คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี(นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติในหลักการโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการปรับแผนการดำเนินโครงการฯ ตามความจำเป็นเร่งด่วนและให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นรายปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 และความเห็นของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 18 กำหนดให้โรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์ เป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในรูปแบบของศูนย์การเรียน เพื่อมุ่งเน้นการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนโดยมีทางเลือกให้อย่างหลากหลาย มิได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนในโรงเรียนเท่านั้น ประกอบกับการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานและต่อเนื่องเป็นภารกิจของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา/ประจำจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องดำเนินการร่วมมือกับโรงพยาบาล เพื่อจัดทำแผนและให้การศึกษาแก่บุคคลกลุ่มนี้ เพื่อให้เรียนได้ทันเพื่อน และเมื่อกลับไปโรงเรียนเด็กจะไม่ต้องเรียนซ้ำชั้น หรือไม่ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคัน
2. จากการสำรวจเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลที่มีขนาดตั้งแต่ 50 เตียงขึ้นไปทุกจังหวัด ในกลุ่มเด็กวัยเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะเวลา 5 ปี (2545-2549) พบว่า มีจำนวนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล รวมทั้งสิ้น 272,688 คน หรือเฉลี่ยปีละ 54,538 คน และในปัจจุบันมีศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลกระจายอยู่ตามภูมิภาคและส่วนกลางแล้ว รวม 12 ศูนย์การเรียน ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น กาญจนบุรี สงขลา ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี จังหวัดละ 1 ศูนย์การเรียน กรุงเทพมหานคร 5 ศูนย์การเรียน และมีครูการศึกษาพิเศษของกระทรวงศึกษาธิการที่สอนประจำใน ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล จำนวน 8 คน มีนักเรียนที่ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 4,000 คนต่อปี
3. โรงพยาบาลหลายแห่งมี “ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยพระราชทานในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยกระทรวงศึกษาธิการส่งครูไปสอนประจำในศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล และจัดกิจกรรมให้เด็กเจ็บป่วยมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ขณะอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
4. เพื่อให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในรูปแบบศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สามารถกลับไปเรียนต่อในสถานศึกษาและมีสิทธิสอบเลื่อนชั้น รวมทั้งได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นควรจัดตั้งโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล โดยสรุปสาระสำคัญของโครงการฯ ได้ ดังนี้
4.1 วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
1) เพื่อให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา/ประจำจังหวัดได้ร่วมมือกับโรงพยาบาล ดำเนินการจัดศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ศูนย์การเรียน รวม 76 ศูนย์การเรียน
2) เพื่อให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างต่อเนื่องและ
ไม่สามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในรูปแบบอื่น (ศูนย์การเรียนในโรงพยาบาล)
3) เพื่อจัดการเรียนการสอนให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สามารถกลับไปเรียนต่อในโรงเรียนและมีสิทธิสอบเลื่อนชั้น
4) เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กเจ็บป่วย และวิธีการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน
5) เพื่อช่วยฟื้นฟูด้านสุขภาพจิต โดยมีกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายจิตใจ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการเปิดโลกทัศน์ของเด็กให้กว้างขึ้น
4.2 เป้าหมายของโครงการฯ
1) เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ทั้งกลุ่มเด็กที่ออกจากโรงเรียนแล้ว และกลุ่มเด็กที่ไม่เคยเข้าโรงเรียนที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ มีโอกาสเข้ารับการศึกษาได้อย่างกว้างขวางทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
2) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ดำเนินการร่วมมือกับโรงพยาบาลจัดศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล อย่างน้อยจังหวัดละ 1 ศูนย์การเรียนรวม 76 ศูนย์การเรียน เพื่อจัดการศึกษาในรูปแบบอื่นสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
4.3 ระยะเวลาดำเนินการ
1) พ.ศ. 2552 จำนวน 13 ศูนย์การเรียน
2) พ.ศ. 2553 จำนวน 28 ศูนย์การเรียน
(13 ศูนย์เดิม + 15 ศูนย์ใหม่)
3) พ.ศ. 2554 จำนวน 44 ศูนย์การเรียน
(28 ศูนย์เดิม + 16 ศูนย์ใหม่)
4) พ.ศ. 2555 จำนวน 60 ศูนย์การเรียน
(44 ศูนย์เดิม + 16 ศูนย์ใหม่)
5) พ.ศ. 2556 จำนวน 76 ศูนย์การเรียน
(60 ศูนย์เดิม + 16 ศูนย์ใหม่)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 18 กำหนดให้โรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์ เป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในรูปแบบของศูนย์การเรียน เพื่อมุ่งเน้นการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนโดยมีทางเลือกให้อย่างหลากหลาย มิได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนในโรงเรียนเท่านั้น ประกอบกับการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานและต่อเนื่องเป็นภารกิจของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา/ประจำจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องดำเนินการร่วมมือกับโรงพยาบาล เพื่อจัดทำแผนและให้การศึกษาแก่บุคคลกลุ่มนี้ เพื่อให้เรียนได้ทันเพื่อน และเมื่อกลับไปโรงเรียนเด็กจะไม่ต้องเรียนซ้ำชั้น หรือไม่ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคัน
2. จากการสำรวจเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลที่มีขนาดตั้งแต่ 50 เตียงขึ้นไปทุกจังหวัด ในกลุ่มเด็กวัยเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะเวลา 5 ปี (2545-2549) พบว่า มีจำนวนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล รวมทั้งสิ้น 272,688 คน หรือเฉลี่ยปีละ 54,538 คน และในปัจจุบันมีศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลกระจายอยู่ตามภูมิภาคและส่วนกลางแล้ว รวม 12 ศูนย์การเรียน ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น กาญจนบุรี สงขลา ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี จังหวัดละ 1 ศูนย์การเรียน กรุงเทพมหานคร 5 ศูนย์การเรียน และมีครูการศึกษาพิเศษของกระทรวงศึกษาธิการที่สอนประจำใน ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล จำนวน 8 คน มีนักเรียนที่ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 4,000 คนต่อปี
3. โรงพยาบาลหลายแห่งมี “ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยพระราชทานในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยกระทรวงศึกษาธิการส่งครูไปสอนประจำในศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล และจัดกิจกรรมให้เด็กเจ็บป่วยมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ขณะอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
4. เพื่อให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในรูปแบบศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สามารถกลับไปเรียนต่อในสถานศึกษาและมีสิทธิสอบเลื่อนชั้น รวมทั้งได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นควรจัดตั้งโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล โดยสรุปสาระสำคัญของโครงการฯ ได้ ดังนี้
4.1 วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
1) เพื่อให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา/ประจำจังหวัดได้ร่วมมือกับโรงพยาบาล ดำเนินการจัดศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ศูนย์การเรียน รวม 76 ศูนย์การเรียน
2) เพื่อให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างต่อเนื่องและ
ไม่สามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในรูปแบบอื่น (ศูนย์การเรียนในโรงพยาบาล)
3) เพื่อจัดการเรียนการสอนให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สามารถกลับไปเรียนต่อในโรงเรียนและมีสิทธิสอบเลื่อนชั้น
4) เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กเจ็บป่วย และวิธีการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน
5) เพื่อช่วยฟื้นฟูด้านสุขภาพจิต โดยมีกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายจิตใจ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการเปิดโลกทัศน์ของเด็กให้กว้างขึ้น
4.2 เป้าหมายของโครงการฯ
1) เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ทั้งกลุ่มเด็กที่ออกจากโรงเรียนแล้ว และกลุ่มเด็กที่ไม่เคยเข้าโรงเรียนที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ มีโอกาสเข้ารับการศึกษาได้อย่างกว้างขวางทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
2) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ดำเนินการร่วมมือกับโรงพยาบาลจัดศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล อย่างน้อยจังหวัดละ 1 ศูนย์การเรียนรวม 76 ศูนย์การเรียน เพื่อจัดการศึกษาในรูปแบบอื่นสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
4.3 ระยะเวลาดำเนินการ
1) พ.ศ. 2552 จำนวน 13 ศูนย์การเรียน
2) พ.ศ. 2553 จำนวน 28 ศูนย์การเรียน
(13 ศูนย์เดิม + 15 ศูนย์ใหม่)
3) พ.ศ. 2554 จำนวน 44 ศูนย์การเรียน
(28 ศูนย์เดิม + 16 ศูนย์ใหม่)
4) พ.ศ. 2555 จำนวน 60 ศูนย์การเรียน
(44 ศูนย์เดิม + 16 ศูนย์ใหม่)
5) พ.ศ. 2556 จำนวน 76 ศูนย์การเรียน
(60 ศูนย์เดิม + 16 ศูนย์ใหม่)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--