คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า โดยที่สารระเหยเป็นยาเสพติดประเภทหนึ่งจึงสมควรให้ผู้เสพติดสารระเหยได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเช่นเดียวกับผู้เสพยาเสพติดให้โทษประเภทอื่น แต่เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ. 2546 ยังมิได้กำหนดให้ครอบคลุมถึงสารระเหย ดังนั้น จึงต้องแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้สามารถนำผู้เสพติดสารระเหยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 มิถุนายน 2550) ให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัดดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ ซึ่งก็คือร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ เพื่อรองรับการยกเลิกมาตรการบังคับรักษาตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 ให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ครบกำหนดวันที่ 1 กรกฎาคม 2551) ซึ่งต่อมากระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว (16 ตุลาคม 2550) แต่เนื่องจากขณะนั้นระยะเวลายังไม่ครบ 360 วัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ เป็นเหตุให้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ และโดยที่บัดนี้ใกล้จะครบ 360 วันแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามหลักการเดิม มาเพื่อดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง
โดยร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดให้เพิ่ม “ (4) สารระเหยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย” ในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ. 2546 ซึ่งเดิมกำหนดไว้เฉพาะยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1,2 และ 5 ตามข้อ 1 (1)-(3) แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า โดยที่สารระเหยเป็นยาเสพติดประเภทหนึ่งจึงสมควรให้ผู้เสพติดสารระเหยได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเช่นเดียวกับผู้เสพยาเสพติดให้โทษประเภทอื่น แต่เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ. 2546 ยังมิได้กำหนดให้ครอบคลุมถึงสารระเหย ดังนั้น จึงต้องแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้สามารถนำผู้เสพติดสารระเหยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 มิถุนายน 2550) ให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัดดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ ซึ่งก็คือร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ เพื่อรองรับการยกเลิกมาตรการบังคับรักษาตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 ให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ครบกำหนดวันที่ 1 กรกฎาคม 2551) ซึ่งต่อมากระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว (16 ตุลาคม 2550) แต่เนื่องจากขณะนั้นระยะเวลายังไม่ครบ 360 วัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ เป็นเหตุให้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ และโดยที่บัดนี้ใกล้จะครบ 360 วันแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามหลักการเดิม มาเพื่อดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง
โดยร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดให้เพิ่ม “ (4) สารระเหยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย” ในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ. 2546 ซึ่งเดิมกำหนดไว้เฉพาะยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1,2 และ 5 ตามข้อ 1 (1)-(3) แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--