คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับมอบหมายให้ติดตามดูแลการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้เดินทางไปตรวจพื้นที่จริงกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2548 สรุปได้ดังนี้
จังหวัดร้อยเอ็ด
สถานการณ์ภัยแล้ง
ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2547 เป็นต้นมา ฝนเริ่มทิ้งช่วง ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งในเขตเมืองและชนบทในอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 อำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ ได้เริ่มประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) ครอบคลุมทั้งจังหวัดเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2547 โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 17 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 182 ตำบล 1,851 หมู่บ้าน เกษตรกรได้รับผล กระทบ จำนวน 82,230 ราย พื้นที่นาข้าวที่ได้รับผลกระทบ 542,151 ไร่ และมีพื้นที่นาข้าวที่เสียหาย จำนวน 334,692 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย จำนวน 611,147,592 บาท
การดำเนินการแก้ไขปัญหา การดำเนินการในระยะสั้น (การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน) ให้จังหวัดร้อยเอ็ดดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ดังนี้
- ระดมเครื่องสูบน้ำจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 15,673 เครื่อง ประกอบด้วย จากโครงการชลประทานร้อยเอ็ด จำนวน 57 เครื่อง องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 25 เครื่อง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด จำนวน 2 เครื่อง และจากความร่วมมือของประชาชน จำนวน 15,589 เครื่อง ทำการสูบน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ เข้าพื้นที่ทางการเกษตร ในการนี้ ได้ใช้งบประมาณ จัดซื้อน้ำมัน เชื้อเพลิง จากเงินทดรองราชการของอำเภอและกิ่งอำเภอ จำนวน 2,019,842 บาท และจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ จำนวน 4,822,530 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,842,372 บาท จากการดำเนินการดังกล่าว สามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรมิให้เสียหาย จำนวน 207,459 ไร่
- การแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้ระดมรถบรรทุกน้ำจากส่วนราชการต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอ / กิ่งอำเภอ จำนวน 23 คัน จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด จำนวน 7 คัน สำนักงานบำรุงทางจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 5 คน สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 5 คัน และจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จำนวน 2 คัน รวมทั้งสิ้น 42 คัน ทำการแจกจ่ายน้ำให้แก่ราษฎร ตั้งแต่เริ่มประสบภัยแล้งจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2548 จำนวน 3,437 เที่ยวแจกจ่ายน้ำได้รวม 33,125,000 ลิตร ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้งในอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ รวม 48,901 ครัวเรือ 192,581 คน โดยใช้งบประมาณจากงบทดรองฉุกเฉินของอำเภอและกิ่งอำเภอ จำนวน 8,516,897 บาท และงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12,050,279 บาท รวมทั้งสิ้น 20,567,176 บาท
- เป่าล้างและพัฒนาบ่อบาดาล จำนวน 1,039 บ่อ งบประมาณ 4,779,400 บาท
- ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค 7 จังหวัดอุบลราชธานี ได้สำรวจและเจาะบ่อบาดาล จำนวน 100 บ่อ ซ่อมเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก จำนวน 124 บ่อ เป่าล้างและพัฒนาบ่อบาดาล จำนวน 595 บ่อ จุดจ่ายน้ำ 25 แห่ง
- การส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2547 — 2548 เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่มีผลิตผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง ให้มีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง โดยจังหวัดได้ทำการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ดังนี้
(1) ข้าวนาปรัง จำนวน 136,779 ไร่
(1.1) ในเขตชลประทาน จำนวน 96,481 ไร่
- พื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่ง 1,735 ไร่
- พื้นที่โครงการฝายวังยาง 6,077 ไร่
- พื้นที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 83 สถานี 60,902 ไร่
- พื้นที่ดำเนินการโดยเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 27,767 ไร่
(1.2) นาปรังที่จังหวัดเข้าไปส่งเสริมให้ขยายผลต่อจากแหล่งน้ำที่มีปริมาณเพียงพอ
16,988 ไร่
(1.3) นาปรังพื้นที่อื่น จำนวน 23,310 ไร่
(1.4) พืชไร่ จำนวน 24,788 ไร่
(2) ผลผลิตในฤดูแล้ง ปี 2548
(2.1) ข้าวนาปรัง ประมาณ 6,838,950 ถัง (พื้นที่เก็บเกี่ยว 136,779 ไร่ เฉลี่ย 50 ถัง/ไร่) มูลค่าประมาณ 341,947,500 บาท
การแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้จังหวัดร้อยเอ็ดวางแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไข ปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
แผนงาน/โครงการที่เสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในคราวมาตรวจราชการที่จังหวัด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญดังนี้
- โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตอำเภอเสลภูมิ รวม 8 กิจกรรม วงเงิน 91.5 ล้านบาท โครงการนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการให้จังหวัดแล้ว และจังหวัดได้ทำการประกวด ราคาได้ตัวผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้สำนักงบประมาณยังไม่ได้โอนเงินมาให้จังหวัด
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอพนมไพร งบประมาณ 90 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างพนังกั้นน้ำชี วงเงิน 50 ล้านบาท, งานขุดลอกกุดเซียมและกุดหล่ม วงเงิน 40 ล้านบาท เสนอโดย ส.ส.นิสิต สินธุไพร อยู่ระหว่างทำการสำรวจออกแบบ
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอจตุรพักตรพิมานและอำเภอศรีสมเด็จ งบประมาณ 60 ล้านบาท ประกอบด้วย งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแดง วงเงิน 20 ล้านบาท งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแคน วงเงิน 20 ล้านบาท งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง วงเงิน 20 ล้านบาท อยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบ นอกจากนี้ จังหวัดยังได้บรรจุแผนงาน / โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด ประจำปี 2549 จำนวน 74 โครงการ วงเงิน 381 ล้านบาท
ประเด็นความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด ขอให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- โครงการที่ได้รับอนุมัติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 และได้ดำเนินการประกวดราคาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 8 กิจกรรม วงเงิน 91 ล้านบาทเศษ
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอพนมไพร งบประมาณรวม 90 ล้านบาท ประกอบด้วยงาน ก่อสร้างพนังกั้นลำน้ำชีและงานขุดลอกกุดเซียมและกุดหล่ม
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอจตุรพักตรพิมาน และอำเภอศรีสมเด็จ งบประมาณ รวม 60 ล้านบาท ประกอบด้วย งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแดง งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแคน และงานขุดลอก อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง แห่งละ 20 ล้านบาท
- โครงการที่บรรจุในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ปี 2549 จำนวน 74 โครงการ วงเงิน 381 ล้านบาท
จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นศูนย์กลางของภาคอีสาน แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 133 ตำบล 1,934 หมู่บ้าน 217,272 ครัวเรือน ประชากร 944,098 คน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3.31 ล้านไร่
สถานการณ์ภัยแล้ง เดือนกันยายน 2547 เป็นต้นมา ฝนเริ่มตกน้อยลง จนถึงกลางเดือนมีนาคม 2548 ยังไม่มีฝนตกลงมาแต่อย่างใด โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (กันยายน 2547 — มีนาคม 2548) มีปริมาณฝนตกเพียง 147.33 มม. ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณฝนตกถึง 435.36 มม. แต่ในเดือนเมษายน 2548 มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม รวมปริมาณเฉลี่ย 41.31 มม.
พื้นที่การเกษตรเสียหาย จำนวน 527.990 ไร่ แยกเป็น
- พื้นที่ทำนา 527,990 ไร่
- พื้นที่ทำสวน 12 ไร่
- พื้นที่ทำไร่ 1,372 ไร่
เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 85,732 ครัวเรือน
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 17 แห่ง ความจุของน้ำเฉลี่ยประมาณ 18.07% ของความจุทั้งหมด (77.336 ล้าน ลบ.ม.) ข้อมูล ณ วันที่ 19 เมษายน 2548
จังหวัดมหาสารคามได้ประสบปัญหาภัยแล้งทั่วทั้งจังหวัด (พื้นที่ 11 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ) มีอำเภอที่ประสบภัยแล้งมากที่สุด ได้แก่ อำเภอบรบือ อำเภอวาปีปทุม อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอนาเชือก และกิ่ง อ.กุดรัง ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น จำนวน 125 ตำบล 1,793 หมู่บ้าน 175,261 ครัวเรือน 776,309 คน โดยแยกเป็น
- หมู่บ้านแล้ง 1,427 หมู่บ้าน 142,208 ครัวเรือน 622,347 คน
- หมู่บ้านแล้งรุนแรง 366 หมู่บ้าน 33,053 ครัวเรือน 153,962 คน
มาตรการให้ความช่วยเหลือ
การดำเนินการ
1. จังหวัดได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบภัยฉุกเฉินครอบคลุมทั้งจังหวัด ตั้งแต่ วันที่ 5 ตุลาคม 2547 เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยพิบัติ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 ต่อไป
2. ประสานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการทำฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งในช่วงแรก ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2547 แต่เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์น้อย จึงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในเดือน เมษายน 2548 การทำฝนเทียมได้ผลสำเร็จมีฝนตกในหลายพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม
3. จัดทำแผนเฉพาะกิจเตรียมการและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการดำเนินการเป็น 3 ด้าน คือ
- ด้านเพื่อการอุปโภคบริโภค
- ด้านน้ำเพื่อการเกษตร
- ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและความเป็นอยู่ของประชาชน
4. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งระดับจังหวัด โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 8 ฝ่าย ดังนี้
- ฝ่ายอำนวยการ
- ฝ่ายประชาสัมพันธ์
- ฝ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
- ฝ่ายน้ำเพื่อการเกษตร
- ฝ่ายรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ฝ่ายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร
- ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
- ฝ่ายติดตามประเมินผล
5. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้กักเก็บน้ำและใช้น้ำอย่างประหยัด
6. ประชุมซักซ้อมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือภัยแล้ง ให้ดำเนินโดยด่วน โดยเฉพาะการขุดลอกแหล่งน้ำให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จทันฤดูฝนที่จะถึงนี้
8. สำรวจวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยมี
- รถบรรทุกน้ำเพื่อใช้ในการแจกจ่ายน้ำ 52 คัน สำรองอีก 16 คัน
- เครื่องสูบน้ำของทางราชการและเอกชน จำนวน 1,743 เครื่อง โดยเป็นเครื่องสูบน้ำ ขนาด 6” — 8” จำนวน 28 เครื่อง
9. สำรวจภาชนะกักเก็บน้ำ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล ถังเก็บน้ำประจำหมู่บ้าน หากมีการชำรุดให้ดำเนินการซ่อมแซมต่อไป นอกจากนั้นจังหวัดได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือด้านการเกษตร ด้านน้ำอุปโภค บริโภค ด้านสาธารณสุข และด้านการฝึกอาชีพแก่ประชาชน รวมตลอดถึงด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ประเด็นความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลในส่วนจังหวัดมหาสารคาม
- โครงการถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ จ้างแรงงานราษฎร 97,097 คน 195 โครงการ งบประมาณ 54,666,811 บาท (ยังไม่ได้รับงบประมาณ) ทั้งนี้ จังหวัดได้จัดลำดับโครงการตามสถานการณ์ความรุนแรงเสียหาย โดยมีโครงการที่จะต้องเร่งดำเนินการ จำนวน 56 โครงการ งบประมาณ 14,790,706.24 บาท (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ)
- จังหวัดขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดังนี้
โครงการก่อสร้างฝาย จำนวน 21 โครงการ เป็นเงิน 11,852,000 บาท โครงการขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 18 โครงการ เป็นเงิน 6,191,198 บาท โครงการขุดเจาะบ่อบาดาล 36 บ่อ จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 2,520,000 บาท
โครงการจัดซื้อถังไฟเบอร์กลาส 2,805 ถัง จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 28,050,000 บาท รวมทั้งสิ้น 41 โครงการ เป็นเงิน 48,613,198 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
จังหวัดร้อยเอ็ด
สถานการณ์ภัยแล้ง
ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2547 เป็นต้นมา ฝนเริ่มทิ้งช่วง ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งในเขตเมืองและชนบทในอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 อำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ ได้เริ่มประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) ครอบคลุมทั้งจังหวัดเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2547 โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 17 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 182 ตำบล 1,851 หมู่บ้าน เกษตรกรได้รับผล กระทบ จำนวน 82,230 ราย พื้นที่นาข้าวที่ได้รับผลกระทบ 542,151 ไร่ และมีพื้นที่นาข้าวที่เสียหาย จำนวน 334,692 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย จำนวน 611,147,592 บาท
การดำเนินการแก้ไขปัญหา การดำเนินการในระยะสั้น (การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน) ให้จังหวัดร้อยเอ็ดดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ดังนี้
- ระดมเครื่องสูบน้ำจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 15,673 เครื่อง ประกอบด้วย จากโครงการชลประทานร้อยเอ็ด จำนวน 57 เครื่อง องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 25 เครื่อง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด จำนวน 2 เครื่อง และจากความร่วมมือของประชาชน จำนวน 15,589 เครื่อง ทำการสูบน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ เข้าพื้นที่ทางการเกษตร ในการนี้ ได้ใช้งบประมาณ จัดซื้อน้ำมัน เชื้อเพลิง จากเงินทดรองราชการของอำเภอและกิ่งอำเภอ จำนวน 2,019,842 บาท และจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ จำนวน 4,822,530 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,842,372 บาท จากการดำเนินการดังกล่าว สามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรมิให้เสียหาย จำนวน 207,459 ไร่
- การแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้ระดมรถบรรทุกน้ำจากส่วนราชการต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอ / กิ่งอำเภอ จำนวน 23 คัน จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด จำนวน 7 คัน สำนักงานบำรุงทางจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 5 คน สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 5 คัน และจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จำนวน 2 คัน รวมทั้งสิ้น 42 คัน ทำการแจกจ่ายน้ำให้แก่ราษฎร ตั้งแต่เริ่มประสบภัยแล้งจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2548 จำนวน 3,437 เที่ยวแจกจ่ายน้ำได้รวม 33,125,000 ลิตร ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้งในอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ รวม 48,901 ครัวเรือ 192,581 คน โดยใช้งบประมาณจากงบทดรองฉุกเฉินของอำเภอและกิ่งอำเภอ จำนวน 8,516,897 บาท และงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12,050,279 บาท รวมทั้งสิ้น 20,567,176 บาท
- เป่าล้างและพัฒนาบ่อบาดาล จำนวน 1,039 บ่อ งบประมาณ 4,779,400 บาท
- ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค 7 จังหวัดอุบลราชธานี ได้สำรวจและเจาะบ่อบาดาล จำนวน 100 บ่อ ซ่อมเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก จำนวน 124 บ่อ เป่าล้างและพัฒนาบ่อบาดาล จำนวน 595 บ่อ จุดจ่ายน้ำ 25 แห่ง
- การส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2547 — 2548 เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่มีผลิตผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง ให้มีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง โดยจังหวัดได้ทำการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ดังนี้
(1) ข้าวนาปรัง จำนวน 136,779 ไร่
(1.1) ในเขตชลประทาน จำนวน 96,481 ไร่
- พื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่ง 1,735 ไร่
- พื้นที่โครงการฝายวังยาง 6,077 ไร่
- พื้นที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 83 สถานี 60,902 ไร่
- พื้นที่ดำเนินการโดยเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 27,767 ไร่
(1.2) นาปรังที่จังหวัดเข้าไปส่งเสริมให้ขยายผลต่อจากแหล่งน้ำที่มีปริมาณเพียงพอ
16,988 ไร่
(1.3) นาปรังพื้นที่อื่น จำนวน 23,310 ไร่
(1.4) พืชไร่ จำนวน 24,788 ไร่
(2) ผลผลิตในฤดูแล้ง ปี 2548
(2.1) ข้าวนาปรัง ประมาณ 6,838,950 ถัง (พื้นที่เก็บเกี่ยว 136,779 ไร่ เฉลี่ย 50 ถัง/ไร่) มูลค่าประมาณ 341,947,500 บาท
การแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้จังหวัดร้อยเอ็ดวางแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไข ปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
แผนงาน/โครงการที่เสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในคราวมาตรวจราชการที่จังหวัด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญดังนี้
- โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตอำเภอเสลภูมิ รวม 8 กิจกรรม วงเงิน 91.5 ล้านบาท โครงการนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการให้จังหวัดแล้ว และจังหวัดได้ทำการประกวด ราคาได้ตัวผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้สำนักงบประมาณยังไม่ได้โอนเงินมาให้จังหวัด
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอพนมไพร งบประมาณ 90 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างพนังกั้นน้ำชี วงเงิน 50 ล้านบาท, งานขุดลอกกุดเซียมและกุดหล่ม วงเงิน 40 ล้านบาท เสนอโดย ส.ส.นิสิต สินธุไพร อยู่ระหว่างทำการสำรวจออกแบบ
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอจตุรพักตรพิมานและอำเภอศรีสมเด็จ งบประมาณ 60 ล้านบาท ประกอบด้วย งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแดง วงเงิน 20 ล้านบาท งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแคน วงเงิน 20 ล้านบาท งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง วงเงิน 20 ล้านบาท อยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบ นอกจากนี้ จังหวัดยังได้บรรจุแผนงาน / โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด ประจำปี 2549 จำนวน 74 โครงการ วงเงิน 381 ล้านบาท
ประเด็นความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด ขอให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- โครงการที่ได้รับอนุมัติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 และได้ดำเนินการประกวดราคาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 8 กิจกรรม วงเงิน 91 ล้านบาทเศษ
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอพนมไพร งบประมาณรวม 90 ล้านบาท ประกอบด้วยงาน ก่อสร้างพนังกั้นลำน้ำชีและงานขุดลอกกุดเซียมและกุดหล่ม
- โครงการในเขตพื้นที่อำเภอจตุรพักตรพิมาน และอำเภอศรีสมเด็จ งบประมาณ รวม 60 ล้านบาท ประกอบด้วย งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแดง งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำกุดแคน และงานขุดลอก อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง แห่งละ 20 ล้านบาท
- โครงการที่บรรจุในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ปี 2549 จำนวน 74 โครงการ วงเงิน 381 ล้านบาท
จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นศูนย์กลางของภาคอีสาน แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 133 ตำบล 1,934 หมู่บ้าน 217,272 ครัวเรือน ประชากร 944,098 คน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3.31 ล้านไร่
สถานการณ์ภัยแล้ง เดือนกันยายน 2547 เป็นต้นมา ฝนเริ่มตกน้อยลง จนถึงกลางเดือนมีนาคม 2548 ยังไม่มีฝนตกลงมาแต่อย่างใด โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว (กันยายน 2547 — มีนาคม 2548) มีปริมาณฝนตกเพียง 147.33 มม. ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณฝนตกถึง 435.36 มม. แต่ในเดือนเมษายน 2548 มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม รวมปริมาณเฉลี่ย 41.31 มม.
พื้นที่การเกษตรเสียหาย จำนวน 527.990 ไร่ แยกเป็น
- พื้นที่ทำนา 527,990 ไร่
- พื้นที่ทำสวน 12 ไร่
- พื้นที่ทำไร่ 1,372 ไร่
เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 85,732 ครัวเรือน
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 17 แห่ง ความจุของน้ำเฉลี่ยประมาณ 18.07% ของความจุทั้งหมด (77.336 ล้าน ลบ.ม.) ข้อมูล ณ วันที่ 19 เมษายน 2548
จังหวัดมหาสารคามได้ประสบปัญหาภัยแล้งทั่วทั้งจังหวัด (พื้นที่ 11 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ) มีอำเภอที่ประสบภัยแล้งมากที่สุด ได้แก่ อำเภอบรบือ อำเภอวาปีปทุม อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอนาเชือก และกิ่ง อ.กุดรัง ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น จำนวน 125 ตำบล 1,793 หมู่บ้าน 175,261 ครัวเรือน 776,309 คน โดยแยกเป็น
- หมู่บ้านแล้ง 1,427 หมู่บ้าน 142,208 ครัวเรือน 622,347 คน
- หมู่บ้านแล้งรุนแรง 366 หมู่บ้าน 33,053 ครัวเรือน 153,962 คน
มาตรการให้ความช่วยเหลือ
การดำเนินการ
1. จังหวัดได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบภัยฉุกเฉินครอบคลุมทั้งจังหวัด ตั้งแต่ วันที่ 5 ตุลาคม 2547 เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยพิบัติ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 ต่อไป
2. ประสานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการทำฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งในช่วงแรก ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2547 แต่เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์น้อย จึงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในเดือน เมษายน 2548 การทำฝนเทียมได้ผลสำเร็จมีฝนตกในหลายพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม
3. จัดทำแผนเฉพาะกิจเตรียมการและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการดำเนินการเป็น 3 ด้าน คือ
- ด้านเพื่อการอุปโภคบริโภค
- ด้านน้ำเพื่อการเกษตร
- ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและความเป็นอยู่ของประชาชน
4. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งระดับจังหวัด โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 8 ฝ่าย ดังนี้
- ฝ่ายอำนวยการ
- ฝ่ายประชาสัมพันธ์
- ฝ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
- ฝ่ายน้ำเพื่อการเกษตร
- ฝ่ายรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ฝ่ายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร
- ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
- ฝ่ายติดตามประเมินผล
5. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้กักเก็บน้ำและใช้น้ำอย่างประหยัด
6. ประชุมซักซ้อมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือภัยแล้ง ให้ดำเนินโดยด่วน โดยเฉพาะการขุดลอกแหล่งน้ำให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จทันฤดูฝนที่จะถึงนี้
8. สำรวจวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยมี
- รถบรรทุกน้ำเพื่อใช้ในการแจกจ่ายน้ำ 52 คัน สำรองอีก 16 คัน
- เครื่องสูบน้ำของทางราชการและเอกชน จำนวน 1,743 เครื่อง โดยเป็นเครื่องสูบน้ำ ขนาด 6” — 8” จำนวน 28 เครื่อง
9. สำรวจภาชนะกักเก็บน้ำ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล ถังเก็บน้ำประจำหมู่บ้าน หากมีการชำรุดให้ดำเนินการซ่อมแซมต่อไป นอกจากนั้นจังหวัดได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือด้านการเกษตร ด้านน้ำอุปโภค บริโภค ด้านสาธารณสุข และด้านการฝึกอาชีพแก่ประชาชน รวมตลอดถึงด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ประเด็นความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลในส่วนจังหวัดมหาสารคาม
- โครงการถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ จ้างแรงงานราษฎร 97,097 คน 195 โครงการ งบประมาณ 54,666,811 บาท (ยังไม่ได้รับงบประมาณ) ทั้งนี้ จังหวัดได้จัดลำดับโครงการตามสถานการณ์ความรุนแรงเสียหาย โดยมีโครงการที่จะต้องเร่งดำเนินการ จำนวน 56 โครงการ งบประมาณ 14,790,706.24 บาท (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ)
- จังหวัดขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดังนี้
โครงการก่อสร้างฝาย จำนวน 21 โครงการ เป็นเงิน 11,852,000 บาท โครงการขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 18 โครงการ เป็นเงิน 6,191,198 บาท โครงการขุดเจาะบ่อบาดาล 36 บ่อ จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 2,520,000 บาท
โครงการจัดซื้อถังไฟเบอร์กลาส 2,805 ถัง จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 28,050,000 บาท รวมทั้งสิ้น 41 โครงการ เป็นเงิน 48,613,198 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--