คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการ
วินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ.เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
และดำเนินการต่อไปได้
ข้อเท็จจริง
จากบทบัญญัติของมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.พ. ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกา
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ....
โดยมีหลักการและเหตุผลว่าคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรกึ่งตุลาการ ลักษณะการปฏิบัติหน้าที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อ
พิพาท ต้องทำงานเต็มเวลา และจะประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพอย่างอื่นที่มีลักษณะต้องห้ามมิได้หรือดำรงตำแหน่ง หรือประกอบการใด ๆ หรือเป็น
กรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนในเวลาเดียวกันกับที่ปฏิบัติหน้าที่ ก.พ.ค. ไม่ได้ ทั้งต้องดูแลคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ และ
การบริหารงานบุคคลภาครัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม และ ก.พ.ค. มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และคณะกรรมการวินิจฉัย
ร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ และเมื่อผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ต้องฟ้องคดีต่อ
ศาลปกครองสูงสุด การปฏิบัติหน้าที่ ก.พ.ค. คล้ายคลึงกับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น จึงเห็นควรกำหนดค่าตอบแทนของ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัย
อุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ โดยพิจารณาเทียบเคียงกับบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ทั้งนี้
โดยกำหนดค่าตอบแทนของประธานกรรมการ ก.พ.ค. เท่ากับอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ก.พ.ค.เท่ากับตุลาการหัวหน้า
ศาลปกครองชั้นต้น และกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เท่ากับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ส่วนประโยชน์
ตอบแทนอื่นเห็นควรเทียบเคียงกับองค์กรอิสระอื่นที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
สำนักงาน ก.พ. ได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสนอ ก.พ.พิจารณา และ ก.พ.มีมติเห็นชอบ ทั้งได้นำปรึกษากรมบัญชีกลาง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 129
วรรคสอง บัญญัติว่า การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งพระราช
บัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2551 และจะครบกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันในวันที่ 23
กรกฎาคม 2551 จึงถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อกำหนดเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของ
กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.พ.ค.
บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม
ของกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ตำแหน่ง เงินประจำตำแหน่ง (บาท/เดือน) เงินเพิ่ม (บาท/เดือน)
ประธานกรรมการ ก.พ.ค. 69,750 42,500
กรรมการ ก.พ.ค. 66,480 41,500
กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ 64,340 30,000
กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ 64,340 30,000
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--
วินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ.เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
และดำเนินการต่อไปได้
ข้อเท็จจริง
จากบทบัญญัติของมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.พ. ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกา
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ....
โดยมีหลักการและเหตุผลว่าคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรกึ่งตุลาการ ลักษณะการปฏิบัติหน้าที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อ
พิพาท ต้องทำงานเต็มเวลา และจะประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพอย่างอื่นที่มีลักษณะต้องห้ามมิได้หรือดำรงตำแหน่ง หรือประกอบการใด ๆ หรือเป็น
กรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนในเวลาเดียวกันกับที่ปฏิบัติหน้าที่ ก.พ.ค. ไม่ได้ ทั้งต้องดูแลคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ และ
การบริหารงานบุคคลภาครัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม และ ก.พ.ค. มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และคณะกรรมการวินิจฉัย
ร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ และเมื่อผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ต้องฟ้องคดีต่อ
ศาลปกครองสูงสุด การปฏิบัติหน้าที่ ก.พ.ค. คล้ายคลึงกับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น จึงเห็นควรกำหนดค่าตอบแทนของ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัย
อุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ โดยพิจารณาเทียบเคียงกับบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ทั้งนี้
โดยกำหนดค่าตอบแทนของประธานกรรมการ ก.พ.ค. เท่ากับอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ก.พ.ค.เท่ากับตุลาการหัวหน้า
ศาลปกครองชั้นต้น และกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เท่ากับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ส่วนประโยชน์
ตอบแทนอื่นเห็นควรเทียบเคียงกับองค์กรอิสระอื่นที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
สำนักงาน ก.พ. ได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสนอ ก.พ.พิจารณา และ ก.พ.มีมติเห็นชอบ ทั้งได้นำปรึกษากรมบัญชีกลาง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 129
วรรคสอง บัญญัติว่า การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งพระราช
บัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2551 และจะครบกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันในวันที่ 23
กรกฎาคม 2551 จึงถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อกำหนดเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของ
กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.พ.ค.
บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม
ของกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ตำแหน่ง เงินประจำตำแหน่ง (บาท/เดือน) เงินเพิ่ม (บาท/เดือน)
ประธานกรรมการ ก.พ.ค. 69,750 42,500
กรรมการ ก.พ.ค. 66,480 41,500
กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ 64,340 30,000
กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ 64,340 30,000
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--