แท็ก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เทศกาลสงกรานต์
กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานความคืบหน้าของการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 ดังนี้
1. การดำเนินการของจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในพื้นที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) รับผิดชอบในการบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยกำหนดให้ดำเนินการใน 3 ขั้นตอน คือ
1) ขั้นเตรียมความพร้อม (วันที่ 21 — 31 มีนาคม 2548) โดยการ จัดทำแผนปฏิบัติการ เน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ทุกระดับ จนถึงตำบลหมู่บ้าน โดยยึดชุมชนเป็นฐาน และการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่าย ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ
2) ขั้นปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 1 — 7 เมษายน 2548) โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนขึ้นดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ (จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ) เน้นการเพิ่มความเข้มของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การจัดตั้งบูรณาการจุดตรวจ/ด่านตรวจตามมาตรการ 3 ม 2ข 1ร และซักซ้อมการปฏิบัติต่าง ๆ
3) ขั้นดำเนินงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (วันที่ 8 — 17 เมษายน 2548) โดยการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อปรับกลยุทธ์การดำเนินงานประจำวัน การติดตามแก้ไขปัญหา ตลอดจนการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ สถานการณ์โดยทั่วกันอย่างต่อเนื่อง
2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2548 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ร่วมด้วยรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) เพื่อวางยุทธศาสตร์ เป้าหมาย/แนวทางการดำเนินการเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 ร่วมกัน
3. การรณรงค์ การติดตามและมอบนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง คือ
1) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) นำคณะร่วมรณรงค์โครงการขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจรักษากฎในโอกาสสงกรานต์ ปี 2548 ณ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 และสถานีขนส่งสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (ตลาดหมอชิต) เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548
2) รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตรวจการเตรียมการและมอบนโยบายในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และหน่วยงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2548
3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอ ในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดสระบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2548 พร้อมตรวจการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจหน่วยบริการตำรวจทางหลวง (ทับกวาง) อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอ ในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 พร้อมตรวจการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจ
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 6 จังหวัด คือ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร ณ ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2548 พร้อมตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจป้อมตำรวจทางหลวงตำบลบางเค็ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และด่านตรวจท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดภาคกลาง 5 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาท ณ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2548 พร้อมตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/หน่วยบริการ บนเส้นทางถนนสายเอเชีย
4) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุทรวัฒน์)
- มอบนโยบายการเตรียมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด 25 จังหวัดภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2548 ณ โรงแรมรามาการ์เดนท์ กรุงเทพมหานคร
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอ ในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดลพบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 พร้อมตรวจการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจ
4. การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ และภาคีเครือข่าย ขอความร่วมมือจากสถานีบริการน้ำมันสมาคมรถบรรทุกสินค้า สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกช่อง รวมทั้งเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุทหาร ตำรวจ ร่วมรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การงดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ในบริเวณร้านสะดวกซื้อของสถานีบริการน้ำมัน และการเข้มงวดห้ามจำหน่ายแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี การหยุดวิ่งของรถบรรทุกสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกโดยการจัดหน่วยบริการ/ช่วยเหลือซ่อมแซมรถเสีย และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง เป็นประจำทุกวัน
5. สรุปผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 8 — 10 เมษายน 2548 รวม 3 วัน
1. อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น 2,359 ครั้ง
2. ผู้เสียชีวิต จำนวน 125 คน
ลดลงจากปี 2547 (143 คน) 18 คน คิดเป็นร้อยละ 12.59
ลดลงจากค่าคาดคะเนปี 2548 (139 คน) 14 คน คิดเป็นร้อยละ 10.07
3. ผู้บาดเจ็บ จำนวน 3,044 คน
ลดลงจากปี 2547 (9,628 คน) 6,584 คน คิดเป็นร้อยละ 68.38
4. จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่
(7 คน) อุดรธานี (6 คน) พระนครศรีอยุธยา (5 คน) อ่างทอง สุโขทัย
สงขลา ลพบุรี ปทุมธานี นครสวรรค์ ชัยภูมิและขอนแก่น (4 คน)
5. ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ (ในตำบลและแขวง) ร้อยละ 62.50
6. สถานภาพของผู้เสียชีวิต เป็นผู้ขับขี่ ร้อยละ 64.58 รองลงมาเป็นผู้โดยสาร
ร้อยละ 14.58
7. ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 83.71 ปิกอัพ
ร้อยละ 5.53
8. สาเหตุพฤติกรรมเสี่ยงของอุบัติเหตุ
- ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 36.02
- เมาสุรา ร้อยละ 22.63
- ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 13.29
9. ประเภทถนน ส่วนใหญ่เป็นทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 26.43
10. บริเวณจุดเกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นทางตรง ร้อยละ 41.76
11. การนำส่งสถานพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นประชาชน ร้อยละ 54.26
รองลงมา มูลนิธิ/อาสาสมัคร ร้อยละ 8.71 และหน่วยกู้ชีพ EMS ร้อยละ 4.17
12. ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ช่วงค่ำ — ดึก (16.30 — 24.00 น.)
ร้อยละ 24.76
13. การปฏิบัติงาน
- จัดตั้งจุดตรวจทั่วประเทศ รวม 3,608 จุด สูงกว่าค่าคาดคะเนที่ตั้งไว้ตาม
แผนงบประมาณ (3,030 จุด) จำนวน 578 จุด คิดเป็นร้อยละ 19.08
- ผู้ปฏิบัติหน้าที่ รวม 96,220 คน สูงกว่าค่าคาดคะเนที่ตั้งไว้ตามแผน
งบประมาณ (90,900 คน) จำนวน 5,320 คน คิดเป็นร้อยละ 5.85
14. ผลการดำเนินการตามมาตรการ 3ม 2ข 1ร
- ยานพาหนะถูกเรียกตรวจ 1,790,459 คัน
- ถูกดำเนินคดี 32,371 คดี คิดเป็นร้อยละ 1.81
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
1. การดำเนินการของจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในพื้นที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) รับผิดชอบในการบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยกำหนดให้ดำเนินการใน 3 ขั้นตอน คือ
1) ขั้นเตรียมความพร้อม (วันที่ 21 — 31 มีนาคม 2548) โดยการ จัดทำแผนปฏิบัติการ เน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ทุกระดับ จนถึงตำบลหมู่บ้าน โดยยึดชุมชนเป็นฐาน และการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่าย ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ
2) ขั้นปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 1 — 7 เมษายน 2548) โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนขึ้นดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ (จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ) เน้นการเพิ่มความเข้มของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การจัดตั้งบูรณาการจุดตรวจ/ด่านตรวจตามมาตรการ 3 ม 2ข 1ร และซักซ้อมการปฏิบัติต่าง ๆ
3) ขั้นดำเนินงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (วันที่ 8 — 17 เมษายน 2548) โดยการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อปรับกลยุทธ์การดำเนินงานประจำวัน การติดตามแก้ไขปัญหา ตลอดจนการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ สถานการณ์โดยทั่วกันอย่างต่อเนื่อง
2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2548 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ร่วมด้วยรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) เพื่อวางยุทธศาสตร์ เป้าหมาย/แนวทางการดำเนินการเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 ร่วมกัน
3. การรณรงค์ การติดตามและมอบนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง คือ
1) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) นำคณะร่วมรณรงค์โครงการขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจรักษากฎในโอกาสสงกรานต์ ปี 2548 ณ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 และสถานีขนส่งสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (ตลาดหมอชิต) เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548
2) รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตรวจการเตรียมการและมอบนโยบายในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และหน่วยงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2548
3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอ ในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดสระบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2548 พร้อมตรวจการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจหน่วยบริการตำรวจทางหลวง (ทับกวาง) อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอ ในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 พร้อมตรวจการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจ
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 6 จังหวัด คือ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร ณ ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2548 พร้อมตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจป้อมตำรวจทางหลวงตำบลบางเค็ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และด่านตรวจท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดภาคกลาง 5 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาท ณ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2548 พร้อมตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/หน่วยบริการ บนเส้นทางถนนสายเอเชีย
4) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุทรวัฒน์)
- มอบนโยบายการเตรียมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด 25 จังหวัดภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2548 ณ โรงแรมรามาการ์เดนท์ กรุงเทพมหานคร
- มอบนโยบายการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอ ในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดลพบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 พร้อมตรวจการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจ
4. การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ และภาคีเครือข่าย ขอความร่วมมือจากสถานีบริการน้ำมันสมาคมรถบรรทุกสินค้า สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกช่อง รวมทั้งเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุทหาร ตำรวจ ร่วมรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การงดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ในบริเวณร้านสะดวกซื้อของสถานีบริการน้ำมัน และการเข้มงวดห้ามจำหน่ายแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี การหยุดวิ่งของรถบรรทุกสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกโดยการจัดหน่วยบริการ/ช่วยเหลือซ่อมแซมรถเสีย และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง เป็นประจำทุกวัน
5. สรุปผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 8 — 10 เมษายน 2548 รวม 3 วัน
1. อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น 2,359 ครั้ง
2. ผู้เสียชีวิต จำนวน 125 คน
ลดลงจากปี 2547 (143 คน) 18 คน คิดเป็นร้อยละ 12.59
ลดลงจากค่าคาดคะเนปี 2548 (139 คน) 14 คน คิดเป็นร้อยละ 10.07
3. ผู้บาดเจ็บ จำนวน 3,044 คน
ลดลงจากปี 2547 (9,628 คน) 6,584 คน คิดเป็นร้อยละ 68.38
4. จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่
(7 คน) อุดรธานี (6 คน) พระนครศรีอยุธยา (5 คน) อ่างทอง สุโขทัย
สงขลา ลพบุรี ปทุมธานี นครสวรรค์ ชัยภูมิและขอนแก่น (4 คน)
5. ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ (ในตำบลและแขวง) ร้อยละ 62.50
6. สถานภาพของผู้เสียชีวิต เป็นผู้ขับขี่ ร้อยละ 64.58 รองลงมาเป็นผู้โดยสาร
ร้อยละ 14.58
7. ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 83.71 ปิกอัพ
ร้อยละ 5.53
8. สาเหตุพฤติกรรมเสี่ยงของอุบัติเหตุ
- ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 36.02
- เมาสุรา ร้อยละ 22.63
- ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 13.29
9. ประเภทถนน ส่วนใหญ่เป็นทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 26.43
10. บริเวณจุดเกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นทางตรง ร้อยละ 41.76
11. การนำส่งสถานพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นประชาชน ร้อยละ 54.26
รองลงมา มูลนิธิ/อาสาสมัคร ร้อยละ 8.71 และหน่วยกู้ชีพ EMS ร้อยละ 4.17
12. ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ช่วงค่ำ — ดึก (16.30 — 24.00 น.)
ร้อยละ 24.76
13. การปฏิบัติงาน
- จัดตั้งจุดตรวจทั่วประเทศ รวม 3,608 จุด สูงกว่าค่าคาดคะเนที่ตั้งไว้ตาม
แผนงบประมาณ (3,030 จุด) จำนวน 578 จุด คิดเป็นร้อยละ 19.08
- ผู้ปฏิบัติหน้าที่ รวม 96,220 คน สูงกว่าค่าคาดคะเนที่ตั้งไว้ตามแผน
งบประมาณ (90,900 คน) จำนวน 5,320 คน คิดเป็นร้อยละ 5.85
14. ผลการดำเนินการตามมาตรการ 3ม 2ข 1ร
- ยานพาหนะถูกเรียกตรวจ 1,790,459 คัน
- ถูกดำเนินคดี 32,371 คดี คิดเป็นร้อยละ 1.81
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--