คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E 85 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ E 85 ที่มีลักษณะและเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E 85 และไม่มีผลิตในประเทศเป็นการชั่วคราว 3 ปี (นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้)
2. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E 85 ลงเหลือร้อยละ 25 30 และ 35 ตามขนาดเครื่องยนต์ เท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E 20 ในปัจจุบัน
3. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตรจาก 3.6850 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดตามค่าประสิทธิภาพความร้อน หรือร้อยละ 70 ของอัตราภาษีสรรพสามิต น้ำมันเบนซิน 95 เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
ข้อเท็จจริง
ผลการประชุมของกระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมควบคุมมลพิษ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ และผู้ผลิตและผู้ค้ำน้ำมัน เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2551 มีข้อเท็จจริงที่สำคัญ ดังนี้
1. ปริมาณของอุปทานเอทานอลไม่เป็นปัญหาในการส่งเสริมการใช้น้ำมัน E 85 หากมีการสนับสนุนการใช้ น้ำมัน E 85 ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณการใช้ใกล้เคียงกับน้ำมัน E 20 ที่ประมาณ 50,000 ลิตรต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตเอทานอลมีประมาณ 1.31 ล้านลิตรต่อวัน
2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์แจ้งว่าการจำหน่ายรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E 85 ได้ ต้องใช้เวลา 3 - 6 เดือน จากการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป (CBU) ขณะที่การผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E 85 ได้ในประเทศนั้นคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีหลังจากนโยบายการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีความชัดเจนแล้ว
3. ในปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ให้การส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานและรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 43,440 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่อุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศเป็นจำนวนทั้งสิ้น 600,000 ล้านบาท ในขณะที่การส่งเสริมการใช้น้ำมัน E 85 ทำให้ประเทศประหยัดเงินตราในการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 100,000 ล้านบาท/ปี (ภายใต้สมมติฐานของกระทรวงพลังงาน) และหากมีการส่งเสริมให้มีการนำเข้ารถยนต์ E 85 จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงินตราจากการนำเข้ารถยนต์ E 85 อีกด้วย
4. การประกอบรถยนต์ E 85 ไม่แตกต่างจากรถยนต์ปกติ โดยจะต้องปรับเปลี่ยนบางอุปกรณ์เพื่อทนต่อการใช้เอทานอลได้ถึงร้อยละ 85 เช่น ถังน้ำมัน ท่อจ่ายน้ำมัน หัวฉีดน้ำมัน เซ็นเซอร์ในการตรวจจับปริมาณส่วนผสมของเอทานอล และระบบควบคุมในการปรับแต่งการเผาไหม้เชื้อเพลิง
5. รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E 85 ได้ (E 85 Flex-Fuel Option) สามารถใช้น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันเบนซินมีส่วนผสมของเอทานอลได้ตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 85 ดังนั้น การประหยัดพลังงานจึงกำหนดโดยราคาน้ำมันประเภทต่าง ๆ เปรียบเทียบกับค่าความสิ้นเปลืองพลังงาน (Fuel Efficiency) ที่วัดได้จากค่าความร้อน (BTU ต่อหน่วย) ของน้ำมันประเภทต่าง ๆ ประกอบกัน ดังนี้
ประเภทน้ำมัน ค่าความร้อน ประสิทธิภาพ
(ออกเทน 95) (BTU/Ib) (ร้อยละของเบนซิน 95)
เบนซิน 20,400 100
E-10 19,640 96.34
E-20 18,880 92.68
E-85 13,940 68.89
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2551--จบ--
1. ยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ E 85 ที่มีลักษณะและเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E 85 และไม่มีผลิตในประเทศเป็นการชั่วคราว 3 ปี (นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้)
2. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E 85 ลงเหลือร้อยละ 25 30 และ 35 ตามขนาดเครื่องยนต์ เท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E 20 ในปัจจุบัน
3. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตรจาก 3.6850 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดตามค่าประสิทธิภาพความร้อน หรือร้อยละ 70 ของอัตราภาษีสรรพสามิต น้ำมันเบนซิน 95 เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
ข้อเท็จจริง
ผลการประชุมของกระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมควบคุมมลพิษ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ และผู้ผลิตและผู้ค้ำน้ำมัน เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2551 มีข้อเท็จจริงที่สำคัญ ดังนี้
1. ปริมาณของอุปทานเอทานอลไม่เป็นปัญหาในการส่งเสริมการใช้น้ำมัน E 85 หากมีการสนับสนุนการใช้ น้ำมัน E 85 ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณการใช้ใกล้เคียงกับน้ำมัน E 20 ที่ประมาณ 50,000 ลิตรต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตเอทานอลมีประมาณ 1.31 ล้านลิตรต่อวัน
2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์แจ้งว่าการจำหน่ายรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E 85 ได้ ต้องใช้เวลา 3 - 6 เดือน จากการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป (CBU) ขณะที่การผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E 85 ได้ในประเทศนั้นคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีหลังจากนโยบายการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีความชัดเจนแล้ว
3. ในปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ให้การส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานและรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 43,440 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่อุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศเป็นจำนวนทั้งสิ้น 600,000 ล้านบาท ในขณะที่การส่งเสริมการใช้น้ำมัน E 85 ทำให้ประเทศประหยัดเงินตราในการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 100,000 ล้านบาท/ปี (ภายใต้สมมติฐานของกระทรวงพลังงาน) และหากมีการส่งเสริมให้มีการนำเข้ารถยนต์ E 85 จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงินตราจากการนำเข้ารถยนต์ E 85 อีกด้วย
4. การประกอบรถยนต์ E 85 ไม่แตกต่างจากรถยนต์ปกติ โดยจะต้องปรับเปลี่ยนบางอุปกรณ์เพื่อทนต่อการใช้เอทานอลได้ถึงร้อยละ 85 เช่น ถังน้ำมัน ท่อจ่ายน้ำมัน หัวฉีดน้ำมัน เซ็นเซอร์ในการตรวจจับปริมาณส่วนผสมของเอทานอล และระบบควบคุมในการปรับแต่งการเผาไหม้เชื้อเพลิง
5. รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน E 85 ได้ (E 85 Flex-Fuel Option) สามารถใช้น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันเบนซินมีส่วนผสมของเอทานอลได้ตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 85 ดังนั้น การประหยัดพลังงานจึงกำหนดโดยราคาน้ำมันประเภทต่าง ๆ เปรียบเทียบกับค่าความสิ้นเปลืองพลังงาน (Fuel Efficiency) ที่วัดได้จากค่าความร้อน (BTU ต่อหน่วย) ของน้ำมันประเภทต่าง ๆ ประกอบกัน ดังนี้
ประเภทน้ำมัน ค่าความร้อน ประสิทธิภาพ
(ออกเทน 95) (BTU/Ib) (ร้อยละของเบนซิน 95)
เบนซิน 20,400 100
E-10 19,640 96.34
E-20 18,880 92.68
E-85 13,940 68.89
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2551--จบ--