คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ผลการเดินทางไปปฏิบัติราชการตรวจเยี่ยมวิทยาลัยชุมชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี) ระหว่างวันที่ 23 — 25 พฤษภาคม 2551 ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายบุญลือ ประเสริฐโสภา) โดยสรุป ดังนี้
1. วิทยาลัยชุมชนสงขลา ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 รับผิดชอบพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอเทพา จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย ผลการตรวจเยี่ยม พบว่า
1.1 นักศึกษาส่วนใหญ่ที่มาเรียนจะเป็นกลุ่มแม่บ้าน อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) หลักสูตรที่นิยมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรการทำบัญชีเบื้องต้น หลักสูตรการพัฒนาประสิทธิภาพผู้นำท้องถิ่น ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชน ตลอดจนวิทยาลัยชุมชนสงขลาได้จัดให้มีหลักสูตรการศึกษาที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนเป็นอย่างดี
1.2 สำหรับสถานที่ตั้งของวิทยาลัยชุมชนสงขลาพบว่า มีความคับแคบ ไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา เนื่องจากปัจจุบันใช้อาคารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเทพาเดิมเป็นสถานที่ตั้ง(บริเวณที่ว่าการอำเภอเทพา) ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ทั้งนี้ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนได้ขอให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการประสานขอใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประมาณ 50 ไร่ เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารเรียนและขณะนี้ได้เสนอของบประมาณ ปี 2552 เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 4 ชั้น 25 ห้องเรียน
2. วิทยาลัยชุมชนยะลา ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เนื่องจากยังไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง ปัจจุบันใช้ที่ราชพัสดุซึ่งเดิมเป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นที่ตั้ง พบว่า เปิดทำการสอนหลักสูตรระยะสั้นและอนุปริญญา เช่น หลักสูตรผู้ช่วยผู้ป่วยเพื่อรองรับผู้ป่วยจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อรองรับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาตามรัฐธรรมนูญจาก 12 ปี เป็น 14 ปี จึงมีความจำเป็นต้องการเจ้าหน้าที่ดูแลเด็กเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรธุรกิจอาหารฮาลาล ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาอาชีพของชุมชน และขณะนี้ได้เสนอของบประมาณปี 2552 เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 5 ชั้น จำนวน 30 ห้องเรียน
3. วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 ในการเดินทางจากจังหวัดยะลาไปวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส คณะได้เดินทางโดยรถยนต์ผ่านเส้นทาง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยผ่านเทือกเขาบูโด เส้นทางดังกล่าวนี้เป็นเส้นทางที่เกิดเหตุการณ์ลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนอยู่เสมอโดยตลอดเส้นทางมีฝ่ายทหารและตำรวจจัดตั้งจุดรักษาการณ์และระวังเหตุการณ์ตลอดเส้นทาง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยให้กับคณะตรวจราชการและประชาชน พบว่า
3.1 อาคารเรียนปัจจุบันใช้อาคารเรียนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนราธิวาส และต่อมาในปี 2547 ได้รับงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ (งบ CEO) จำนวน 14 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารวิทยบริการในเนื้อที่ 9 ไร่ ซึ่งอาคารดังกล่าวจะประกอบด้วย ศูนย์บริการนักศึกษา อาคารสำนักงาน ห้องสมุด และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและขณะนี้ได้เสนอของบประมาณปี 2552 เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 4 ชั้น จำนวน 25 ห้องเรียน
3.2 หลักสูตรที่สำคัญ ประกอบด้วยหลักสูตรอนุปริญญาการปกครองท้องถิ่น หลักสูตรปฐมวัย หลักสูตรการพัฒนาชุมชน และหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งพบว่าในปี 2550 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 2,133 คน แต่ในปี 2551 นักศึกษาลดลงเหลือ 1,693 คน เนื่องจากอาคารเรียนการสอนไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครู และค่าตอบแทนอาจารย์พิเศษโดยปัจจุบันหลักสูตรระยะสั้นชั่วโมงละ 150 บาท และระยะยาวชั่วโมงละ 200 บาท ทำให้ไม่สามารถจ้างอาจารย์พิเศษ ที่มีความชำนาญระดับสูงได้
4. วิทยาลัยชุมชนปัตตานี ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เป็นวิทยาลัยชุมชนที่มีความพร้อมทางด้านอาคารสถานที่ มีห้องสมุด ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา และห้องเรียนคอมพิวเตอร์พบว่า อาคารของวิทยาลัยชุมชนใช้อาคารศูนย์วิทยบริการซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณเหลือจ่ายของสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สกอ.ในปีงบประมาณ 2548 จำนวน 14 ล้านบาท สำหรับหลักสูตรการศึกษาที่สำคัญ เช่น หลักสูตรอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล หลักสูตรอิสลามศึกษา หลักสูตรปฐมวัย โดยเฉพาะหลักสูตรปฐมวัย (ระดับอนุปริญญา) ปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวน 100 คน ส่วนใหญ่มีความต้องการเรียนต่อในระดับปริญญาตรี แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียน จึงขอให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประสานงานกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อจัดทำโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--
1. วิทยาลัยชุมชนสงขลา ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 รับผิดชอบพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอเทพา จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย ผลการตรวจเยี่ยม พบว่า
1.1 นักศึกษาส่วนใหญ่ที่มาเรียนจะเป็นกลุ่มแม่บ้าน อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) หลักสูตรที่นิยมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรการทำบัญชีเบื้องต้น หลักสูตรการพัฒนาประสิทธิภาพผู้นำท้องถิ่น ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชน ตลอดจนวิทยาลัยชุมชนสงขลาได้จัดให้มีหลักสูตรการศึกษาที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนเป็นอย่างดี
1.2 สำหรับสถานที่ตั้งของวิทยาลัยชุมชนสงขลาพบว่า มีความคับแคบ ไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา เนื่องจากปัจจุบันใช้อาคารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเทพาเดิมเป็นสถานที่ตั้ง(บริเวณที่ว่าการอำเภอเทพา) ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ทั้งนี้ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนได้ขอให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการประสานขอใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประมาณ 50 ไร่ เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารเรียนและขณะนี้ได้เสนอของบประมาณ ปี 2552 เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 4 ชั้น 25 ห้องเรียน
2. วิทยาลัยชุมชนยะลา ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เนื่องจากยังไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง ปัจจุบันใช้ที่ราชพัสดุซึ่งเดิมเป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นที่ตั้ง พบว่า เปิดทำการสอนหลักสูตรระยะสั้นและอนุปริญญา เช่น หลักสูตรผู้ช่วยผู้ป่วยเพื่อรองรับผู้ป่วยจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อรองรับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาตามรัฐธรรมนูญจาก 12 ปี เป็น 14 ปี จึงมีความจำเป็นต้องการเจ้าหน้าที่ดูแลเด็กเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรธุรกิจอาหารฮาลาล ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาอาชีพของชุมชน และขณะนี้ได้เสนอของบประมาณปี 2552 เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 5 ชั้น จำนวน 30 ห้องเรียน
3. วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 ในการเดินทางจากจังหวัดยะลาไปวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส คณะได้เดินทางโดยรถยนต์ผ่านเส้นทาง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยผ่านเทือกเขาบูโด เส้นทางดังกล่าวนี้เป็นเส้นทางที่เกิดเหตุการณ์ลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนอยู่เสมอโดยตลอดเส้นทางมีฝ่ายทหารและตำรวจจัดตั้งจุดรักษาการณ์และระวังเหตุการณ์ตลอดเส้นทาง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยให้กับคณะตรวจราชการและประชาชน พบว่า
3.1 อาคารเรียนปัจจุบันใช้อาคารเรียนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนราธิวาส และต่อมาในปี 2547 ได้รับงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ (งบ CEO) จำนวน 14 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารวิทยบริการในเนื้อที่ 9 ไร่ ซึ่งอาคารดังกล่าวจะประกอบด้วย ศูนย์บริการนักศึกษา อาคารสำนักงาน ห้องสมุด และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและขณะนี้ได้เสนอของบประมาณปี 2552 เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 4 ชั้น จำนวน 25 ห้องเรียน
3.2 หลักสูตรที่สำคัญ ประกอบด้วยหลักสูตรอนุปริญญาการปกครองท้องถิ่น หลักสูตรปฐมวัย หลักสูตรการพัฒนาชุมชน และหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งพบว่าในปี 2550 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 2,133 คน แต่ในปี 2551 นักศึกษาลดลงเหลือ 1,693 คน เนื่องจากอาคารเรียนการสอนไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครู และค่าตอบแทนอาจารย์พิเศษโดยปัจจุบันหลักสูตรระยะสั้นชั่วโมงละ 150 บาท และระยะยาวชั่วโมงละ 200 บาท ทำให้ไม่สามารถจ้างอาจารย์พิเศษ ที่มีความชำนาญระดับสูงได้
4. วิทยาลัยชุมชนปัตตานี ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เป็นวิทยาลัยชุมชนที่มีความพร้อมทางด้านอาคารสถานที่ มีห้องสมุด ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา และห้องเรียนคอมพิวเตอร์พบว่า อาคารของวิทยาลัยชุมชนใช้อาคารศูนย์วิทยบริการซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณเหลือจ่ายของสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สกอ.ในปีงบประมาณ 2548 จำนวน 14 ล้านบาท สำหรับหลักสูตรการศึกษาที่สำคัญ เช่น หลักสูตรอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล หลักสูตรอิสลามศึกษา หลักสูตรปฐมวัย โดยเฉพาะหลักสูตรปฐมวัย (ระดับอนุปริญญา) ปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวน 100 คน ส่วนใหญ่มีความต้องการเรียนต่อในระดับปริญญาตรี แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียน จึงขอให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประสานงานกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อจัดทำโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤษภาคม 2551--จบ--