คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการศึกษาโลกาภิวัตน์การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการคลังได้ทำการศึกษา และหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษามี หัวข้อสำคัญดังนี้
1. สถานการณ์และแนวโน้มการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ ซึ่งคาดว่าในอนาคตไม่เกิน 10—15 ปีข้างหน้า ทุนระหว่างประเทศจะก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ และคาดว่าบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนโลกจะลดลง และจำกัดบทบาทลงเฉพาะประเทศที่ยากจนเท่านั้น อีกทั้งยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการเคลื่อนย้ายทุนเอกชน กล่าวคือ ตลาดทุนจะมีบทบาทมากขึ้น ทดแทนบทบาทของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในส่วนที่มีความเสี่ยงเกินกว่าที่สถาบันการเงินจะรับได้ และธุรกิจการเงินประเภท Non-Bank เช่นด้านสินเชื่อบุคคล Factoring และเช่าซื้อ จะมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างตลาดทุน และ Non-Bank เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. แนวทางการปรับตัวของประเทศไทย
2.1 แนวรับเพื่อการวางกลไกบริหารในประเทศให้พร้อมรักษาเสถียรภาพในระยะสั้น ได้แก่ 1) ดุลบัญชีเดินสะพัดสมดุลในระยะยาว หากขาดดุลในช่วงการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega projects) การขาดดุลสูงสุดไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 2) เงินสำรองระหว่างประเทศ มากกว่า 3.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ (Credit rating) ไม่ลด และเพิ่ม 2 อันดับ และ 4) ดุลการคลังสมดุล โดยมีแนวนโยบาย และมาตรการที่สำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมาย
2.2 แนวรุกเพื่อสร้างกลไกดึงประโยชน์จากการขยายตัวของทุนโลก โดยมีแนวยุทธศาสตร์เพื่อดึงประโยชน์จากทุนระยะยาว ดังนี้ 1) การดึงเงินทุนระยะยาวโดยเฉพาะเงินทุนจากเอเชีย 2) การเพิ่มบทบาททุนไทยตาม การค้าการลงทุนของไทยไปต่างประเทศ 3) การปรับปรุงกลไกตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ 4) การสร้างกลไกดึงประโยชน์จากทุนสู่ฐานรากเศรษฐกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. สถานการณ์และแนวโน้มการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ ซึ่งคาดว่าในอนาคตไม่เกิน 10—15 ปีข้างหน้า ทุนระหว่างประเทศจะก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ และคาดว่าบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนโลกจะลดลง และจำกัดบทบาทลงเฉพาะประเทศที่ยากจนเท่านั้น อีกทั้งยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการเคลื่อนย้ายทุนเอกชน กล่าวคือ ตลาดทุนจะมีบทบาทมากขึ้น ทดแทนบทบาทของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในส่วนที่มีความเสี่ยงเกินกว่าที่สถาบันการเงินจะรับได้ และธุรกิจการเงินประเภท Non-Bank เช่นด้านสินเชื่อบุคคล Factoring และเช่าซื้อ จะมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างตลาดทุน และ Non-Bank เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. แนวทางการปรับตัวของประเทศไทย
2.1 แนวรับเพื่อการวางกลไกบริหารในประเทศให้พร้อมรักษาเสถียรภาพในระยะสั้น ได้แก่ 1) ดุลบัญชีเดินสะพัดสมดุลในระยะยาว หากขาดดุลในช่วงการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega projects) การขาดดุลสูงสุดไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 2) เงินสำรองระหว่างประเทศ มากกว่า 3.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ (Credit rating) ไม่ลด และเพิ่ม 2 อันดับ และ 4) ดุลการคลังสมดุล โดยมีแนวนโยบาย และมาตรการที่สำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมาย
2.2 แนวรุกเพื่อสร้างกลไกดึงประโยชน์จากการขยายตัวของทุนโลก โดยมีแนวยุทธศาสตร์เพื่อดึงประโยชน์จากทุนระยะยาว ดังนี้ 1) การดึงเงินทุนระยะยาวโดยเฉพาะเงินทุนจากเอเชีย 2) การเพิ่มบทบาททุนไทยตาม การค้าการลงทุนของไทยไปต่างประเทศ 3) การปรับปรุงกลไกตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ 4) การสร้างกลไกดึงประโยชน์จากทุนสู่ฐานรากเศรษฐกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--