คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการเสนอความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้ส่งความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership-AJCEP) ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วเสนอรัฐสภาพิจารณาก่อนที่จะแสดงเจตนาเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยให้ส่งความตกลงฯ ฉบับภาษาไทยให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา
2. เห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับได้อย่างช้าภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำร่างประกาศกระทรวงการคลังสำหรับการลดและยกเว้นภาษีศุลกากร และการจัดทำ และการจัดทำร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับสินค้าโควตาภายใต้ความตกลงฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า
1. อาเซียนและญี่ปุ่นได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นแล้ว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 โดยที่ความตกลงฯ นี้จะมีผลผูกพันด้านการค้าของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่จะแสดงเจตนาให้ความ ตกลงฯ มีผลผูกพันต่อไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 วรรคสอง
2. สำหรับการจัดให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดและมาตรการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความตกลงฯ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 วรรคสี่ บัญญัติให้ดำเนินการก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความตกลงฯ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของความตกลงฯ หลายช่องทาง เช่น จัดทำคู่มือเผยแพร่ เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ จัดสัมมนา เป็นต้น
3. ส่วนมาตรการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ นอกจากความตกลงฯ จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันและเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความตกลงฯ แล้วกระทรวงพาณิชย์ก็ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า หรือเรียกว่ากองทุน FTA เพื่อให้ความช่วยเหลือการปรับตัวและปรับเปลี่ยนของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ให้สามารถแข่งขันได้ด้วยแล้ว จึงได้เสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
1. ความตกลงนี้ครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน กฎระเบียบต่าง ๆ เช่น กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการปกป้องการระงับข้อพิพาท เป็นต้น และความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ อีกกว่า 14 สาขา
2. ในด้านการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ความตกลง AJCEP มีสัดส่วนของสินค้าที่นำมาลด/ยกเลิกภาษีให้แก่กัน (สถิติการนำเข้าปี 2548 ซึ่งเป็นฐานในการเจรจา) ดังนี้
ญี่ปุ่น สินค้า 96.7 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจากอาเซียนทั้งหมดจะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีนำเข้า โดย 90
เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสินค้านำเข้าจะลดเป็น 0 ทันทีที่ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
สิงคโปร์ ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดทันทีที่ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
อาเซียน 5 สินค้า 93.8 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจะถูกนำ
ประเทศ มาลด/ยกเลิกภาษีภายใน 10 ปี หลังจากความตกลงฯ (ไทยมีผลใช้บังคับ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย)
เวียดนาม สินค้า 94 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีภายใน 17 ปี หลังจากความตกลงฯ
มีผลใช้บังคับ
กัมพูชา สินค้า 93 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจะถูกนำมาลด/ ลาว และพม่า ยกเลิกภาษีภายใน 18 ปี หลังจากความ
ตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
3. ส่วนการเปิดตลาดสินค้าของญี่ปุ่นนั้น ร้อยละ 90 ของมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากอาเซียนจะลดภาษีเป็น 0 ทันทีที่ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
4. ในด้านบริการและการลงทุนนั้น ไม่ได้มีการเปิดตลาดเพิ่มจากที่ได้ตกลงไว้ในความตกลง JTEPA จึงเป็นความตกลงแต่เพียงในกรอบกว้าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันในอนาคตเพื่อหาช่องทางเปิดเสรีด้านการค้าบริการและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นต่อไป
5. ด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ได้กำหนดให้สอดคล้องกับความตกลงภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO)
6. กำหนดให้มีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน สารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง การท่องเที่ยว การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตร ประมงและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบให้ส่งความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership-AJCEP) ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วเสนอรัฐสภาพิจารณาก่อนที่จะแสดงเจตนาเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยให้ส่งความตกลงฯ ฉบับภาษาไทยให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา
2. เห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับได้อย่างช้าภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำร่างประกาศกระทรวงการคลังสำหรับการลดและยกเว้นภาษีศุลกากร และการจัดทำ และการจัดทำร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับสินค้าโควตาภายใต้ความตกลงฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า
1. อาเซียนและญี่ปุ่นได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นแล้ว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 โดยที่ความตกลงฯ นี้จะมีผลผูกพันด้านการค้าของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่จะแสดงเจตนาให้ความ ตกลงฯ มีผลผูกพันต่อไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 วรรคสอง
2. สำหรับการจัดให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดและมาตรการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความตกลงฯ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 วรรคสี่ บัญญัติให้ดำเนินการก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความตกลงฯ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของความตกลงฯ หลายช่องทาง เช่น จัดทำคู่มือเผยแพร่ เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ จัดสัมมนา เป็นต้น
3. ส่วนมาตรการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ นอกจากความตกลงฯ จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันและเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความตกลงฯ แล้วกระทรวงพาณิชย์ก็ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า หรือเรียกว่ากองทุน FTA เพื่อให้ความช่วยเหลือการปรับตัวและปรับเปลี่ยนของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ให้สามารถแข่งขันได้ด้วยแล้ว จึงได้เสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
1. ความตกลงนี้ครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน กฎระเบียบต่าง ๆ เช่น กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการปกป้องการระงับข้อพิพาท เป็นต้น และความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ อีกกว่า 14 สาขา
2. ในด้านการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ความตกลง AJCEP มีสัดส่วนของสินค้าที่นำมาลด/ยกเลิกภาษีให้แก่กัน (สถิติการนำเข้าปี 2548 ซึ่งเป็นฐานในการเจรจา) ดังนี้
ญี่ปุ่น สินค้า 96.7 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจากอาเซียนทั้งหมดจะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีนำเข้า โดย 90
เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสินค้านำเข้าจะลดเป็น 0 ทันทีที่ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
สิงคโปร์ ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดทันทีที่ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
อาเซียน 5 สินค้า 93.8 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจะถูกนำ
ประเทศ มาลด/ยกเลิกภาษีภายใน 10 ปี หลังจากความตกลงฯ (ไทยมีผลใช้บังคับ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย)
เวียดนาม สินค้า 94 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจะถูกนำมาลด/ยกเลิกภาษีภายใน 17 ปี หลังจากความตกลงฯ
มีผลใช้บังคับ
กัมพูชา สินค้า 93 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าจะถูกนำมาลด/ ลาว และพม่า ยกเลิกภาษีภายใน 18 ปี หลังจากความ
ตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
3. ส่วนการเปิดตลาดสินค้าของญี่ปุ่นนั้น ร้อยละ 90 ของมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากอาเซียนจะลดภาษีเป็น 0 ทันทีที่ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ
4. ในด้านบริการและการลงทุนนั้น ไม่ได้มีการเปิดตลาดเพิ่มจากที่ได้ตกลงไว้ในความตกลง JTEPA จึงเป็นความตกลงแต่เพียงในกรอบกว้าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันในอนาคตเพื่อหาช่องทางเปิดเสรีด้านการค้าบริการและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นต่อไป
5. ด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ได้กำหนดให้สอดคล้องกับความตกลงภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO)
6. กำหนดให้มีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน สารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง การท่องเที่ยว การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตร ประมงและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--