คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น “ดอมเรย” จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 10 ตุลาคม 2548) ดังนี้
1. พื้นที่ประสบภัย (ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 10 ตุลาคม 2548) รวม 13 จังหวัด 59 อำเภอ 7 กิ่งอำเภอ 217 ตำบล 1,173 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน กาฬสินธุ์ เพชรบูรณ์ มุกดาหาร อุตรดิตถ์ เลย และตาก
2. ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ราษฎรเสียชีวิต 10 คน (จ.เชียงใหม่ 3 คน และ จ.ลำปาง 7 คน) สูญหาย 3 คน (จ.ลำปาง 1 คน จ.แม่ฮ่องสอน 2 คน) บาดเจ็บ 7 คน เดือดร้อน 121,238 คน 58,710 ครัวเรือน อพยพ 2,108 คน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 182 สาย สะพาน 29 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ฝาย/พนังกั้นน้ำ 36 แห่ง บ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 92 หลัง เสียหายบางส่วน 314 หลัง บ่อปลา/กุ้ง 39 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง
มูลค่าความเสียหายประมาณในเบื้องต้นว่าไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
3. สถานการณ์อุทกภัยจากพายุ “ดอมเรย” ในปัจจุบันทุกจังหวัดคลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2548 แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่เกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำบางแห่งของอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำท่วมขังลดลงอย่างต่อเนื่อง
4. การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
4.1 กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักรที่ 9/2548 ลงวันที่ 28 กันยายน 2548 แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และผู้ว่าราชการจังหวัด ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นกรรมการ และมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นกรรมการและเลขานุการ (ร่วม) ซึ่งได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบูรณาการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2548 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยได้มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัด ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ดังนี้
1) ให้กรมชลประทานเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำมาก โดยการกำหนดความสัมพันธ์ของน้ำทะเลหนุนและปริมาณน้ำเหนือหลากในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยกำหนดการคำนวณปริมาณน้ำการ ควบคุมการไหลของน้ำและการระบายน้ำให้ชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถคาดการณ์สภาพ แม่น้ำเจ้าพระยาได้ล่วงหน้า 3 วัน
2) กำหนดพื้นที่รองรับน้ำ ในกรณีมีปริมาณน้ำเหนือหลากลงมาเป็นจำนวนมาก โดยให้จังหวัดสำรวจและจัดหาพื้นที่รองรับน้ำในลักษณะแก้มลิง พร้อมทั้งจัดทำแผนการระบายน้ำ และการกักเก็บน้ำไว้เป็นการ ล่วงหน้า และให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวบรวมข้อมูลพื้นที่รองรับน้ำและแผนการระบายน้ำของจังหวัด เพื่อจัดทำเป็นแผนบูรณาการจัดการน้ำในภาพรวม
3) บริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำน้อย โดยให้จังหวัดประสานและวางแผนการเพาะปลูกพืชใน ช่วงฤดูแล้งร่วมกับกรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตรและเกษตรจังหวัดในพื้นที่ รวมทั้งให้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ เพื่อทราบและเข้าใจถึงแผนการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งดังกล่าว
4) สำรวจข้อมูลการใช้น้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค โดยให้จังหวัดเร่งสำรวจข้อมูลและจัดทำเป็นแผนการใช้น้ำในช่วงน้ำน้อย ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วนและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการอุปโภคและบริโภคของประชาชน
4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/จังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบน 120 ลำ รถยนต์บรรทุก 115 คัน ไปช่วยเหลือและอพยพราษฎรที่ประสบภัยไปอยู่ในที่ปลอดภัย สนับสนุนกระสอบทรายให้แก่จังหวัดต่างๆ จำนวน 200,000 ใบ แจกจ่ายถุงยังชีพ 36,500 ชุด น้ำดื่ม 85,500 ขวด แก่ประชาชนที่ประสบภัย
4.3 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้จ่ายเงินทดรอง ราชการ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ค่าซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย ค่าจัดการศพ และซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายแล้ว สำหรับพื้นที่การเกษตร และปศุสัตว์ บ่อปลาที่เสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจและจะได้ให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป ทั้งนี้ หากไม่เพียงพอสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จักได้ขออนุมัติงบกลางจากคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
5. การเตรียมรับปริมาณน้ำจากภาคเหนือที่ไหลหลากลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำทะเลหนุน
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุแจ้งไปยังจังหวัด/กรุงเทพมหานครและศูนย์ ปภ.เขต ที่อยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำจากภาคเหนือไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์มีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยวันที่ 7 ต.ค.2548 มีปริมาณ 1,792 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 6 ต.ค 2548 จำนวน 31 ลบ.ม./วินาที) ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้แจ้งระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยในเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปีเป็นช่วงฤดูฝน ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับสูงกว่าปกติและมักเกิดน้ำท่วม ซึ่งจากการคำนวณระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงสูงสุดประจำวันของเดือนตุลาคม 2548 ปรากฎว่าวันที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดจะอยู่ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 09.00 -13.00 น. และ 19.00-21.00 น. และระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 17.30-18.30 น. สำหรับระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2548 จะเป็นช่วงเวลา 08.00-10.00 น. และ 18.00-19.00 น. โดยให้จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาและกรุงเทพมหานครดำเนินการ ดังนี้
1) แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ขนย้ายสิ่งของที่จำเป็น ปลั๊กไฟ ที่นอนไปอยู่ในที่สูงขึ้น
2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนกระสอบทรายให้แก่ประชาชนเพื่อจัดวางแนวป้องกันน้ำที่จะทะลักเข้าบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา
3) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด / ปลัดกรุงเทพมหานครกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอ เขต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
4) ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของจังหวัด อำเภอ/ กิ่งอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันทีพร้อมทั้งกับรายงานสถานการณ์ให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกระยะ
สำหรับในระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2548 ที่ผ่านมาในช่วงเวลา 10.00 น. และเวลา 20.00 น. ซึ่งน้ำทะเลหนุนสูงสุด ปรากฏว่าระดับน้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ สูง 1.65 เมตร ต่ำกว่าระดับแนวเขื่อนป้องกัน (ระดับคันกั้นน้ำ 3 เมตร) จึงไม่มีปัญหาน้ำเอ่อล้นตลิ่ง
6. สถานการณ์พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2548 ได้มีหย่อมความกดอากาศต่ำในบริเวณทะเลจีนใต้และได้ทวีกำลังเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางเพิ่มมากขึ้นกลายเป็นพายุดีเปรสชัน โดยเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2548 มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้ได้เคลื่อนตัวด้วยความเร็ว 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผ่านประเทศเวียดนามและลาว ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและมีอิทธิพลแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและได้ตรวจสอบไปยังพื้นที่ต่างๆแล้วไม่มีสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของพายุดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งปัจจุบันได้สลายตัวไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--
1. พื้นที่ประสบภัย (ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 10 ตุลาคม 2548) รวม 13 จังหวัด 59 อำเภอ 7 กิ่งอำเภอ 217 ตำบล 1,173 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน กาฬสินธุ์ เพชรบูรณ์ มุกดาหาร อุตรดิตถ์ เลย และตาก
2. ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ราษฎรเสียชีวิต 10 คน (จ.เชียงใหม่ 3 คน และ จ.ลำปาง 7 คน) สูญหาย 3 คน (จ.ลำปาง 1 คน จ.แม่ฮ่องสอน 2 คน) บาดเจ็บ 7 คน เดือดร้อน 121,238 คน 58,710 ครัวเรือน อพยพ 2,108 คน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 182 สาย สะพาน 29 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ฝาย/พนังกั้นน้ำ 36 แห่ง บ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 92 หลัง เสียหายบางส่วน 314 หลัง บ่อปลา/กุ้ง 39 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง
มูลค่าความเสียหายประมาณในเบื้องต้นว่าไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
3. สถานการณ์อุทกภัยจากพายุ “ดอมเรย” ในปัจจุบันทุกจังหวัดคลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2548 แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่เกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำบางแห่งของอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำท่วมขังลดลงอย่างต่อเนื่อง
4. การให้ความช่วยเหลือและการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
4.1 กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักรที่ 9/2548 ลงวันที่ 28 กันยายน 2548 แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และผู้ว่าราชการจังหวัด ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นกรรมการ และมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นกรรมการและเลขานุการ (ร่วม) ซึ่งได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบูรณาการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2548 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยได้มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัด ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ดังนี้
1) ให้กรมชลประทานเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำมาก โดยการกำหนดความสัมพันธ์ของน้ำทะเลหนุนและปริมาณน้ำเหนือหลากในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยกำหนดการคำนวณปริมาณน้ำการ ควบคุมการไหลของน้ำและการระบายน้ำให้ชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถคาดการณ์สภาพ แม่น้ำเจ้าพระยาได้ล่วงหน้า 3 วัน
2) กำหนดพื้นที่รองรับน้ำ ในกรณีมีปริมาณน้ำเหนือหลากลงมาเป็นจำนวนมาก โดยให้จังหวัดสำรวจและจัดหาพื้นที่รองรับน้ำในลักษณะแก้มลิง พร้อมทั้งจัดทำแผนการระบายน้ำ และการกักเก็บน้ำไว้เป็นการ ล่วงหน้า และให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวบรวมข้อมูลพื้นที่รองรับน้ำและแผนการระบายน้ำของจังหวัด เพื่อจัดทำเป็นแผนบูรณาการจัดการน้ำในภาพรวม
3) บริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำน้อย โดยให้จังหวัดประสานและวางแผนการเพาะปลูกพืชใน ช่วงฤดูแล้งร่วมกับกรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตรและเกษตรจังหวัดในพื้นที่ รวมทั้งให้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ เพื่อทราบและเข้าใจถึงแผนการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งดังกล่าว
4) สำรวจข้อมูลการใช้น้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค โดยให้จังหวัดเร่งสำรวจข้อมูลและจัดทำเป็นแผนการใช้น้ำในช่วงน้ำน้อย ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วนและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการอุปโภคและบริโภคของประชาชน
4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/จังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบน 120 ลำ รถยนต์บรรทุก 115 คัน ไปช่วยเหลือและอพยพราษฎรที่ประสบภัยไปอยู่ในที่ปลอดภัย สนับสนุนกระสอบทรายให้แก่จังหวัดต่างๆ จำนวน 200,000 ใบ แจกจ่ายถุงยังชีพ 36,500 ชุด น้ำดื่ม 85,500 ขวด แก่ประชาชนที่ประสบภัย
4.3 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้จ่ายเงินทดรอง ราชการ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ค่าซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย ค่าจัดการศพ และซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายแล้ว สำหรับพื้นที่การเกษตร และปศุสัตว์ บ่อปลาที่เสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจและจะได้ให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป ทั้งนี้ หากไม่เพียงพอสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จักได้ขออนุมัติงบกลางจากคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
5. การเตรียมรับปริมาณน้ำจากภาคเหนือที่ไหลหลากลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำทะเลหนุน
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุแจ้งไปยังจังหวัด/กรุงเทพมหานครและศูนย์ ปภ.เขต ที่อยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำจากภาคเหนือไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์มีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยวันที่ 7 ต.ค.2548 มีปริมาณ 1,792 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 6 ต.ค 2548 จำนวน 31 ลบ.ม./วินาที) ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้แจ้งระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยในเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปีเป็นช่วงฤดูฝน ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับสูงกว่าปกติและมักเกิดน้ำท่วม ซึ่งจากการคำนวณระดับน้ำขึ้นสูงสุดและลงสูงสุดประจำวันของเดือนตุลาคม 2548 ปรากฎว่าวันที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดจะอยู่ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 09.00 -13.00 น. และ 19.00-21.00 น. และระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2548 ช่วงเวลา 17.30-18.30 น. สำหรับระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2548 จะเป็นช่วงเวลา 08.00-10.00 น. และ 18.00-19.00 น. โดยให้จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาและกรุงเทพมหานครดำเนินการ ดังนี้
1) แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ขนย้ายสิ่งของที่จำเป็น ปลั๊กไฟ ที่นอนไปอยู่ในที่สูงขึ้น
2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนกระสอบทรายให้แก่ประชาชนเพื่อจัดวางแนวป้องกันน้ำที่จะทะลักเข้าบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา
3) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด / ปลัดกรุงเทพมหานครกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอ เขต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
4) ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของจังหวัด อำเภอ/ กิ่งอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันทีพร้อมทั้งกับรายงานสถานการณ์ให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกระยะ
สำหรับในระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2548 ที่ผ่านมาในช่วงเวลา 10.00 น. และเวลา 20.00 น. ซึ่งน้ำทะเลหนุนสูงสุด ปรากฏว่าระดับน้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ สูง 1.65 เมตร ต่ำกว่าระดับแนวเขื่อนป้องกัน (ระดับคันกั้นน้ำ 3 เมตร) จึงไม่มีปัญหาน้ำเอ่อล้นตลิ่ง
6. สถานการณ์พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2548 ได้มีหย่อมความกดอากาศต่ำในบริเวณทะเลจีนใต้และได้ทวีกำลังเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางเพิ่มมากขึ้นกลายเป็นพายุดีเปรสชัน โดยเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2548 มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้ได้เคลื่อนตัวด้วยความเร็ว 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผ่านประเทศเวียดนามและลาว ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและมีอิทธิพลแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและได้ตรวจสอบไปยังพื้นที่ต่างๆแล้วไม่มีสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของพายุดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งปัจจุบันได้สลายตัวไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--