คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ (คปป.) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ เสนอ ดังนี้
1. สถานการณ์ พื้นที่ประเทศไทย 320.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าตามกฎหมายในความรับผิดชอบ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 137.64 ล้านไร่ ประกอบด้วย 1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า) 59.38 ล้านไร่ 2) พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 67.74 ล้านไร่ และ 3) พื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี (ยังไม่ประกาศเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ) 10.52 ล้านไร่ ปัจจุบันประเทศไทยเหลือพื้นที่ที่มีสภาพป่า 104.7 ล้านไร่ โดยเป็น 1) พื้นที่ที่มีสภาพป่าใน เขตป่าตามกฎหมาย ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบ 92.9 ล้านไร่ ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ 46.2 ล้านไร่ และป่าสงวนแห่งชาติ 46.7 ล้านไร่ และ 2) พื้นที่ที่มีสภาพป่านอกเขตป่าตามกฎหมาย 11.8 ล้านไร่
2. สภาพปัญหา พื้นที่ป่าของประเทศลดลงมาโดยตลอด จาก 171 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2504 หรือร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศ เหลือในปัจจุบัน 104.7 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรป่าไม้ มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ การลดลงและเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ ทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบที่สำคัญ ได้แก่ 1) การขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม 2) การขาดแหล่งไม้ใช้สอยในประเทศ 3) ชุมชนท้องถิ่นขาดแหล่งอาหาร ยา และรายได้ 4) ความขัดแย้งในที่ดินทำกิน และ 5) ภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น
3. ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ (คปป.) คปป.ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันพุธที่ 21 พฤษภาคม 2551 ณ กรมป่าไม้ ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นสำคัญใน 4 เรื่อง ดังนี้
3.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ คปป. จำนวน 6 ชุด ได้แก่
1) คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ทำหน้าที่บูรณาการ เร่งรัด ประสาน กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานในการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพรวมของประเทศ
2) คณะอนุกรรมการด้านการบังคับใช้กฎหมายและติดตามผลคดีด้านป่าไม้ ทำหน้าที่บูรณาการ เร่งรัด กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการบังคับใช้กฎหมายและติดตามผลคดีป่าไม้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) คณะอนุกรรมการด้านการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าและจัดทำฝายต้นน้ำ ทำหน้าที่บูรณาการ ประสาน กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานในการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่า และจัดทำฝายต้นน้ำ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4) คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนพื้นที่ป่า ทำหน้าที่บูรณาการ เร่งรัด กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานในการตรวจสอบเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนในพื้นที่ป่า
5) คณะอนุกรรมการด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่บูรณาการและประสานงานการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และประชาสัมพันธ์เผยแพร่
6) คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าระดับจังหวัด ทำหน้าที่อำนวยการ บูรณาการ เร่งรัด ประสาน กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปราม การตัดไม้ทำลายป่า ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด
3.2 แนวทางการสนธิกำลังการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่วิกฤต สนธิกำลังการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่วิกฤต โดยใช้ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว แบ่งตามพื้นที่ ดังนี้
1) พื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ จัดชุดปฏิบัติการตรวจลาดตระเวน และตั้งจุดสกัดในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การตัดไม้ทำลายป่าและบุกรุกแผ้วถางป่ารุนแรง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายป่าไม้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ดำเนินการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่รอยต่อเขตติดต่อระหว่างป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าชายเลน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยเน้นมาตรการรื้อถอนและปลูกฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณที่ถูกบุกรุกแผ้วถางทันที
2) พื้นที่ที่อยู่ในเขตเส้นทางคมนาคม ทุกเส้นทาง ที่มีข่าวการลักลอบขนไม้หรือของป่าที่ มิชอบด้วยกฎหมาย จัดชุดปฏิบัติการ ตั้งด่านตรวจหรือจุดสกัด ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายป่าไม้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
3.3 แนวทางการเร่งรัดดำเนินคดีด้านป่าไม้ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เนื่องจากคดีความผิดเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐและการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง การดำเนินคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อคณะกรรมการคดีพิเศษอนุมัติให้เป็นคดีพิเศษ ทำให้บางครั้งการดำเนินคดีเกิดความล่าช้าและไม่ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐและการทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยถือเป็นภารกิจหลักและสำคัญและเพื่อเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จึงได้นำเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดให้ความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยคณะกรรมการคดีพิเศษได้เห็นชอบแล้ว และคาดว่าจะสำเสนอคณะรัฐมนตรีในการประชุมคราวถัดไป
3.4 แนวทางการเร่งรัดตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินที่ทับซ้อนพื้นที่ป่า ของกรมที่ดิน และสำนักแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการออกเอกสารสิทธิผิดพลาดคลาดเคลื่อน สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากแนวเขตป่าไม้ ไม่ชัดเจน การแก้ไขจำเป็นต้องดำเนินการขีดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ให้ชัดเจน ลงในระวางแผนที่ของกรมที่ดิน เพื่อใช้ในการตรวจสอบก่อนการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิทับซ้อนพื้นที่ป่าได้ สำหรับปัญหากรณีการนำ ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาใช้เป็นหลักฐานในการออกเอกสารนั้น กรมที่ดินได้เสนอกฎหมายที่ขณะนี้มีผลใช้บังคับแล้ว คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้ผู้มีหลักฐาน ส.ค. 1 ต้องมายื่นขอออกโฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551 — 6 กุมภาพันธ์ 2553 หากพ้นกำหนดนี้ ต้องนำคำสั่งศาลหรือคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลยุติธรรมมาใช้ประกอบในการขอออกโฉนดที่ดิน รวมทั้งยังมีกลไกการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐจังหวัด (กบร.จังหวัด) และคณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย
4. ความร่วมมือระหว่าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพบก
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่า จำเป็นต้องบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กับกองทัพบก และได้ตกลงจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และกำหนดให้มีพิธีลงนามร่วม ในวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. สถานการณ์ พื้นที่ประเทศไทย 320.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าตามกฎหมายในความรับผิดชอบ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 137.64 ล้านไร่ ประกอบด้วย 1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า) 59.38 ล้านไร่ 2) พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 67.74 ล้านไร่ และ 3) พื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี (ยังไม่ประกาศเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ) 10.52 ล้านไร่ ปัจจุบันประเทศไทยเหลือพื้นที่ที่มีสภาพป่า 104.7 ล้านไร่ โดยเป็น 1) พื้นที่ที่มีสภาพป่าใน เขตป่าตามกฎหมาย ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบ 92.9 ล้านไร่ ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ 46.2 ล้านไร่ และป่าสงวนแห่งชาติ 46.7 ล้านไร่ และ 2) พื้นที่ที่มีสภาพป่านอกเขตป่าตามกฎหมาย 11.8 ล้านไร่
2. สภาพปัญหา พื้นที่ป่าของประเทศลดลงมาโดยตลอด จาก 171 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2504 หรือร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศ เหลือในปัจจุบัน 104.7 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรป่าไม้ มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ การลดลงและเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ ทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบที่สำคัญ ได้แก่ 1) การขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม 2) การขาดแหล่งไม้ใช้สอยในประเทศ 3) ชุมชนท้องถิ่นขาดแหล่งอาหาร ยา และรายได้ 4) ความขัดแย้งในที่ดินทำกิน และ 5) ภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น
3. ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ (คปป.) คปป.ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันพุธที่ 21 พฤษภาคม 2551 ณ กรมป่าไม้ ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นสำคัญใน 4 เรื่อง ดังนี้
3.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ คปป. จำนวน 6 ชุด ได้แก่
1) คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ทำหน้าที่บูรณาการ เร่งรัด ประสาน กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานในการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพรวมของประเทศ
2) คณะอนุกรรมการด้านการบังคับใช้กฎหมายและติดตามผลคดีด้านป่าไม้ ทำหน้าที่บูรณาการ เร่งรัด กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการบังคับใช้กฎหมายและติดตามผลคดีป่าไม้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) คณะอนุกรรมการด้านการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าและจัดทำฝายต้นน้ำ ทำหน้าที่บูรณาการ ประสาน กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานในการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่า และจัดทำฝายต้นน้ำ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4) คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนพื้นที่ป่า ทำหน้าที่บูรณาการ เร่งรัด กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานในการตรวจสอบเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนในพื้นที่ป่า
5) คณะอนุกรรมการด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่บูรณาการและประสานงานการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และประชาสัมพันธ์เผยแพร่
6) คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าระดับจังหวัด ทำหน้าที่อำนวยการ บูรณาการ เร่งรัด ประสาน กำกับดูแล และตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปราม การตัดไม้ทำลายป่า ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด
3.2 แนวทางการสนธิกำลังการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่วิกฤต สนธิกำลังการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่วิกฤต โดยใช้ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว แบ่งตามพื้นที่ ดังนี้
1) พื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ จัดชุดปฏิบัติการตรวจลาดตระเวน และตั้งจุดสกัดในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การตัดไม้ทำลายป่าและบุกรุกแผ้วถางป่ารุนแรง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายป่าไม้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ดำเนินการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่รอยต่อเขตติดต่อระหว่างป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าชายเลน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยเน้นมาตรการรื้อถอนและปลูกฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณที่ถูกบุกรุกแผ้วถางทันที
2) พื้นที่ที่อยู่ในเขตเส้นทางคมนาคม ทุกเส้นทาง ที่มีข่าวการลักลอบขนไม้หรือของป่าที่ มิชอบด้วยกฎหมาย จัดชุดปฏิบัติการ ตั้งด่านตรวจหรือจุดสกัด ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายป่าไม้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
3.3 แนวทางการเร่งรัดดำเนินคดีด้านป่าไม้ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เนื่องจากคดีความผิดเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐและการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง การดำเนินคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อคณะกรรมการคดีพิเศษอนุมัติให้เป็นคดีพิเศษ ทำให้บางครั้งการดำเนินคดีเกิดความล่าช้าและไม่ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐและการทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยถือเป็นภารกิจหลักและสำคัญและเพื่อเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จึงได้นำเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดให้ความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยคณะกรรมการคดีพิเศษได้เห็นชอบแล้ว และคาดว่าจะสำเสนอคณะรัฐมนตรีในการประชุมคราวถัดไป
3.4 แนวทางการเร่งรัดตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินที่ทับซ้อนพื้นที่ป่า ของกรมที่ดิน และสำนักแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการออกเอกสารสิทธิผิดพลาดคลาดเคลื่อน สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากแนวเขตป่าไม้ ไม่ชัดเจน การแก้ไขจำเป็นต้องดำเนินการขีดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ให้ชัดเจน ลงในระวางแผนที่ของกรมที่ดิน เพื่อใช้ในการตรวจสอบก่อนการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิทับซ้อนพื้นที่ป่าได้ สำหรับปัญหากรณีการนำ ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาใช้เป็นหลักฐานในการออกเอกสารนั้น กรมที่ดินได้เสนอกฎหมายที่ขณะนี้มีผลใช้บังคับแล้ว คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้ผู้มีหลักฐาน ส.ค. 1 ต้องมายื่นขอออกโฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551 — 6 กุมภาพันธ์ 2553 หากพ้นกำหนดนี้ ต้องนำคำสั่งศาลหรือคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลยุติธรรมมาใช้ประกอบในการขอออกโฉนดที่ดิน รวมทั้งยังมีกลไกการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐจังหวัด (กบร.จังหวัด) และคณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย
4. ความร่วมมือระหว่าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพบก
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่า จำเป็นต้องบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กับกองทัพบก และได้ตกลงจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และกำหนดให้มีพิธีลงนามร่วม ในวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--