คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ในภาพรวม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และกำชับให้หน่วยงานของภาครัฐดำเนินการตามระบบ e-GP ที่กรมบัญชีกลางกำหนดต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานผลจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม และแผนการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ในปีงบประมาณ 2549 สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ผลการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 กันยายน 2548 หน่วยงานของภาครัฐมีการจัดประมูลฯ ทั้งสิ้น 6,450 ครั้ง (รวมโครงการจัดจ้างสร้างชุมสายและสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ CDMA) รวมวงเงินงบประมาณจัดหา โดยวิธีการประมูลฯ 109,962,746,779 บาท ซึ่งประหยัดเงินงบประมาณได้ถึง 15,899,549,551 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนของเงินงบประมาณที่ประหยัดได้ร้อยละ 14 ของวงเงินงบประมาณจัดหารวมฯ โดยสามารถวิเคราะห์ จำแนกตามรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้ (ไม่นับรวมโครงการ CDMA)
1.1 ประเภทหน่วยจัดซื้อที่มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธี e-Auction ทั้งหมด ได้แก่
ประเภท จำนวนครั้ง วงเงินงบประมาณ ร้อยละที่ประหยัดได้จากการ จัดหาด้วย e-Auction
ส่วนราชการ 3,729 64,045,978,848 10
รัฐวิสาหกิจ 2,697 31,446,565,080 9
หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ 23 1,040,202,851 26
2. ประเภทของพัสดุที่มีความถี่ในการจัดซื้อจัดจ้างสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
- งานจ้างก่อสร้าง 3,338 ครั้ง เช่น จ้างทำระบบต่าง ๆ และงานจ้างปรับปรุง เป็นต้น ซึ่งสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ร้อยละ 24 และ 9 ตามลำดับ
- ครุภัณฑ์ต่าง ๆ 1,245 ครั้ง เช่น ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ งานบ้านงานครัว และครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง เป็นต้น ซึ่งสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ร้อยละ 48 47 และ 22 ตามลำดับ
- วัสดุต่าง ๆ 1,143 ครั้ง เช่น วัสดุวิทยาศาสตร์ วัสดุคอมพิวเตอร์ และวัสดุสำนักงาน เป็นต้น ซึ่งสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ร้อยละ 34 16 และ 13 ตามลำดับ
1.3 จังหวัดที่มีความถี่ในการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธี e-Auction สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น และอุบลราชธานี จำนวน 2,746 ครั้ง 184 ครั้ง และ 155 ครั้ง ตามลำดับ ขณะที่จังหวัดที่สามารถประหยัดเงิน งบประมาณได้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และระนอง
2. ผลการดำเนินการจัดซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Shopping)
2.1 กำหนดแนวทางการจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Shopping) ให้เป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดหาโดยวิธีตกลงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้เริ่มใช้งานระบบฯ สำหรับส่วนราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีความต้องการจัดซื้อสินค้า 5 รายการ ได้แก่ เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ โทรทัศน์ และเครื่องดิจิตอลโปรเจคเตอร์ วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
2.2 ผลการใช้งานระบบ e-Shopping ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 มีรายละเอียดดังนี้
- จำนวนหน่วยจัดซื้อ (Buyer) ทั้งหมด 816 แห่ง มีผู้เข้าใช้งานระบบฯ ทั้งหมด 137 แห่ง และความถี่ในการจัดทำคำขอข้อเสนอเกี่ยวกับสินค้าที่จะจัดซื้อไปยังผู้ค้ำ (e-Request for Proposal) ผ่านระบบฯ รวม 960 ครั้ง
- จำนวนผู้ค้า (Supplier) ที่ลงทะเบียนใน e-Catalogue เพื่อแสดงรายละเอียดสินค้าให้หน่วยจัดซื้อเลือกสั่งซื้อผ่านระบบฯ ทั้งหมด 670 ราย โดยอนุญาตให้เข้าแสดงรายละเอียดสินค้าฯ 233 ราย และอยู่ในระหว่างผู้ค้าส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ 437 ราย
3. การดำเนินงานภายใต้เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) ซึ่งรวบรวมข้อมูลการประกาศ/เปลี่ยนแปลง/ยกเลิก/ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด โดยให้ หน่วยงานภาครัฐจัดทำประกาศความต้องการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน ผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว สำหรับข้อมูลสัญญา จัดซื้อจัดจ้างได้เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ GFMIS ซึ่งสามารถรวบรวมสัญญาฯ ทั้งหมดของหน่วยงานภาครัฐ และจัดหมวดหมู่ให้สะดวกในการค้นหาข้อมูล เช่น วันที่ลงนามในสัญญา เลขที่สัญญา หน่วยงาน ชื่อผู้ขาย และวงเงิน โดยสามารถค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาผ่านเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา
4. กระทรวงการคลังได้รวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการต่าง ๆ พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้
4.1 ประเด็นราคาเริ่มต้นในการประมูล
เนื่องจากตามประกาศฯ ข้อ 20 วรรค 3 กำหนดว่าราคาเริ่มต้นการประมูลให้ใช้วงเงินงบประมาณ สำหรับการจัดหาพัสดุหรือการจ้างนั้น ๆ ในขณะที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างที่ต้องมีการกำหนดราคากลาง แต่ราคากลางนั้นอาจมีวงเงินสูงหรือต่ำกว่างบประมาณส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้หรือจัดซื้อจัดจ้างได้ ก็อาจทำให้ทางราชการเสียประโยชน์
การแก้ไขปัญหา
กรมบัญชีกลางได้แจ้งเวียนส่วนราชการผ่อนผันการดำเนินการประมูลฯ กรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างที่ต้องมีการกำหนดราคากลางของทางราชการ ให้ใช้ราคากลางฯ เป็นราคาเริ่มต้นการประมูลฯ หากราคาของผู้เสนอราคาหรือคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างก็ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลฯ ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 43(1) และ (3) โดยอนุโลม
4.2 ประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3 จังหวัด)
เนื่องจากสถานการณ์ไม่ปกติใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธี e-Auction มีอุปสรรค และไม่เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
การแก้ไขปัญหา
กรมบัญชีกลางมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ดุลยพินิจพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้ โดยให้รายงานกรมบัญชีกลางทราบผลการดำเนินการเป็นรายไตรมาสประจำปีงบประมาณ
4.3 ประเด็นความรู้ความเข้าใจ
การะทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง จัดประชุมสัมมนาและจัดส่งวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับระเบียบพัสดุฯ และแนวทางปฏิบัติสำหรับการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง การสร้างวิทยากรตัวคูณของกรมบัญชีกลางในสำนักงานคลังจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นที่ปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติด้านพัสดุแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค
5. แผนพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในปีงบประมาณ 2549 ประกอบด้วย
5.1 ระบบเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ปรับปรุงเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือผู้ที่สนใจทั่วไปมีความสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีความถูกต้องด้วยความรวดเร็ว ครบถ้วน ทั่วถึง รวมถึง เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.2 ระบบบริหารทะเบียนผู้ค้าภาครัฐ (Supplier Management System) เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้าภาครัฐ และการจัดกลุ่มผู้ค้าภาครัฐที่ดี
5.3 ระบบ e-Auction System เพื่อใช้เป็นต้นแบบระบบการประมูลฯ ให้ครบทั้งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตั้งแต่การจัดหา จัดทำประกาศเชิญชวน การแข่งขันเสนอราคา การประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง จนถึงการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
6. อนึ่ง สำหรับรายจ่ายลงทุนส่วนราชการในปีงบประมาณ 2548 เท่ากับ 246,895.04 ล้านบาท ซึ่งมีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประมูลฯ 96,137.08 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 38.94 ของรายจ่ายลงทุนส่วนราชการทั้งหมด เนื่องจากแนวทางการประมูลฯ มีผลบังคับใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 13 มกราคม 2548 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่จะขยายผลครอบคลุมถึงส่วนราชการ และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ทำให้มีการเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนประกาศกระทรวงการคลังฯ ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงการคลังรายงานผลจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม และแผนการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ในปีงบประมาณ 2549 สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ผลการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 กันยายน 2548 หน่วยงานของภาครัฐมีการจัดประมูลฯ ทั้งสิ้น 6,450 ครั้ง (รวมโครงการจัดจ้างสร้างชุมสายและสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ CDMA) รวมวงเงินงบประมาณจัดหา โดยวิธีการประมูลฯ 109,962,746,779 บาท ซึ่งประหยัดเงินงบประมาณได้ถึง 15,899,549,551 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนของเงินงบประมาณที่ประหยัดได้ร้อยละ 14 ของวงเงินงบประมาณจัดหารวมฯ โดยสามารถวิเคราะห์ จำแนกตามรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้ (ไม่นับรวมโครงการ CDMA)
1.1 ประเภทหน่วยจัดซื้อที่มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธี e-Auction ทั้งหมด ได้แก่
ประเภท จำนวนครั้ง วงเงินงบประมาณ ร้อยละที่ประหยัดได้จากการ จัดหาด้วย e-Auction
ส่วนราชการ 3,729 64,045,978,848 10
รัฐวิสาหกิจ 2,697 31,446,565,080 9
หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ 23 1,040,202,851 26
2. ประเภทของพัสดุที่มีความถี่ในการจัดซื้อจัดจ้างสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
- งานจ้างก่อสร้าง 3,338 ครั้ง เช่น จ้างทำระบบต่าง ๆ และงานจ้างปรับปรุง เป็นต้น ซึ่งสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ร้อยละ 24 และ 9 ตามลำดับ
- ครุภัณฑ์ต่าง ๆ 1,245 ครั้ง เช่น ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ งานบ้านงานครัว และครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง เป็นต้น ซึ่งสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ร้อยละ 48 47 และ 22 ตามลำดับ
- วัสดุต่าง ๆ 1,143 ครั้ง เช่น วัสดุวิทยาศาสตร์ วัสดุคอมพิวเตอร์ และวัสดุสำนักงาน เป็นต้น ซึ่งสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ร้อยละ 34 16 และ 13 ตามลำดับ
1.3 จังหวัดที่มีความถี่ในการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธี e-Auction สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น และอุบลราชธานี จำนวน 2,746 ครั้ง 184 ครั้ง และ 155 ครั้ง ตามลำดับ ขณะที่จังหวัดที่สามารถประหยัดเงิน งบประมาณได้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และระนอง
2. ผลการดำเนินการจัดซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Shopping)
2.1 กำหนดแนวทางการจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Shopping) ให้เป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดหาโดยวิธีตกลงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้เริ่มใช้งานระบบฯ สำหรับส่วนราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีความต้องการจัดซื้อสินค้า 5 รายการ ได้แก่ เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ โทรทัศน์ และเครื่องดิจิตอลโปรเจคเตอร์ วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
2.2 ผลการใช้งานระบบ e-Shopping ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 มีรายละเอียดดังนี้
- จำนวนหน่วยจัดซื้อ (Buyer) ทั้งหมด 816 แห่ง มีผู้เข้าใช้งานระบบฯ ทั้งหมด 137 แห่ง และความถี่ในการจัดทำคำขอข้อเสนอเกี่ยวกับสินค้าที่จะจัดซื้อไปยังผู้ค้ำ (e-Request for Proposal) ผ่านระบบฯ รวม 960 ครั้ง
- จำนวนผู้ค้า (Supplier) ที่ลงทะเบียนใน e-Catalogue เพื่อแสดงรายละเอียดสินค้าให้หน่วยจัดซื้อเลือกสั่งซื้อผ่านระบบฯ ทั้งหมด 670 ราย โดยอนุญาตให้เข้าแสดงรายละเอียดสินค้าฯ 233 ราย และอยู่ในระหว่างผู้ค้าส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ 437 ราย
3. การดำเนินงานภายใต้เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) ซึ่งรวบรวมข้อมูลการประกาศ/เปลี่ยนแปลง/ยกเลิก/ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด โดยให้ หน่วยงานภาครัฐจัดทำประกาศความต้องการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน ผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว สำหรับข้อมูลสัญญา จัดซื้อจัดจ้างได้เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ GFMIS ซึ่งสามารถรวบรวมสัญญาฯ ทั้งหมดของหน่วยงานภาครัฐ และจัดหมวดหมู่ให้สะดวกในการค้นหาข้อมูล เช่น วันที่ลงนามในสัญญา เลขที่สัญญา หน่วยงาน ชื่อผู้ขาย และวงเงิน โดยสามารถค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาผ่านเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา
4. กระทรวงการคลังได้รวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการต่าง ๆ พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้
4.1 ประเด็นราคาเริ่มต้นในการประมูล
เนื่องจากตามประกาศฯ ข้อ 20 วรรค 3 กำหนดว่าราคาเริ่มต้นการประมูลให้ใช้วงเงินงบประมาณ สำหรับการจัดหาพัสดุหรือการจ้างนั้น ๆ ในขณะที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างที่ต้องมีการกำหนดราคากลาง แต่ราคากลางนั้นอาจมีวงเงินสูงหรือต่ำกว่างบประมาณส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้หรือจัดซื้อจัดจ้างได้ ก็อาจทำให้ทางราชการเสียประโยชน์
การแก้ไขปัญหา
กรมบัญชีกลางได้แจ้งเวียนส่วนราชการผ่อนผันการดำเนินการประมูลฯ กรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างที่ต้องมีการกำหนดราคากลางของทางราชการ ให้ใช้ราคากลางฯ เป็นราคาเริ่มต้นการประมูลฯ หากราคาของผู้เสนอราคาหรือคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างก็ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลฯ ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 43(1) และ (3) โดยอนุโลม
4.2 ประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3 จังหวัด)
เนื่องจากสถานการณ์ไม่ปกติใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธี e-Auction มีอุปสรรค และไม่เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
การแก้ไขปัญหา
กรมบัญชีกลางมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ดุลยพินิจพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้ โดยให้รายงานกรมบัญชีกลางทราบผลการดำเนินการเป็นรายไตรมาสประจำปีงบประมาณ
4.3 ประเด็นความรู้ความเข้าใจ
การะทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง จัดประชุมสัมมนาและจัดส่งวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับระเบียบพัสดุฯ และแนวทางปฏิบัติสำหรับการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง การสร้างวิทยากรตัวคูณของกรมบัญชีกลางในสำนักงานคลังจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นที่ปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติด้านพัสดุแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค
5. แผนพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในปีงบประมาณ 2549 ประกอบด้วย
5.1 ระบบเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ปรับปรุงเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือผู้ที่สนใจทั่วไปมีความสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีความถูกต้องด้วยความรวดเร็ว ครบถ้วน ทั่วถึง รวมถึง เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.2 ระบบบริหารทะเบียนผู้ค้าภาครัฐ (Supplier Management System) เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้าภาครัฐ และการจัดกลุ่มผู้ค้าภาครัฐที่ดี
5.3 ระบบ e-Auction System เพื่อใช้เป็นต้นแบบระบบการประมูลฯ ให้ครบทั้งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตั้งแต่การจัดหา จัดทำประกาศเชิญชวน การแข่งขันเสนอราคา การประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง จนถึงการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
6. อนึ่ง สำหรับรายจ่ายลงทุนส่วนราชการในปีงบประมาณ 2548 เท่ากับ 246,895.04 ล้านบาท ซึ่งมีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประมูลฯ 96,137.08 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 38.94 ของรายจ่ายลงทุนส่วนราชการทั้งหมด เนื่องจากแนวทางการประมูลฯ มีผลบังคับใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 13 มกราคม 2548 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่จะขยายผลครอบคลุมถึงส่วนราชการ และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ทำให้มีการเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนประกาศกระทรวงการคลังฯ ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--