คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พ.ศ. ... ตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงแรงงานรายงานว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบัน กับทั้งไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเท่าที่ควร และกฎกระทรวง ดังกล่าวเป็นกฎหมายที่สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนากฎหมายของสำนักงานประกันสังคม ปี 2548 ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 จึงสมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการของกฎกระทรวงที่ใช้บังคับในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคมเพิ่มขึ้น จึงได้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พ.ศ. .... และยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พ.ศ. ... เพื่อกำหนดโรคเรื้อรังตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ขึ้นใหม่ เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนและการขาดรายได้ให้เหมาะสม โดยมีสาระสำคัญดังนี้ กำหนดโรคเรื้อรังตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้
1. โรคมะเร็ง
2. โรคไตวายเรื้อรัง
3. โรคเอดส์
4. โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง หรือเส้นเลือดสมองและเป็นเหตุให้อัมพาต
5. โรคหรือการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง เป็นเหตุให้อัมพาต
6. ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อนอันได้แก่ กระดูกหักที่มีการติดเชื้อ (Chgronic Osteomyelitis) หรือกระดูกติดช้า (Delayed union) หรือกระดูกไม่ติด (Nonunion) หรือกระดูกติดผิดปกติ (Malunion) หรือเหล็กดามกระดูกหัก (Broken Plate)
7. โรคอื่น ๆ หรือการเจ็บป่วยที่รักษาตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ทั้งนี้ โดยการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงแรงงานรายงานว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบัน กับทั้งไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเท่าที่ควร และกฎกระทรวง ดังกล่าวเป็นกฎหมายที่สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนากฎหมายของสำนักงานประกันสังคม ปี 2548 ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 จึงสมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการของกฎกระทรวงที่ใช้บังคับในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคมเพิ่มขึ้น จึงได้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พ.ศ. .... และยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พ.ศ. ... เพื่อกำหนดโรคเรื้อรังตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ขึ้นใหม่ เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนและการขาดรายได้ให้เหมาะสม โดยมีสาระสำคัญดังนี้ กำหนดโรคเรื้อรังตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้
1. โรคมะเร็ง
2. โรคไตวายเรื้อรัง
3. โรคเอดส์
4. โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง หรือเส้นเลือดสมองและเป็นเหตุให้อัมพาต
5. โรคหรือการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง เป็นเหตุให้อัมพาต
6. ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อนอันได้แก่ กระดูกหักที่มีการติดเชื้อ (Chgronic Osteomyelitis) หรือกระดูกติดช้า (Delayed union) หรือกระดูกไม่ติด (Nonunion) หรือกระดูกติดผิดปกติ (Malunion) หรือเหล็กดามกระดูกหัก (Broken Plate)
7. โรคอื่น ๆ หรือการเจ็บป่วยที่รักษาตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ทั้งนี้ โดยการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--