แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
ข้าวเปลือก
จำนำข้าว
คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้ดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
2. อนุมัติงบกลางปี 2551 ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวงเงิน 1,132.17 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
3. เมื่อโครงการสิ้นสุดระยะเวลาโครงการและกระทรวงพาณิชย์ ได้ระบายหรือจำหน่ายผลิตผลที่รับจำนำไว้เสร็จสิ้นแล้ว หากมีผลขาดทุนจากผลต่างของราคาที่รับจำนำกับราคาที่จำหน่ายได้ ให้ ธ.ก.ส. ประสานกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอจัดสรรงบประมาณประจำปีชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นโครงการที่รัฐบาลใช้เป็นมาตรการช่วยเหลือหรือแทรกแซงเพื่อยกระดับราคาผลิตผลการเกษตรให้สูงขึ้นซึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพตามสภาวะเศรษฐกิจ สำหรับปี พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายนโยบายเร่งด่วนผ่าน กค. ให้ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัด เป็นผู้ดำเนินการบริหารโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ร่วมกับ พณ.กษ. และอคส. โดยจัดทำรายละเอียดโครงการเสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 และได้รับความเห็นชอบให้จัดทำโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ตามหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการ ดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบในการออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551 เพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นหลักฐานในการนำข้าวเปลือกไปฝากไว้กับโรงสีที่ขึ้นทะเบียนกับ อคส. โดย อคส. จะออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกรนำมาจำนำกับ ธ.ก.ส.สำหรับข้าวเปลือกที่เกษตรกรนำมาฝากไว้ที่โรงสีจะแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้วนำไปเก็บรักษาไว้ในโกดังกลางซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับ อคส.เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป
2 จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 3 คณะ ดังนี้
2.1 คณะทำงานพิจารณาและจัดการรับจำนำประกอบด้วย ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสมาคมโรงสีข้าวไทย เป็นคณะทำงานและผู้แทน ธ.ก.ส. เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทาง มาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับจำนำ รวมทั้งการติดตามกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน
2.2 คณะทำงานพิจารณาสีแปรสภาพข้าวเปลือกประกอบด้วย อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทน ธ.ก.ส. ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นคณะทำงาน และผู้แทนกรมการค้าภายใน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดอัตราสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และอัตราการไถ่ถอนข้าวเปลือกและกำกับดูแลการรับมอบข้าวสารตามปริมาณและคุณภาพที่รับจำนำ
2.3 คณะทำงานพิจารณาจำหน่ายข้าวสารประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทน ธ.ก.ส. ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นคณะทำงาน และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณากำหนดราคา ปริมาณ หลักเกณฑ์ วิธีการในการดำเนินการจำหน่ายข้าวสาร
ทั้งนี้ ในส่วนกลางให้กระทรวงพาณิชย์ บริหารจัดการและกำกับดูแลการดำเนินงานตามโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนในระดับจังหวัดให้คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติระดับจังหวัด กำกับดูแลการรับจำนำให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมทั้งป้องกันการสวมสิทธิ์และการทุจริต เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง
3. เป้าหมายปริมาณการรับจำนำ 3.5 ล้านตันข้าวเปลือก โดย อคส. เป็นผู้รับฝากและออกใบประทวนสินค้าตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551
4. กำหนดราคารับจำนำสำหรับข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ในความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ดังนี้
4.1 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% ราคาตันละ 14,000 บาท
4.2 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% ราคาตันละ 13,800 บาท
4.3 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% ราคาตันละ 13,600 บาท
4.4 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% ราคาตันละ 13,200 บาท
4.5 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% ราคาตันละ 12,800 บาท
4.6 ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีต้นข้าว 42 กรัม ราคาตันละ 14,000 บาท ชนิดสีต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดกรัมละ 100 บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ รวมวงเงิน 1,132.17 ล้านบาท ได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายในการรับฝากข้าวเปลือกและออกใบรับฝากและประทวนสินค้าให้แก่ อคส. ตามที่เกิดขึ้นจริงในวงเงิน 48.50 ล้านบาท
2. ค่าใช้จ่ายในการจัดการโครงการให้แก่ อคส. ในอัตราตันละ 45 บาท ตามที่เกิดขึ้นจริงในวงเงิน 112.50 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่เก็บข้าวสารหลังแปรสภาพจากข้าวเปลือกให้แก่ อคส. ในอัตราตันละ 216 บาท รวมระยะเวลา 6 เดือน เป็นเงินประมาณ 90 ล้านบาท (แยกเป็นค่าฝากเก็บ 120 บาท ค่าประกันภัย 14 บาท ค่าตรวจสอบคุณภาพ 16 บาท ค่ารักษาคุณภาพ 36 บาท และค่าขนส่งข้าวสารเข้าเก็บ 30 บาท)
4. ค่าชดเชยดอกเบี้ยเพื่อใช้เป็นทุนดำเนินงานตามโครงการให้แก่ ธ.ก.ส. ในวงเงิน 25,000 ล้านบาท ตามอัตรา MRR — 1 หรือร้อยละ 6.50 เป็นเงินประมาณ 880.17 ล้านบาท สำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 รวม 6.5 เดือน
5. ค่าใช้จ่ายในการออกใบรับรองเกษตรกรให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประมาณ 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่งการดำเนินงานจะมีภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณจากงบกลางปี 2551 ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้เบิกรับงบประมาณ จำนวนเงิน 1,132.17 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--
1. อนุมัติให้ดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
2. อนุมัติงบกลางปี 2551 ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวงเงิน 1,132.17 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
3. เมื่อโครงการสิ้นสุดระยะเวลาโครงการและกระทรวงพาณิชย์ ได้ระบายหรือจำหน่ายผลิตผลที่รับจำนำไว้เสร็จสิ้นแล้ว หากมีผลขาดทุนจากผลต่างของราคาที่รับจำนำกับราคาที่จำหน่ายได้ ให้ ธ.ก.ส. ประสานกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอจัดสรรงบประมาณประจำปีชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นโครงการที่รัฐบาลใช้เป็นมาตรการช่วยเหลือหรือแทรกแซงเพื่อยกระดับราคาผลิตผลการเกษตรให้สูงขึ้นซึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพตามสภาวะเศรษฐกิจ สำหรับปี พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายนโยบายเร่งด่วนผ่าน กค. ให้ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัด เป็นผู้ดำเนินการบริหารโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ร่วมกับ พณ.กษ. และอคส. โดยจัดทำรายละเอียดโครงการเสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 และได้รับความเห็นชอบให้จัดทำโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ตามหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการ ดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบในการออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551 เพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นหลักฐานในการนำข้าวเปลือกไปฝากไว้กับโรงสีที่ขึ้นทะเบียนกับ อคส. โดย อคส. จะออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกรนำมาจำนำกับ ธ.ก.ส.สำหรับข้าวเปลือกที่เกษตรกรนำมาฝากไว้ที่โรงสีจะแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้วนำไปเก็บรักษาไว้ในโกดังกลางซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับ อคส.เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป
2 จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 3 คณะ ดังนี้
2.1 คณะทำงานพิจารณาและจัดการรับจำนำประกอบด้วย ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสมาคมโรงสีข้าวไทย เป็นคณะทำงานและผู้แทน ธ.ก.ส. เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทาง มาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับจำนำ รวมทั้งการติดตามกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน
2.2 คณะทำงานพิจารณาสีแปรสภาพข้าวเปลือกประกอบด้วย อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทน ธ.ก.ส. ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นคณะทำงาน และผู้แทนกรมการค้าภายใน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดอัตราสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และอัตราการไถ่ถอนข้าวเปลือกและกำกับดูแลการรับมอบข้าวสารตามปริมาณและคุณภาพที่รับจำนำ
2.3 คณะทำงานพิจารณาจำหน่ายข้าวสารประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทน ธ.ก.ส. ผู้แทนองค์การคลังสินค้า ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นคณะทำงาน และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณากำหนดราคา ปริมาณ หลักเกณฑ์ วิธีการในการดำเนินการจำหน่ายข้าวสาร
ทั้งนี้ ในส่วนกลางให้กระทรวงพาณิชย์ บริหารจัดการและกำกับดูแลการดำเนินงานตามโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนในระดับจังหวัดให้คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติระดับจังหวัด กำกับดูแลการรับจำนำให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมทั้งป้องกันการสวมสิทธิ์และการทุจริต เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง
3. เป้าหมายปริมาณการรับจำนำ 3.5 ล้านตันข้าวเปลือก โดย อคส. เป็นผู้รับฝากและออกใบประทวนสินค้าตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551
4. กำหนดราคารับจำนำสำหรับข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ในความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ดังนี้
4.1 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% ราคาตันละ 14,000 บาท
4.2 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% ราคาตันละ 13,800 บาท
4.3 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% ราคาตันละ 13,600 บาท
4.4 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% ราคาตันละ 13,200 บาท
4.5 ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% ราคาตันละ 12,800 บาท
4.6 ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีต้นข้าว 42 กรัม ราคาตันละ 14,000 บาท ชนิดสีต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดกรัมละ 100 บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ รวมวงเงิน 1,132.17 ล้านบาท ได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายในการรับฝากข้าวเปลือกและออกใบรับฝากและประทวนสินค้าให้แก่ อคส. ตามที่เกิดขึ้นจริงในวงเงิน 48.50 ล้านบาท
2. ค่าใช้จ่ายในการจัดการโครงการให้แก่ อคส. ในอัตราตันละ 45 บาท ตามที่เกิดขึ้นจริงในวงเงิน 112.50 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่เก็บข้าวสารหลังแปรสภาพจากข้าวเปลือกให้แก่ อคส. ในอัตราตันละ 216 บาท รวมระยะเวลา 6 เดือน เป็นเงินประมาณ 90 ล้านบาท (แยกเป็นค่าฝากเก็บ 120 บาท ค่าประกันภัย 14 บาท ค่าตรวจสอบคุณภาพ 16 บาท ค่ารักษาคุณภาพ 36 บาท และค่าขนส่งข้าวสารเข้าเก็บ 30 บาท)
4. ค่าชดเชยดอกเบี้ยเพื่อใช้เป็นทุนดำเนินงานตามโครงการให้แก่ ธ.ก.ส. ในวงเงิน 25,000 ล้านบาท ตามอัตรา MRR — 1 หรือร้อยละ 6.50 เป็นเงินประมาณ 880.17 ล้านบาท สำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 รวม 6.5 เดือน
5. ค่าใช้จ่ายในการออกใบรับรองเกษตรกรให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประมาณ 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่งการดำเนินงานจะมีภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณจากงบกลางปี 2551 ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้เบิกรับงบประมาณ จำนวนเงิน 1,132.17 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--