คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ได้รับมอบให้ติดตามดูแล 2 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน และได้เดินทางไปตรวจและติดตามสถานการณ์ ณ พื้นที่จริงที่จังหวัดลำปางและลำพูน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2548 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สภาพโดยทั่วไป
- จังหวัดลำปาง ในปี 2548 มีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 326 หมู่บ้าน ใน 13 อำเภอ มีราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 105,000 คน การแก้ไขปัญหาระยะสั้น จังหวัดได้ใช้เงินฉุกเฉินในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเป็นเงินประมาณ 18 ล้านบาทเศษ โดยใช้เป็นค่าน้ำมันรถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ กระสอบทรายสำหรับกั้นลำน้ำ มีการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (ฝายแม้ว) เพิ่มเติมอีก 2,768 แห่ง สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวได้จัดทำโครงการไว้ 10 โครงการ เพื่อจัดสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ เขื่อนกิ่วคอหมา อำเภอแจ้ห่ม จะดำเนินการในปี 2547 — 2553 ความจุขนาด 170 ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณ 3,670 ล้านบาท (ได้รับงบประมาณแล้ว) และโครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่พริก อำเภอแม่พริก ได้ศึกษาออกแบบไว้แล้ว อยู่ระหว่างรองบประมาณและการอนุญาตใช้พื้นที่ป่า มีขนาดความจุ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณ 502 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการขุดลอกพัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงถนนที่จังหวัดขอรับการสนับสนุนอีกจำนวน 33 โครงการ งบประมาณ 100 ล้านบาทเศษ
- จังหวัดลำพูน ในปี 2548 มีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 85 หมู่บ้าน ใน 14 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 20,000 กว่าคน พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเล็กน้อย การแก้ไขปัญหาระยะสั้นได้มีการแจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรกรรม ประมาณ 250,000 กว่าลิตร น้ำอุปโภคบริโภคประมาณ 1,900,000 ลิตร รวมทั้งเป่าล้างบ่อบาดาล งบประมาณฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นเงินประมาณ 820,000 บาทเศษ สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวในช่วงเร่งด่วน จังหวัดลำพูนได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 22 โครงการ เป็นเงิน 157 ล้านบาทเศษ สำหรับการดำเนินการในภาพรวมได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากร จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2548 - 2550
สถานการณ์ปัจจุบัน
- จังหวัดลำปาง ขณะนี้ปัญหาภัยแล้งในปี 2548 ได้คลี่คลายลงโดยสรุปปัญหาพื้นที่เกิดภัยแล้งอยู่ในระดับปานกลางมีบางแห่งรุนแรง แต่ได้รับการแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้นในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งนับว่าได้ผล
- จังหวัดลำพูน ขณะนี้ปัญหาภัยแล้งได้ทุเลาลง ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่บางส่วน ซึ่งกระทบกระเทือนพื้นที่เกษตรกรรมแต่จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากจังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดเล็ก
ในส่วนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทได้มีส่วนช่วยสนับสนุนในระดับจังหวัดแล้ว ในเรื่องการใช้รถบรรทุกน้ำเพื่อแจกจ่าย รวมทั้งการใช้เครื่องจักรกลในการขุดลอก เก็บกักและทำนบกั้นน้ำ เป็นต้น
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
โดยที่ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมจะยังคงมีต่อไปหากไม่มีการแก้ไขบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งมีประเด็นและข้อสังเกตที่ได้รับทราบจากจังหวัดลำปางและลำพูนที่สำคัญมี ดังนี้
- จังหวัดลำปาง เนื่องจากสถิติปริมาณน้ำในแต่ละปีมีจำนวนมาก แต่ปัญหาที่จังหวัดพบคือ ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเหมาะสมและไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เพียงพอ จังหวัดจึงได้ทำโครงการขอรับการสนับสนุนโดยเน้นในเรื่องการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อ่างเก็บน้ำแม่พริก อำเภอแม่พริก จะต้องขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าจากป่าไม้มาให้กรมชลประทานใช้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำให้โครงการชะลอตัวไม่มีความก้าวหน้าตามเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ดีนับว่าจังหวัดพบปัญหาที่สำคัญ เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่ได้จัดทำแผนงานในภาพรวม จึงมอบหมายให้จังหวัดดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของจังหวัดลำปาง
- จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดขนาดเล็ก ตัวเลขปัญหาภัยแล้งมีจำนวนไม่สูงแต่มีผลกระทบต่อราษฎรที่ดำเนินอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดได้ดำเนินการประสานความคิดจากผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนของจังหวัดและจัดทำแผน แม่บทเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จังหวัดลำพูน (พ.ศ. 2548 — 2550) แล้วเสร็จ ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่แต่ละจังหวัดน่าจะได้ดำเนินการจัดทำแผนและเสนอแนวทางในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจังหวัดของตนขึ้น สำหรับแผน แม่บทของจังหวัดลำพูนได้ยึดแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการในลักษณะเป็นลุ่มน้ำ ๆ ไป แต่จากการรับทราบปัญหาจังหวัดลำพูนยังมีส่วนที่ต้องอาศัยการผันน้ำจากจังหวัดเชียงใหม่มาช่วย เช่น โครงการผันน้ำจากเขื่อนแม่งัดมาแม่กวง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อแต่ละจังหวัดจัดทำแผนแม่บทเพื่อเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนาในระดับจังหวัดแล้วจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาดำเนินการพัฒนาบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของประเทศต่อไปด้วย ในเรื่องนี้ได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 2 จังหวัด รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขบริหารและจัดการน้ำทั้งระบบและถือเป็นโอกาสดีที่เป็นรัฐบาลพรรคเดียว ซึ่งการดำเนินงานของกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็ว ดังนั้น แผนงานและโครงการของจังหวัดในส่วนที่เข้ากับแผนแม่บทใหญ่ก็จะได้รับการพิจารณาสนับสนุนให้ดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป สำหรับรัฐมนตรีแต่ละท่านที่ได้รับมอบให้ดูแลจังหวัดนั้น ๆ จะได้ติดตามและช่วยประสานแก้ไขปัญหา และให้การสนับสนุนในฐานะภาพรวมของรัฐบาลมิใช่ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงนั้น ๆ โดยจะได้ติดตามและประสานกับจังหวัดเป็นระยะ ๆ ต่อไป สำหรับข้อมูลรายละเอียดแผนงาน/โครงการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงใดจักได้นำแจ้งกระทรวงนั้น ๆ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
สภาพโดยทั่วไป
- จังหวัดลำปาง ในปี 2548 มีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 326 หมู่บ้าน ใน 13 อำเภอ มีราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 105,000 คน การแก้ไขปัญหาระยะสั้น จังหวัดได้ใช้เงินฉุกเฉินในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเป็นเงินประมาณ 18 ล้านบาทเศษ โดยใช้เป็นค่าน้ำมันรถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ กระสอบทรายสำหรับกั้นลำน้ำ มีการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (ฝายแม้ว) เพิ่มเติมอีก 2,768 แห่ง สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวได้จัดทำโครงการไว้ 10 โครงการ เพื่อจัดสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ เขื่อนกิ่วคอหมา อำเภอแจ้ห่ม จะดำเนินการในปี 2547 — 2553 ความจุขนาด 170 ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณ 3,670 ล้านบาท (ได้รับงบประมาณแล้ว) และโครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่พริก อำเภอแม่พริก ได้ศึกษาออกแบบไว้แล้ว อยู่ระหว่างรองบประมาณและการอนุญาตใช้พื้นที่ป่า มีขนาดความจุ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณ 502 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการขุดลอกพัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงถนนที่จังหวัดขอรับการสนับสนุนอีกจำนวน 33 โครงการ งบประมาณ 100 ล้านบาทเศษ
- จังหวัดลำพูน ในปี 2548 มีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 85 หมู่บ้าน ใน 14 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 20,000 กว่าคน พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเล็กน้อย การแก้ไขปัญหาระยะสั้นได้มีการแจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรกรรม ประมาณ 250,000 กว่าลิตร น้ำอุปโภคบริโภคประมาณ 1,900,000 ลิตร รวมทั้งเป่าล้างบ่อบาดาล งบประมาณฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นเงินประมาณ 820,000 บาทเศษ สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวในช่วงเร่งด่วน จังหวัดลำพูนได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 22 โครงการ เป็นเงิน 157 ล้านบาทเศษ สำหรับการดำเนินการในภาพรวมได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากร จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2548 - 2550
สถานการณ์ปัจจุบัน
- จังหวัดลำปาง ขณะนี้ปัญหาภัยแล้งในปี 2548 ได้คลี่คลายลงโดยสรุปปัญหาพื้นที่เกิดภัยแล้งอยู่ในระดับปานกลางมีบางแห่งรุนแรง แต่ได้รับการแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้นในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งนับว่าได้ผล
- จังหวัดลำพูน ขณะนี้ปัญหาภัยแล้งได้ทุเลาลง ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่บางส่วน ซึ่งกระทบกระเทือนพื้นที่เกษตรกรรมแต่จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากจังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดเล็ก
ในส่วนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทได้มีส่วนช่วยสนับสนุนในระดับจังหวัดแล้ว ในเรื่องการใช้รถบรรทุกน้ำเพื่อแจกจ่าย รวมทั้งการใช้เครื่องจักรกลในการขุดลอก เก็บกักและทำนบกั้นน้ำ เป็นต้น
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
โดยที่ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมจะยังคงมีต่อไปหากไม่มีการแก้ไขบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งมีประเด็นและข้อสังเกตที่ได้รับทราบจากจังหวัดลำปางและลำพูนที่สำคัญมี ดังนี้
- จังหวัดลำปาง เนื่องจากสถิติปริมาณน้ำในแต่ละปีมีจำนวนมาก แต่ปัญหาที่จังหวัดพบคือ ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเหมาะสมและไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เพียงพอ จังหวัดจึงได้ทำโครงการขอรับการสนับสนุนโดยเน้นในเรื่องการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อ่างเก็บน้ำแม่พริก อำเภอแม่พริก จะต้องขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าจากป่าไม้มาให้กรมชลประทานใช้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำให้โครงการชะลอตัวไม่มีความก้าวหน้าตามเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ดีนับว่าจังหวัดพบปัญหาที่สำคัญ เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่ได้จัดทำแผนงานในภาพรวม จึงมอบหมายให้จังหวัดดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของจังหวัดลำปาง
- จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดขนาดเล็ก ตัวเลขปัญหาภัยแล้งมีจำนวนไม่สูงแต่มีผลกระทบต่อราษฎรที่ดำเนินอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดได้ดำเนินการประสานความคิดจากผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนของจังหวัดและจัดทำแผน แม่บทเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จังหวัดลำพูน (พ.ศ. 2548 — 2550) แล้วเสร็จ ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่แต่ละจังหวัดน่าจะได้ดำเนินการจัดทำแผนและเสนอแนวทางในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจังหวัดของตนขึ้น สำหรับแผน แม่บทของจังหวัดลำพูนได้ยึดแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการในลักษณะเป็นลุ่มน้ำ ๆ ไป แต่จากการรับทราบปัญหาจังหวัดลำพูนยังมีส่วนที่ต้องอาศัยการผันน้ำจากจังหวัดเชียงใหม่มาช่วย เช่น โครงการผันน้ำจากเขื่อนแม่งัดมาแม่กวง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อแต่ละจังหวัดจัดทำแผนแม่บทเพื่อเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนาในระดับจังหวัดแล้วจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาดำเนินการพัฒนาบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของประเทศต่อไปด้วย ในเรื่องนี้ได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 2 จังหวัด รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขบริหารและจัดการน้ำทั้งระบบและถือเป็นโอกาสดีที่เป็นรัฐบาลพรรคเดียว ซึ่งการดำเนินงานของกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็ว ดังนั้น แผนงานและโครงการของจังหวัดในส่วนที่เข้ากับแผนแม่บทใหญ่ก็จะได้รับการพิจารณาสนับสนุนให้ดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป สำหรับรัฐมนตรีแต่ละท่านที่ได้รับมอบให้ดูแลจังหวัดนั้น ๆ จะได้ติดตามและช่วยประสานแก้ไขปัญหา และให้การสนับสนุนในฐานะภาพรวมของรัฐบาลมิใช่ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงนั้น ๆ โดยจะได้ติดตามและประสานกับจังหวัดเป็นระยะ ๆ ต่อไป สำหรับข้อมูลรายละเอียดแผนงาน/โครงการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงใดจักได้นำแจ้งกระทรวงนั้น ๆ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--