เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิก
ใหม่อาเซียน (ฉบับที่ ..) (การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN
tegration System of Preferences (AISP)) ในปี 2551 แก่ประเทศ
สมาชิกใหม่อาเซียน)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ฉบับที่ ..) (การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences (AISP)) ในปี 2551 แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีมติในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences (AISP) แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (CLMV) ภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) ในลักษณะทวิภาคี ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง และให้ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนแจ้งรายการสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมพิจารณา ซึ่งประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้ส่งรายการสินค้าที่ต้องการขอรับสิทธิพิเศษดังกล่าวให้ประเทศไทยพิจารณา และประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนรายการสินค้าที่จะให้สิทธิ AISP ทุกปี
2. ประเทศไทยได้มีการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ) ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 โดยเป็นปีแรกที่มีการออกประกาศ AISP แบบต่อเนื่อง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สำหรับการดำเนินการเพื่อพิจารณาให้สิทธิ AISP ในปี 2551 คณะทำงานจัดทำแผนการปรับปรุงภาษีศุลกากรเพื่อเปิดเสรีทางการค้า (ผศค.) ได้มีมติเห็นชอบการให้สิทธิ AISP ในปี 2551 แก่
2.1 ราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวน 15 รายการ ได้แก่ สินค้าจำพวกพืชผักตระกูลถั่ว มันสำปะหลัง เมล็ดฝ้าย ลูกกวาด อาหารปรุงแต่ง น้ำส้มสายชู ผ้าทอ ทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ ผ้าโปร่งและผ้าถัก เป็นต้น
2.2 สหภาพพม่า จำนวน 13 รายการ ได้แก่ สินค้ากุ้ง เมล็ดพืชผักหนังที่ทำให้แห้ง ไม้จำพวกสน รองเท้า หินปูถนน แคโทด เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย และประติมากรรมวัตถุประเภทรูปปั้นหรือรูปหล่อ เป็นต้น
3. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 10 รายการ ได้แก่ สินค้าจำพวกรากไม้ พืชผัก พริก แตงกวา มันสำปะหลัง ใบพลู และสิ่งปรุงแต่งอื่น ๆ ที่ใช้ซักล้างหรือฟอกขาว เป็นต้น
จึงเสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างประกาศฯ เป็นการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากราชอาณาจักรกัมพูชา ตามบัญชีท้ายประกาศ 1 ของที่มีถิ่นกำเนิดจากสหภาพพม่า ตามบัญชีท้ายประกาศ 2 และของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามบัญชีท้ายประกาศ 3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
ใหม่อาเซียน (ฉบับที่ ..) (การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN
tegration System of Preferences (AISP)) ในปี 2551 แก่ประเทศ
สมาชิกใหม่อาเซียน)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ฉบับที่ ..) (การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences (AISP)) ในปี 2551 แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีมติในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences (AISP) แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (CLMV) ภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) ในลักษณะทวิภาคี ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง และให้ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนแจ้งรายการสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมพิจารณา ซึ่งประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้ส่งรายการสินค้าที่ต้องการขอรับสิทธิพิเศษดังกล่าวให้ประเทศไทยพิจารณา และประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนรายการสินค้าที่จะให้สิทธิ AISP ทุกปี
2. ประเทศไทยได้มีการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ) ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 โดยเป็นปีแรกที่มีการออกประกาศ AISP แบบต่อเนื่อง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สำหรับการดำเนินการเพื่อพิจารณาให้สิทธิ AISP ในปี 2551 คณะทำงานจัดทำแผนการปรับปรุงภาษีศุลกากรเพื่อเปิดเสรีทางการค้า (ผศค.) ได้มีมติเห็นชอบการให้สิทธิ AISP ในปี 2551 แก่
2.1 ราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวน 15 รายการ ได้แก่ สินค้าจำพวกพืชผักตระกูลถั่ว มันสำปะหลัง เมล็ดฝ้าย ลูกกวาด อาหารปรุงแต่ง น้ำส้มสายชู ผ้าทอ ทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ ผ้าโปร่งและผ้าถัก เป็นต้น
2.2 สหภาพพม่า จำนวน 13 รายการ ได้แก่ สินค้ากุ้ง เมล็ดพืชผักหนังที่ทำให้แห้ง ไม้จำพวกสน รองเท้า หินปูถนน แคโทด เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย และประติมากรรมวัตถุประเภทรูปปั้นหรือรูปหล่อ เป็นต้น
3. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 10 รายการ ได้แก่ สินค้าจำพวกรากไม้ พืชผัก พริก แตงกวา มันสำปะหลัง ใบพลู และสิ่งปรุงแต่งอื่น ๆ ที่ใช้ซักล้างหรือฟอกขาว เป็นต้น
จึงเสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างประกาศฯ เป็นการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากราชอาณาจักรกัมพูชา ตามบัญชีท้ายประกาศ 1 ของที่มีถิ่นกำเนิดจากสหภาพพม่า ตามบัญชีท้ายประกาศ 2 และของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามบัญชีท้ายประกาศ 3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--