คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเพื่อให้รองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. เป็นพนักงาน อ.ส.ค. ได้ทำนองเดียวกับกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ที่กำหนดให้เฉพาะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ไม่มีสถานะเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงแก้ไขลักษณะต้องห้าม เพื่อให้รองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. มีสถานะเป็นพนักงาน อ.ส.ค. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13)
2. ปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ อ.ส.ค. ในการกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการและ รองผู้อำนวยการ โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการออก เพื่อให้รองผู้อำนวยการได้รับอัตราเงินเดือนของพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 17)
3. ปรับปรุงแก้ไขการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค.ออก เพื่อให้การแต่งตั้งรองผู้อำนวยการมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19)
4. ปรับปรุงแก้ไขการพ้นจากตำแหน่งของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการออก เพื่อให้การพ้นจากตำแหน่งรองผู้อำนวยการมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20)
5. ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของมาตรา 25 เรื่อง การได้รับบำเหน็จหรือโบนัส และมาตรา 32 เรื่อง การตรวจสอบบัญชี โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการออก เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขให้สถานะของรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. เป็นพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25 และมาตรา 32)
6. กำหนดให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี ผลบังคับใช้ มีสถานะเป็นพนักงานของ อ.ส.ค. และคงได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ได้รับอยู่เดิม (ร่างมาตรา 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเพื่อให้รองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. เป็นพนักงาน อ.ส.ค. ได้ทำนองเดียวกับกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ที่กำหนดให้เฉพาะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ไม่มีสถานะเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงแก้ไขลักษณะต้องห้าม เพื่อให้รองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. มีสถานะเป็นพนักงาน อ.ส.ค. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13)
2. ปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ อ.ส.ค. ในการกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการและ รองผู้อำนวยการ โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการออก เพื่อให้รองผู้อำนวยการได้รับอัตราเงินเดือนของพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 17)
3. ปรับปรุงแก้ไขการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค.ออก เพื่อให้การแต่งตั้งรองผู้อำนวยการมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19)
4. ปรับปรุงแก้ไขการพ้นจากตำแหน่งของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการออก เพื่อให้การพ้นจากตำแหน่งรองผู้อำนวยการมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20)
5. ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของมาตรา 25 เรื่อง การได้รับบำเหน็จหรือโบนัส และมาตรา 32 เรื่อง การตรวจสอบบัญชี โดยตัดตำแหน่งรองผู้อำนวยการออก เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขให้สถานะของรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. เป็นพนักงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25 และมาตรา 32)
6. กำหนดให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี ผลบังคับใช้ มีสถานะเป็นพนักงานของ อ.ส.ค. และคงได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ได้รับอยู่เดิม (ร่างมาตรา 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--