คณะรัฐมนตรีพิจารณาการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์พื้นที่หลังการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบผลการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549
2. เห็นชอบโครงการบริหารจัดการสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้บริหารจัดการ ดังนี้
(1) ศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อหารายได้
(2) การถ่ายโอนพื้นที่ สิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบทางราชการ
3. อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิกถอนพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
4. ในส่วนของการถ่ายโอนภารกิจของสวนเฉลิมพระเกียรติไปให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงนั้น ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาว่า จะสามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้หรือไม่ประการใด และให้กระทรวงกระเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป และในส่วนของการใช้จ่ายเงินรายได้และการใช้เงินงบประมาณนั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อนดำเนินการต่อไป
ผลการดำเนินงานโครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 สรุปได้ดังนี้
งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปี พ.ศ. 2550 เพื่อแสดงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทย ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนงานด้านพืชสวนกับนานาประเทศ และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างประเทศ มีผู้เข้าชมงานรวม 3,848,791 คน เกินกว่าประมาณการที่ตั้งไว้เดิมคือ 2 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติเข้าชมงาน 293,110 คน สรุปผลของการจัดงานได้ดังนี้
1. รูปแบบของงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ในงาน มหกรรมพืชสวนโลกฯ ได้รับความเห็นชอบให้ จัดงานในระดับ A1 จากสำนักงานมหกรรมโลก (BIE) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) และไทยเป็นประเทศแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ นี้ โดยมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมจำนวน 30 ประเทศจาก 4 ทวีป โดยแบ่งการจัดงานออกเป็น
1.1 กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดสวนเฉลิมพระเกียรติฯ นานาชาติทั้งในและ นอกอาคาร การจัดสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ประเภทสวนองค์กร การจัดสวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น (Thai Tropical Garden) การจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนภายในอาคาร การจัดประกวดและแข่งขันจำนวน 12 ประเภท (Classes) 64 กลุ่ม (Groups) และ 537 ชนิด (Categories) ตามหลักเกณฑ์ของ AIPH การประกวดสวนนานาชาติทั้งภายนอกและในอาคาร และการจัดสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติและระดับประเทศ
1.2 การจัดกิจกรรมพิเศษ ได้แก่ จัดแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจทางด้านการเกษตรที่สำคัญฯ ในอาคารหอคำหลวง การจัดกิจกรรมบริเวณสวนถวายพระพร โดยเชิญชวนผู้เข้าชมงานร่วมลงนามถวายพระพรในใบโพธิ์ แล้วนำมาหลอมรวมเป็นพระพุทธรูป คือ พระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน รวม 2 องค์ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเงินรายได้จากการจำหน่าย ใบโพธิ์ 17.05 ล้านบาท กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ คือ การจัดแสดงโลกของแมลง งานประติมากรรม และการแสดงแสงสี เช่น การแสดงม่านน้ำ การแสดงมนต์รักแห่งรัตติกาล การแสดงขบวนพาเหรดไฟฟ้า (Electric Parade) เป็นต้น
1.3 การให้บริการผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ จัดให้มีด่านตรวจพืชและด่านศุลกากรในพื้นที่จัดงานฯ การจัดระบบขนส่ง การจราจร การอำนวยความสะดวก การจองตั๋วเข้างานและที่พักล่วงหน้า การปฐมพยาบาล การจัดรถบริการนำชมงาน การรักษาความปลอดภัยและอื่น ๆ
2. รายได้จากการจัดงาน เป็นเงิน 583.3 ล้านบาท แยกเป็น รายได้จากการจำหน่ายบัตร 331 ล้านบาท จากลิขสิทธิ์และสิทธิประโยชน์ 54.5 ล้านบาท และจากผู้อุปถัมภ์ 197.8 ล้านบาท มีรายจ่ายก่อนและระหว่างการจัดงานประมาณ 402.58 ล้านบาท คงเหลือรายได้ 180.72 ล้านบาท
3. ประโยชน์ที่ได้รับ
3.1 ได้รับการยอมรับ และชื่นชมจากต่างประเทศ การจัดงานครั้งนี้ครอบคลุมงานด้านพืชสวนทุกสาขาทำให้ประเทศไทยได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal Award) จากสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 3 ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในระดับ A1 และประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการจัดงาน ต่างก็แสดงความประทับใจและชื่นชมกับความสำเร็จและความสามารถของคนไทยในการจัดงานนี้
3.2 การเฉลิมพระเกียรติฯ ผู้เข้าชมงานได้มีโอกาสร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ยังความปิติแก่ปวงชนชาวไทยเหล่านั้นเป็นอย่างมาก
4. ด้านวิชาการพืชสวน มีการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีด้านพืชสวน จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพืชสวนในระดับนานาชาติระหว่างนักวิจัยของประเทศไทยและประเทศต่างๆ และเป็นการแสดงศักยภาพพืชสวนของไทยให้ชาวต่างประเทศได้รู้จัก นอกจากนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกร นักวิชาการ เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้เห็นวิทยาการต่าง ๆ ของประเทศไทย และจากต่างประเทศ ซึ่งจะส่งเสริมให้มีวิสัยทัศน์ และเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาพืชสวนของไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ตลอดจนการเพิ่มลู่ทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมากขึ้น
5. ด้านศิลปวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การแสดงการจัดสวน สถาปัตยกรรมของอาคารและสิ่งก่อสร้างการแสดงศิลปวัฒนธรรมจาก 10 ประเทศ และจังหวัดต่าง ๆ 38 จังหวัด ทำให้เกิดความร่วมมือ และมีสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างประเทศ
6. ด้านเศรษฐกิจของประเทศ การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ เป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และเศรษฐกิจชุมชน ในด้านต่าง ๆ อาทิ
6.1 ด้านการท่องเที่ยว มีประชาชนเข้ามาชมงานอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยวันละประมาณ 40,000 คน ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง มีเงินหมุนเวียนในช่วงการจัดงานเป็นเงิน 27,000 ล้านบาท
6.2 ด้านธุรกิจบริการต่าง ๆ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง และงานบริการอื่น ๆ ทั้งในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้เกิดการจ้างงาน ธุรกิจกลุ่มต่าง ๆ มีรายได้มากขึ้น
6.3 ธุรกิจด้านพืชสวน ทำให้เกิดการเจรจาติดต่อซื้อขายพืชสวนมากขึ้น เป็นการนำรายได้ สู่ภาคการเกษตรของไทย เช่น กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2551--จบ--
1. รับทราบผลการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549
2. เห็นชอบโครงการบริหารจัดการสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้บริหารจัดการ ดังนี้
(1) ศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อหารายได้
(2) การถ่ายโอนพื้นที่ สิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบทางราชการ
3. อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิกถอนพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
4. ในส่วนของการถ่ายโอนภารกิจของสวนเฉลิมพระเกียรติไปให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงนั้น ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาว่า จะสามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้หรือไม่ประการใด และให้กระทรวงกระเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป และในส่วนของการใช้จ่ายเงินรายได้และการใช้เงินงบประมาณนั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อนดำเนินการต่อไป
ผลการดำเนินงานโครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 สรุปได้ดังนี้
งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปี พ.ศ. 2550 เพื่อแสดงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทย ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนงานด้านพืชสวนกับนานาประเทศ และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างประเทศ มีผู้เข้าชมงานรวม 3,848,791 คน เกินกว่าประมาณการที่ตั้งไว้เดิมคือ 2 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติเข้าชมงาน 293,110 คน สรุปผลของการจัดงานได้ดังนี้
1. รูปแบบของงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ในงาน มหกรรมพืชสวนโลกฯ ได้รับความเห็นชอบให้ จัดงานในระดับ A1 จากสำนักงานมหกรรมโลก (BIE) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) และไทยเป็นประเทศแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ นี้ โดยมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมจำนวน 30 ประเทศจาก 4 ทวีป โดยแบ่งการจัดงานออกเป็น
1.1 กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดสวนเฉลิมพระเกียรติฯ นานาชาติทั้งในและ นอกอาคาร การจัดสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ประเภทสวนองค์กร การจัดสวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น (Thai Tropical Garden) การจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนภายในอาคาร การจัดประกวดและแข่งขันจำนวน 12 ประเภท (Classes) 64 กลุ่ม (Groups) และ 537 ชนิด (Categories) ตามหลักเกณฑ์ของ AIPH การประกวดสวนนานาชาติทั้งภายนอกและในอาคาร และการจัดสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติและระดับประเทศ
1.2 การจัดกิจกรรมพิเศษ ได้แก่ จัดแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจทางด้านการเกษตรที่สำคัญฯ ในอาคารหอคำหลวง การจัดกิจกรรมบริเวณสวนถวายพระพร โดยเชิญชวนผู้เข้าชมงานร่วมลงนามถวายพระพรในใบโพธิ์ แล้วนำมาหลอมรวมเป็นพระพุทธรูป คือ พระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน รวม 2 องค์ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเงินรายได้จากการจำหน่าย ใบโพธิ์ 17.05 ล้านบาท กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ คือ การจัดแสดงโลกของแมลง งานประติมากรรม และการแสดงแสงสี เช่น การแสดงม่านน้ำ การแสดงมนต์รักแห่งรัตติกาล การแสดงขบวนพาเหรดไฟฟ้า (Electric Parade) เป็นต้น
1.3 การให้บริการผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ จัดให้มีด่านตรวจพืชและด่านศุลกากรในพื้นที่จัดงานฯ การจัดระบบขนส่ง การจราจร การอำนวยความสะดวก การจองตั๋วเข้างานและที่พักล่วงหน้า การปฐมพยาบาล การจัดรถบริการนำชมงาน การรักษาความปลอดภัยและอื่น ๆ
2. รายได้จากการจัดงาน เป็นเงิน 583.3 ล้านบาท แยกเป็น รายได้จากการจำหน่ายบัตร 331 ล้านบาท จากลิขสิทธิ์และสิทธิประโยชน์ 54.5 ล้านบาท และจากผู้อุปถัมภ์ 197.8 ล้านบาท มีรายจ่ายก่อนและระหว่างการจัดงานประมาณ 402.58 ล้านบาท คงเหลือรายได้ 180.72 ล้านบาท
3. ประโยชน์ที่ได้รับ
3.1 ได้รับการยอมรับ และชื่นชมจากต่างประเทศ การจัดงานครั้งนี้ครอบคลุมงานด้านพืชสวนทุกสาขาทำให้ประเทศไทยได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal Award) จากสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 3 ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในระดับ A1 และประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการจัดงาน ต่างก็แสดงความประทับใจและชื่นชมกับความสำเร็จและความสามารถของคนไทยในการจัดงานนี้
3.2 การเฉลิมพระเกียรติฯ ผู้เข้าชมงานได้มีโอกาสร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีและทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ยังความปิติแก่ปวงชนชาวไทยเหล่านั้นเป็นอย่างมาก
4. ด้านวิชาการพืชสวน มีการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีด้านพืชสวน จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพืชสวนในระดับนานาชาติระหว่างนักวิจัยของประเทศไทยและประเทศต่างๆ และเป็นการแสดงศักยภาพพืชสวนของไทยให้ชาวต่างประเทศได้รู้จัก นอกจากนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกร นักวิชาการ เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้เห็นวิทยาการต่าง ๆ ของประเทศไทย และจากต่างประเทศ ซึ่งจะส่งเสริมให้มีวิสัยทัศน์ และเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาพืชสวนของไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ตลอดจนการเพิ่มลู่ทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมากขึ้น
5. ด้านศิลปวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การแสดงการจัดสวน สถาปัตยกรรมของอาคารและสิ่งก่อสร้างการแสดงศิลปวัฒนธรรมจาก 10 ประเทศ และจังหวัดต่าง ๆ 38 จังหวัด ทำให้เกิดความร่วมมือ และมีสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างประเทศ
6. ด้านเศรษฐกิจของประเทศ การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ เป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และเศรษฐกิจชุมชน ในด้านต่าง ๆ อาทิ
6.1 ด้านการท่องเที่ยว มีประชาชนเข้ามาชมงานอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยวันละประมาณ 40,000 คน ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง มีเงินหมุนเวียนในช่วงการจัดงานเป็นเงิน 27,000 ล้านบาท
6.2 ด้านธุรกิจบริการต่าง ๆ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง และงานบริการอื่น ๆ ทั้งในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้เกิดการจ้างงาน ธุรกิจกลุ่มต่าง ๆ มีรายได้มากขึ้น
6.3 ธุรกิจด้านพืชสวน ทำให้เกิดการเจรจาติดต่อซื้อขายพืชสวนมากขึ้น เป็นการนำรายได้ สู่ภาคการเกษตรของไทย เช่น กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2551--จบ--