คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการรวมกิจการระหว่างบริษัทข้อมูลเครดิตไทย จำกัด กับบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ส่วนที่เกี่ยวกับการขายหุ้นบริษัทข้อมูลเครดิตไทย จำกัด (TCB) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งที่ 624/2547 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2547 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นบริษัทข้อมูลเครดิตไทย จำกัด ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการและราคาหุ้นบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด (TCB) ที่ ธอส. จะจำหน่ายโดยนำผลการตรวจสอบฐานะทางการเงิน (due diligence) ที่ดำเนินการโดยสำนักงาน เอ.เอ็ม.ที. แอสโซซิเอท ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมาประกอบการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นด้วยกับแนวทางการรวมกิจการด้วยการจำหน่ายกิจการ TCB ให้บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด (CCIS) ในราคา 78,544,503.42 บาท ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งสองเห็นว่า เป็นรูปแบบการรวมกิจการที่เหมาะสมและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
2. การจัดสรรหุ้นของ CCIS ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ
ภายหลังจากที่ CCIS ได้ลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่แล้ว CCIS ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 127,500,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน (ภายหลังการเพิ่มทุน) โดยได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนส่วนนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ TCB (ธอส. และPPC) ร้อยละ 30 และหน่วยงานอื่นที่กระทรวงการคลังเห็นสมควรอีกร้อยละ 21 ประกอบด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และบริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงทุนร้อยละ 9 ร้อยละ 6 และร้อยละ 6 ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ TCB และ กลุ่มที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ (กลุ่มกระทรวงการคลัง) ได้มอบฉันทะการให้เข้าร่วมประชุมและออกเสียงหรือลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง สำหรับโครงสร้างการถือหุ้น CCIS ภายหลังการเพิ่มทุนเป็น ดังนี้
สัดส่วนการถือหุ้น จำนวนหุ้น จำนวนเงิน (บาท)
1. กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ CCIS 49% 12,250,000 122,500,000
1.1 ธนาคารพาณิชย์ไทย 12 แห่ง 24.50% 6,125,000 61,250,000
1.2 Trans Union 12.25% 3,062,500 30,625,000
1.3 Business on Line 12.25% 3,062,500 30,625,000
2. กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ TCB 30% 7,500,000 75,000,000
2.1 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 15% 3,750,000 37,500,000
2.2 บริษัท พีซีซี แคปปิตอล จำกัด 15% 3,750,000 37,500,000
3. กลุ่มกระทรวงการคลัง 21% 5,250,000 52,500,000
3.1 ธนาคารออมสิน 9% 2,250,000 22,500,000
3.2 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ 6% 1,500,000 15,000,000
ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
3.3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 6% 1,500,000 15,000,000
รวม 100% 250,000,000 250,000,000
สถานะปัจจุบันของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
1. การรวมกิจการ TCB และ CCIS ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายและโอนกิจการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 และ CCIS ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau :NCB) ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2548 สำหรับการโอนสินทรัพย์ หนี้สิน และข้อมูลเครดิตทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 และสมาชิกสามารถตรวจสอบข้อมูลที่รวมกันได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป
2. จำนวนสมาชิกและข้อมูล ภายหลังการรวมกิจการส่งผลให้ NCB มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 69 ราย แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ 12 ราย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 ราย บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 9 ราย บริษัทที่ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 17 ราย บริษัทที่ให้บริการเช่าซื้อ 25 ราย บริษัทบริหารสินทรัพย์ 1 ราย และบริษัทประกันภัย 1 ราย และคาดว่าภายในสิ้นปี 2548 จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 80 ราย ในส่วนของจำนวนข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูลแบ่งเป็น (1) ข้อมูลสินเชื่อเพื่อการบริโภค มีลูกค้าประมาณ 9 ล้านบาท รวมประมาณ 20 ล้านบัญชี และ (2) ข้อมูลสินเชื่อเพื่อธุรกิจ มีลูกค้าประมาณ 1 ล้านรายรวมประมาณ 3 ล้านบัญชี
3. โครงสร้างของค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมการให้บริการแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมรายเดือน เดือนละ 50,000 บาท และค่าธรรมเนียมในการสืบค้นข้อมูลในแต่ละครั้งซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ค่าสืบค้นข้อมูลระบบบุคคลธรรมดา (บาท/รายการ) ค่าสืบค้นข้อมูลระบบนิติบุคคล (บาท/รายการ)
พบข้อมูล ไม่พบข้อมูล พบข้อมูล ไม่พบข้อมูล
12 5 100 50
นอกจากนี้ ยังมีอัตราส่วนลดจากการนำส่งข้อมูลและปริมาณการสืบค้นซึ่งมีส่วนลดให้สมาชิกได้สูงสุดถึงร้อยละ 30
ประโยชน์ที่ได้รับจากการรวมกิจการ
1. ในด้านผู้บริโภคและนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองได้สะดวกขึ้นและได้ข้อมูลที่มีความครบถ้วน ทำให้สถาบันการเงินสามารถตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อได้อย่างมั่นใจและรวดเร็ว
2. ในด้านสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอันจะช่วยลดปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพลงได้ นอกจากนี้ ยังสามารถลดภาระในการนำส่งข้อมูลเนื่องจากหมดปัญหาเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนในการส่งข้อมูล ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นลง
3. ในด้านภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ ทำให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำข้อมูลเชิงสถิติที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ช่วยลดปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน อันจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบข้อมูลเครดิตของประเทศสามารถยังประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงการคลังจึงได้ประสานกับ NCB พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเข้ามาใช้บริการให้มากขึ้นเพื่อลดช่องว่างของการรับรู้ข้อมูลระหว่างกันลง (Information asymmetry) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับระบบการเงิน
2. พิจารณาโครงสร้างค่าธรรมเนียมและการให้ผลตอบแทนกับสมาชิกผู้ให้ข้อมูลให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อจูงใจให้มีการส่งข้อมูลเพื่อให้ฐานข้อมูลของ NCB มีความครอบคลุมและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 กรกฎาคม 2548--จบ--
1. ส่วนที่เกี่ยวกับการขายหุ้นบริษัทข้อมูลเครดิตไทย จำกัด (TCB) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งที่ 624/2547 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2547 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นบริษัทข้อมูลเครดิตไทย จำกัด ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการและราคาหุ้นบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด (TCB) ที่ ธอส. จะจำหน่ายโดยนำผลการตรวจสอบฐานะทางการเงิน (due diligence) ที่ดำเนินการโดยสำนักงาน เอ.เอ็ม.ที. แอสโซซิเอท ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมาประกอบการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นด้วยกับแนวทางการรวมกิจการด้วยการจำหน่ายกิจการ TCB ให้บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด (CCIS) ในราคา 78,544,503.42 บาท ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งสองเห็นว่า เป็นรูปแบบการรวมกิจการที่เหมาะสมและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
2. การจัดสรรหุ้นของ CCIS ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ
ภายหลังจากที่ CCIS ได้ลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่แล้ว CCIS ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 127,500,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน (ภายหลังการเพิ่มทุน) โดยได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนส่วนนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ TCB (ธอส. และPPC) ร้อยละ 30 และหน่วยงานอื่นที่กระทรวงการคลังเห็นสมควรอีกร้อยละ 21 ประกอบด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และบริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงทุนร้อยละ 9 ร้อยละ 6 และร้อยละ 6 ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ TCB และ กลุ่มที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ (กลุ่มกระทรวงการคลัง) ได้มอบฉันทะการให้เข้าร่วมประชุมและออกเสียงหรือลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง สำหรับโครงสร้างการถือหุ้น CCIS ภายหลังการเพิ่มทุนเป็น ดังนี้
สัดส่วนการถือหุ้น จำนวนหุ้น จำนวนเงิน (บาท)
1. กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ CCIS 49% 12,250,000 122,500,000
1.1 ธนาคารพาณิชย์ไทย 12 แห่ง 24.50% 6,125,000 61,250,000
1.2 Trans Union 12.25% 3,062,500 30,625,000
1.3 Business on Line 12.25% 3,062,500 30,625,000
2. กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ TCB 30% 7,500,000 75,000,000
2.1 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 15% 3,750,000 37,500,000
2.2 บริษัท พีซีซี แคปปิตอล จำกัด 15% 3,750,000 37,500,000
3. กลุ่มกระทรวงการคลัง 21% 5,250,000 52,500,000
3.1 ธนาคารออมสิน 9% 2,250,000 22,500,000
3.2 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ 6% 1,500,000 15,000,000
ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
3.3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 6% 1,500,000 15,000,000
รวม 100% 250,000,000 250,000,000
สถานะปัจจุบันของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
1. การรวมกิจการ TCB และ CCIS ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายและโอนกิจการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 และ CCIS ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau :NCB) ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2548 สำหรับการโอนสินทรัพย์ หนี้สิน และข้อมูลเครดิตทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 และสมาชิกสามารถตรวจสอบข้อมูลที่รวมกันได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป
2. จำนวนสมาชิกและข้อมูล ภายหลังการรวมกิจการส่งผลให้ NCB มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 69 ราย แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ 12 ราย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 ราย บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 9 ราย บริษัทที่ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 17 ราย บริษัทที่ให้บริการเช่าซื้อ 25 ราย บริษัทบริหารสินทรัพย์ 1 ราย และบริษัทประกันภัย 1 ราย และคาดว่าภายในสิ้นปี 2548 จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 80 ราย ในส่วนของจำนวนข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูลแบ่งเป็น (1) ข้อมูลสินเชื่อเพื่อการบริโภค มีลูกค้าประมาณ 9 ล้านบาท รวมประมาณ 20 ล้านบัญชี และ (2) ข้อมูลสินเชื่อเพื่อธุรกิจ มีลูกค้าประมาณ 1 ล้านรายรวมประมาณ 3 ล้านบัญชี
3. โครงสร้างของค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมการให้บริการแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมรายเดือน เดือนละ 50,000 บาท และค่าธรรมเนียมในการสืบค้นข้อมูลในแต่ละครั้งซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ค่าสืบค้นข้อมูลระบบบุคคลธรรมดา (บาท/รายการ) ค่าสืบค้นข้อมูลระบบนิติบุคคล (บาท/รายการ)
พบข้อมูล ไม่พบข้อมูล พบข้อมูล ไม่พบข้อมูล
12 5 100 50
นอกจากนี้ ยังมีอัตราส่วนลดจากการนำส่งข้อมูลและปริมาณการสืบค้นซึ่งมีส่วนลดให้สมาชิกได้สูงสุดถึงร้อยละ 30
ประโยชน์ที่ได้รับจากการรวมกิจการ
1. ในด้านผู้บริโภคและนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองได้สะดวกขึ้นและได้ข้อมูลที่มีความครบถ้วน ทำให้สถาบันการเงินสามารถตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อได้อย่างมั่นใจและรวดเร็ว
2. ในด้านสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอันจะช่วยลดปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพลงได้ นอกจากนี้ ยังสามารถลดภาระในการนำส่งข้อมูลเนื่องจากหมดปัญหาเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนในการส่งข้อมูล ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นลง
3. ในด้านภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ ทำให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำข้อมูลเชิงสถิติที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ช่วยลดปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน อันจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบข้อมูลเครดิตของประเทศสามารถยังประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงการคลังจึงได้ประสานกับ NCB พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเข้ามาใช้บริการให้มากขึ้นเพื่อลดช่องว่างของการรับรู้ข้อมูลระหว่างกันลง (Information asymmetry) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับระบบการเงิน
2. พิจารณาโครงสร้างค่าธรรมเนียมและการให้ผลตอบแทนกับสมาชิกผู้ให้ข้อมูลให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อจูงใจให้มีการส่งข้อมูลเพื่อให้ฐานข้อมูลของ NCB มีความครอบคลุมและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 กรกฎาคม 2548--จบ--