คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการโครงการขยายโครงข่าย Broadband IP ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และมอบหมายให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้
1. เพื่อให้สามารถใช้โครงข่าย Broadband IP ที่เสนอมาได้อย่างคุ้มค่าและมีความต่อเนื่องพร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของตลาด ในโครงข่ายเชื่อมต่อเข้าถึงผู้ใช้ปลายทาง (Access Network) ควรให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เร่งทำการศึกษาความเหมาะสมการลงทุนโครงการ ADSL ที่สอดคล้องกับขีดความสามารถในการลงทุน
2. เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากการลงทุนขยายโครงข่ายและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในโครงข่ายเดิม จึงควรใช้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินกลยุทธ์ด้านการตลาดเชิงรุก ทั้งในด้านราคาค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการและบุคลากรอย่างมืออาชีพ เพื่อให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพิจารณาแล้ว เห็นควรให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการขยายโครงข่าย Broadband IP โดยมีความเห็น สรุปดังนี้
1. โครงการนี้มีความสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เกี่ยวกับนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2. ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องบำรุงรักษา ซ่อมแซม และแก้ไขปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคม เครื่องโทรคมนาคม และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคมที่นำมาใช้ในการบริการโทรคมนาคมเพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานทางเทคนิคตามที่กำหนด ดังนั้นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไป จะต้องจัดหาโครงข่ายเพื่อให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา 32 ว่าด้วยการกำหนดประเภทของโครงข่ายโทรคมนาคม เครื่องโทรคมนาคม หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคมที่มีผลต่อการให้บริการโทรคมนาคมต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้
3. จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการขยายโครงข่าย Broadband IP โดยใช้เงินลงทุนรวม 4,765 ล้านบาท ที่อายุการใช้งานของโครงข่ายเป็นระยะเวลา 10 ปี ผลตอบแทนสุทธิ 19,393.78 ล้านบาท ระยะเวลาคืนทุน 4 ปี 3 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 7,393.49 ล้านบาท ที่อัตราส่วนลดร้อยละ 12 อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ที่ร้อยละ 38.17 โดยมีความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ดัชนีกำไรหรืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C Ratio) ที่ 1.24 สรุปได้ว่าการดำเนินการโครงการนี้เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน
4. ปัจจุบันการให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานในสังกัด ทก. จำเป็นต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ของบริการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจที่ดำเนินการ นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการสามารถเลือกรับบริการตามความต้องการในราคาที่แข่งขันได้
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2551--จบ--
1. เพื่อให้สามารถใช้โครงข่าย Broadband IP ที่เสนอมาได้อย่างคุ้มค่าและมีความต่อเนื่องพร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของตลาด ในโครงข่ายเชื่อมต่อเข้าถึงผู้ใช้ปลายทาง (Access Network) ควรให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เร่งทำการศึกษาความเหมาะสมการลงทุนโครงการ ADSL ที่สอดคล้องกับขีดความสามารถในการลงทุน
2. เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากการลงทุนขยายโครงข่ายและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในโครงข่ายเดิม จึงควรใช้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินกลยุทธ์ด้านการตลาดเชิงรุก ทั้งในด้านราคาค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการและบุคลากรอย่างมืออาชีพ เพื่อให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพิจารณาแล้ว เห็นควรให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการขยายโครงข่าย Broadband IP โดยมีความเห็น สรุปดังนี้
1. โครงการนี้มีความสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เกี่ยวกับนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2. ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องบำรุงรักษา ซ่อมแซม และแก้ไขปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคม เครื่องโทรคมนาคม และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคมที่นำมาใช้ในการบริการโทรคมนาคมเพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานทางเทคนิคตามที่กำหนด ดังนั้นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไป จะต้องจัดหาโครงข่ายเพื่อให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา 32 ว่าด้วยการกำหนดประเภทของโครงข่ายโทรคมนาคม เครื่องโทรคมนาคม หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคมที่มีผลต่อการให้บริการโทรคมนาคมต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้
3. จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการขยายโครงข่าย Broadband IP โดยใช้เงินลงทุนรวม 4,765 ล้านบาท ที่อายุการใช้งานของโครงข่ายเป็นระยะเวลา 10 ปี ผลตอบแทนสุทธิ 19,393.78 ล้านบาท ระยะเวลาคืนทุน 4 ปี 3 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 7,393.49 ล้านบาท ที่อัตราส่วนลดร้อยละ 12 อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ที่ร้อยละ 38.17 โดยมีความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ดัชนีกำไรหรืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C Ratio) ที่ 1.24 สรุปได้ว่าการดำเนินการโครงการนี้เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน
4. ปัจจุบันการให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานในสังกัด ทก. จำเป็นต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ของบริการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจที่ดำเนินการ นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการสามารถเลือกรับบริการตามความต้องการในราคาที่แข่งขันได้
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2551--จบ--