คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในการพิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2548 ให้แก่ข้าราชการที่จะช่วยปฏิบัติงานในศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จำนวน 14 ราย ตามที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเสนอ โดยให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ให้พิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ข้าราชการผู้ที่มีเวลาปฏิบัติราชการที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติไม่น้อยกว่า 4 เดือน ในแต่ละรอบการประเมิน (ครึ่งปี) ตามนัยมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 และโดยที่ขณะนี้ได้ผ่านพ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 แล้ว จึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะได้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 เรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการผู้ได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติ ข้อ 2.3 (3) สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายให้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ของส่วนราชการต้นสังกัด
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) รายงานว่า
นายกรัฐมนตรีมีนโยบายเร่งด่วนให้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศตช.) และได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 16/2548 ลงวันที่ 16 มกราคม 2548 แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า โดยมีผู้ช่วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมิธ ธรรมสโรช) เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการฯ ได้มีคำสั่งที่ 17/2548 ลงวันที่ 8 เมษายน 2548 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานอนุกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และจัดเตรียมอุปกรณ์ระบบการแจ้งเตือนภัย เพื่อลดความเสียหายจากผลกระทบของภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานให้การบรรเทาสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 โดยมีข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมปฏิบัติงาน ซึ่งในการดำเนินงานต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อปฏิบัติหน้าที่แจ้งเตือนภัยไปยังบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า ข้าราชการของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เสียสละและอุทิศตนปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้ภารกิจของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ ข้าราชการที่มาช่วยปฏิบัติงานดังกล่าว ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) รายงานว่า
นายกรัฐมนตรีมีนโยบายเร่งด่วนให้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศตช.) และได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 16/2548 ลงวันที่ 16 มกราคม 2548 แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า โดยมีผู้ช่วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมิธ ธรรมสโรช) เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการฯ ได้มีคำสั่งที่ 17/2548 ลงวันที่ 8 เมษายน 2548 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานอนุกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และจัดเตรียมอุปกรณ์ระบบการแจ้งเตือนภัย เพื่อลดความเสียหายจากผลกระทบของภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานให้การบรรเทาสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 โดยมีข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมปฏิบัติงาน ซึ่งในการดำเนินงานต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อปฏิบัติหน้าที่แจ้งเตือนภัยไปยังบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า ข้าราชการของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เสียสละและอุทิศตนปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้ภารกิจของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ ข้าราชการที่มาช่วยปฏิบัติงานดังกล่าว ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--