงทุน การที่ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง ถ้าหากการเคลื่อนย้ายเงินทุนไม่สามารถชดเชยได้ก็จะทำให้ดุลการชำระเงินลดลง และเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้
1.2.3 อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นชัดเจน ราคาน้ำมันและราคาอาหารที่สูงขึ้นมากทำให้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 5.0 (และเท่ากับร้อยละ 6.2 ในเมษายน และเท่ากับ ร้อยละ 5.3 ใน 4 เดือนแรก) สูงขึ้นตามลำดับจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 และเฉลี่ยร้อยละ 2.3 ของทั้งปี 2550 โดยที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 2.1 ในเดือนเมษายน (ร้อยละ 1.6 ใน 4 เดือนแรก)
1.2.4 ผลผลิตการเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามยังขยายตัวได้ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.9 ของทั้งปี 2550 โดยที่ผลผลิตทางการเกษตรยังคงผันผวนได้ง่ายตามสภาพอากาศ แต่ผลิตภาพการผลิตยังต่ำ
1.2.5 สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลนั้นมีการเบิกจ่ายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายการเบิกจ่าย (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 22.5 เทียบกับเป้าหมายร้อยละ 23.5) และเป็นไปตามแนวโน้มปกติ แต่การเบิกจ่ายเป็นจำนวนเงินที่ต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณปี 2550 นั้นล่าช้า 1 ไตรมาส การเบิกจ่ายที่ล่าช้ามาจึงต้องมาเบิกจ่ายรวมกันในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปี 2550 อย่างไรก็ตามในปีนี้ยังต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 94 นอกจากนั้นรัฐบาลควรทบทวนและดูแลราคากลางโครงการภาครัฐให้มีความเหมาะสมตามอัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไปเพื่อป้องกันความล่าช้าของการโครงการลงทุนทั้งของภาครัฐและโครงการที่ร่วมกับภาคเอกชน
1.2.6 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดลงในเดือนเมษายนที่ผ่านมาหลังจากที่เริ่มเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว (ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงจาก 80.7 ในเดือนมีนาคมเป็น 79.9 ในเดือนเมษายนและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงจากระดับ 83.2 เป็น 78.8) ซึ่งความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการผลักดันการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนให้มีความต่อเนื่อง แต่มีหลายปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของประชาชน ได้แก่ ความขัดแย้งภายในประเทศ และราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่เร่งดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันให้มีประสิทธิภาผลโดยเร็วเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
1.2.7 การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ชะลอตัวต่อเนื่องจากผลกระทบจากปัญหา sub-prime ที่เริ่มต้นในปี 2550 และมีผลกระทบต่อเนื่องต่อการส่งออกของประเทศต่าง ๆ ชัดเจนมากขึ้นในปีนี้ จึงต้องดำเนินมาตรการในการส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
2. เปรียบเทียบสถานการณ์ปี 2548-2549 กับปี 2550-2551
2.1 เงื่อนไขที่เหมือนกันในปี 2548-2549 และในปี 2550-2551 ได้แก่ ราคาน้ำมันและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 ในปี 2548 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.7 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 อัตราเงินเฟ้อเคยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6 ในบางไตรมาสของปี 2548 และ2549 ตามลำดับ และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากเป็นร้อยละ 6.2 ในเดือนเมษายนปี 2551 นอกจากนั้น ในปี 2548 ดุลการค้าขาดดุล 8,529.6 ล้านดอนลลาร์ สรอ. และในปี 2551 ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากในขณะที่การลงทุนกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล 1,327.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วง 4 เดือนแรกของปี
2.2 เงื่อนไขที่แตกต่างในปี 2551 จะเอื้ออำนวยต่อการแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานได้ง่ายกว่าในช่วงปี 2548-2549
2.2.1 รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากในช่วงปี 2550 — 2551: โดยที่ในปี 2548 และ2549 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และร้อยละ 17.2 ตามลำดับ แต่ใน 4 เดือนแรกปี 2551 นั้นรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23
2.2.2 รายได้จากดุลบริการเกินดุลในระดับสูง 3,177 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 จึงช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าและส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มที่จะเกินดุลในทั้งปี 2551 นี้ แต่ในปี 2548 และ 2549 ฐานะดุลบริการและรายได้ได้รับผลกระทบจากสึนามิและการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุล 7,461.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2548
2.2.3 ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรขยายตัวได้ดี ในไตรมาสแรกปี 2551 ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว ร้อยละ 9.7 (สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.2 และ5.9 ในปี 2548 และปี2549) ส่วนภาคเกษตรมีการขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกปี 2551 แต่ในปี 2548 นั้นจากปัญหาภัยแล้งทำให้ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ1.9
2.2.4 ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเคลื่อนไหวในช่วงที่แคบลงในช่วงปี 2550 และในปี 2551 ในปี 2550 ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในช่วง 33.27-36.09 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. และในช่วง 31.52-33.61 บาท ในช่วงไตรมาสแรก แต่มีการเคลื่อนไหวในช่วง 38.21-42.09 บาทในปี 2548 และในช่วง 35.23-40.89 บาท
3. กรอบมาตรการแก้ไขวิกฤตพลังงานและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแนวทางและมาตรการในการบรรเทาผลกระทบและความเดือดร้อนที่ประชาชนได้รับจากภาวะวิกฤตราคาน้ำมันโลก ทั้งในด้านมาตรการเพิ่มรายได้และมาตรการลดรายจ่าย ดังนี้
3.1 มาตรการประหยัดพลังงาน และการส่งเสริมพลังงานทดแทน
3.1.1 รณรงค์ประหยัดการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน โดยให้กระทรวงพลังงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการควบคุมการประหยัดพลังงาน โดยให้หน่วยงานของรัฐบาลเป็นตัวอย่างอย่างเคร่งครัด เช่น ปรับระดับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานที่ 26 องศาเซลเซียล การปรับเปลี่ยนรถยนต์ราชการไปใช้ก๊าซ NGV การปรับเปลี่ยนเวลาทำงานเพื่อลดภาระด้านการจราจร เป็นต้น
3.1.2 ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับเปลี่ยนระบบรถประจำทาง ขสมก. ทั้งระบบเป็นรถ NGV จำนวน 6,000 คัน โดยให้บริการในทุกเส้นทางและปรับระบบการจัดการให้มีตั๋วโดยสารราคาประหยัดสำหรับนักเรียน ผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อย
3.1.3 กระทรวงพลังงานร่วมกับ ปตท. สนับสนุนการเปลี่ยนรถแท็กซี่ให้เป็น NGV จำนวน 42,750 คัน ภายในสิ้นปี 2551 ตามเงื่อนไขของการลอยตัวราคาก๊าซ LPG ในเดือนกรกฎาคม 2551
3.1.4 กระทรวงพลังงานและปตท. ขยายสถานีบริการ NGV ให้ได้ตามแผนงานในเดือนกรกฎาคม 2551 ไม่น้อยกว่า 260 สถานี รวมทั้งให้ส่วนราชการให้ความร่วมมือในการจัดหาสถานที่ในการก่อสร้างสถานี NGV ที่มีความสามารถในการรองรับความต้องการก๊าซ NGV ไม่ต่ำกว่าวันละ 600 ลบ.ฟุตต่อวันและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนรถยนต์ไปใช้ก๊าซ NGV จำนวน 122,370 คัน ภายในสิ้นปี 2551
3.1.5 เห็นชอบให้กระทรวงการคลังพิจารณาขยายระยะเวลา การลดภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีเงินได้ ให้แก่ อุปกรณ์ ชิ้นส่วน เครื่องจักรและเครื่องยนต์ที่เคยได้รับการยกเว้นอยู่แล้วออกไปเป็นระยะเวลา 3 ปี
3.1.6 เห็นชอบในหลักการในการส่งเสริมการใช้ E 85 โดยให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการจัดทำแผนส่งเสริมการผลิตและการใช้ E 85 ซึ่งรวมทั้งมาตรการลดหย่อนภาษี การส่งเสริมวัตถุดิบการทำเอทานอล รวมทั้งการขยายสถานีบริการ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
3.2 มาตรการดูแลรายได้และลดรายจ่ายของเกษตรกร ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
3.2.1 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสำนักงบประมาณพิจารณาเพิ่มจำนวนเงินและขอบข่ายผู้ได้รับเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุและคนพิการเพื่อช่วยเหลือในภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
3.2.2 ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากงบประมาณ SML เพื่อไปเพิ่มศักยภาพการผลิตและรายได้ของชุมชน
3.2.3 ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดโครงการ Fix-it Center เพื่อบริการซ่อมแซมเครื่องจักร อุปกรณ์ และตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของชุมชน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของคนในชนบท
3.2.4 กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเร่งรัดมาตรการสินเชื่อ SMEs ซึ่งได้จัดงบประมาณแล้ว เช่น กองทุนช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท (5,000 ลบ.) สินเชื่อ SMEs เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต 2,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ติดข้อกฎหมายของ พ.ร.บ.ธปท. ฉบับใหม่ และอยู่ระหว่างการหารือข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.2.5 ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงแรงงานพิจารณาให้ธุรกิจหักลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการอบรมฝีมือแรงงาน
3.2.6 ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง จัดโครงการธงฟ้าเพื่อนำสินค้าอุปโภคบริโภค ราคาประหยัดมาจำหน่ายให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง และให้ส่วนราชการให้ความร่วมมือในการจัดหาสถานที่ให้ผู้ประกอบการรายย่อยจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดโดยตรงต่อผู้บริโภค
3.2.7 ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามและดูแลราคาและคุณภาพสินค้าเกษตรหน้าฟาร์ม (ราคาที่เกษตรกรได้รับ) ให้เกิดความเป็นธรรมและอำนวยความสะดวกในด้านข่าวสารข้อมูลและให้บริการแก่เกษตรกรในการขายผลิตผลที่จุดรับซื้อ
3.3 มาตรการเร่งรัดงบประมาณและโครงการลงทุนภาครัฐ
3.3.1 ให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณเร่งรัดการใช้จ่ายประมาณของหน่วยงานของรัฐ ให้ได้ตามเป้าหมายเบิกจ่าย ที่ร้อยละ 94 และรัฐวิสาหกิจร้อยละ 96 รวมทั้งทบทวนและปรับราคากลางให้มีความเหมาะสมกับอัตราเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดซื้อ-จัดจ้าง และการประมูลของภาครัฐ
3.3.2 เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมปรับเปลี่ยนการขนส่งจากระบบถนนเป็นระบบรางให้ได้ร้อยละ 20 โดยเริ่มต้นใน 3 เส้นทางคือ (1) ลาดกระบัง-แหลมฉบัง (2) นครสวรรค์-กทม. และ (3) นครราชสีมา (บัวใหญ่) —แหลมฉบัง รวมทั้งการจัดหาพื้นที่สำหรับการขนถ่ายสินค้า (ICD) และกำหนดตารางการเดินรถและควบคุมให้ตรงตามตารางเวลา ทั้งนี้ ให้พิจารณาเพิ่มจำนวนหัวรถจักรและแคร่ขนส่งสินค้า
3.4 ให้กระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พิจารณาเร่งรัดมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนนโยบายปีแห่งการลงทุน รวมทั้งให้กระทรวงการคลังพิจารณาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเช่าที่ดินระยะยาวของนักลงทุนต่างชาติด้วย
3.5 เห็นชอบให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เร่งรัดมาตรการทางด้านการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว ทั้งในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยให้เริ่มดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำความสะอาดแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริเวณชายหาดที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งนี้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) พิจารณาเกี่ยวกับงบประมาณที่จะร่วมสมทบกับงบกระจายรายได้ส่วนท้องถิ่นต่อไป
3.6 ที่ประชุมเห็นว่าในขณะนี้เป็นช่วงที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในด้านความเชื่อมั่น อัตราเงินเฟ้อ และการเก็งกำไร ดังนั้นมาตรการเศรษฐกิจต่าง ๆ จะต้องมีการแลกเปลี่ยนและบูรณาการในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งหลีกเลี่ยงมาตรการที่อาจส่งสัญญาณในการบิดเบือนกลไกตลาด ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อตลาดทุน ตลาดเงินและความเชื่อมั่นของการลงทุนของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--