คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์สรุปสาระสำคัญของผลการประชุมเอเปคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการหารือทวิภาคีในช่วงการประชุมดังกล่าว ดังนี้
1. การประชุมเอเปค
1.1 การสนับสนุนการเจรจารอบโดฮาในองค์การการค้าโลก
นาย Pascal Lamy ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก ได้สรุปให้ที่ประชุมทราบถึงสถานะการเจรจารอบโดฮาซึ่งมาถึงจุดที่สำคัญ เนื่องจากได้มีการเสนอร่างเอกสารใหม่ 4 เรื่อง คือ สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม กฎเกณฑ์ และการค้าบริการ โดยนาย Lamy ตั้งเป้าหมายว่า จะจัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีในวันที่ 26 มิถุนายน 2551 เพื่อพิจารณาประเด็นใหญ่ที่ยังค้างอยู่ พร้อมทั้งขอให้ประเทศต่างๆ พิจารณาความสมดุลระหว่างความยืดหยุ่นกับระดับการเปิดตลาดอย่างแท้จริง เพื่อให้การเจรจาสามารถสรุปผลได้ในปลายปีนี้
ในการนี้ รัฐมนตรีการค้าเอเปคได้ออกแถลงการณ์แยก (stand-alone statement) เรื่องการเจรจารอบโดฮา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองผลักดันให้การเจรจาสรุปผลในปลายปีนี้โดยมีผลการเจรจาที่สมดุลและเปิดตลาดอย่างแท้จริง และครอบคลุมทุกเรื่อง ความสำเร็จของการเจรจารอบโดฮายังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ราคาอาหารในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ร่างเอกสารใหม่ดังกล่าวได้ส่งสัญญาณที่อาจเป็นไปได้ที่การเจรจารอบโดฮาจะสรุปผล และได้เรียกร้องให้สมาชิกแสดงความยืดหยุ่นเพื่อให้การเจรจาที่กำลังจะถึงนี้สามารถมีท่าทีร่วมกันในประเด็นหลักๆ ไทยเห็นว่า ปัญหาสำคัญของการเจรจาคือ สินค้าอุตสาหกรรม โดยร่างเอกสารฉบับปัจจุบันได้ให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนากลุ่มต่างๆแล้ว ไทยจึงอยากให้ทุกประเทศรับร่างเอกสารฉบับนี้
1.2 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากขึ้นในภูมิภาค (Regional Economic Integration: REI)
ที่ประชุมได้หารือกันเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากขึ้นในภูมิภาค รวมถึงความเป็นไปได้ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิค (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) โดยให้ความเห็นชอบต่อผลงานสำคัญต่างๆ ในปี 2551 ที่จะสร้างความคืบหน้าในเรื่องนี้ เช่น ในปีนี้ เอเปคได้ศึกษาความเหมือนและแตกต่างของความตกลง FTA ที่สมาชิกเอเปคทำ และศึกษาแนวทางต่าง ๆ สำหรับการเจรจา FTAAP ในอนาคตและมอบหมายให้มีการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นและนัย (implication) ที่เกี่ยว ข้องกับ FTAAP ต่อไป โดยให้รายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคในปลายปีนี้ รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะขั้นตอนการดำเนินงานต่อไปในปี 2552 และช่วงต่อไป
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า REI คงจะเป็นงานสำคัญของเอเปคในหลายปีข้างหน้า โดย REI มีขอบเขตกว้างกว่าการเตรียมการเจรจา FTAAP ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว และได้เน้นการดำเนินการในเรื่อง REI ที่สนับสนุนการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน และ business-friendly เพื่อให้เป็นประโยชน์ในระยะสั้นก่อน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมของเอเปคที่ทำมามีประโยชน์ และน่าจะดำเนินการต่อ โดยไทยสนใจเรื่องการรวมแหล่งกำเนิดสินค้า (cumulative rules of origin) และพร้อมจะร่วมการดำเนินการเรื่องอื่นด้วย
1.3 การเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร
ที่ประชุมได้หารือถึงวิกฤติการณ์การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอาหารในตลาดโลก ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค โดยสมาชิกส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ควรมีความร่วมมือระหว่างกันเพื่อเพิ่มอุปทานอาหารและไม่ควรออกมาตรการจำกัดการส่งออก เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิม
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวและอาหารรายใหญ่ แต่ก็เข้าใจความกังวลของประเทศต่างๆ และเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหาร่วมกันของโลก ไทยไม่มีนโยบายจำกัดการส่งออกข้าวและอาหาร ได้กำหนดราคาส่งออกที่เหมาะสม และจะพยายามรักษาระดับการส่งออกเพื่อไม่ให้ตลาดโลกขาดแคลน รวมทั้งบริจาคด้วยหากจำเป็น โดยการแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วน คงต้องให้ความสำคัญกับการให้มีปริมาณข้าวและอาหารอย่างเพียงพอก่อนเนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการคงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนระยะยาวต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งเอเปคน่าจะเป็นเวทีหนึ่งที่ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น การพัฒนาภาคเกษตร และพลังงานทางเลือก เอเปคอาจมี dialogue เรื่องนี้ในอนาคต
1.4 การอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน
ที่ประชุมได้รับทราบการจัดทำตัวชี้วัด (KPI) และวิธีวัดความคืบหน้าในการปฏิบัติงานด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ช่วงที่ 2 (Trade Facilitation Action Plan: TFAP 2) เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการค้าในภูมิภาคลงอีก 5% ภายในปี 2010 หลังจากดำเนินงานสำเร็จในช่วงแรกแล้ว ประกอบ ด้วย การลดขั้นตอน/กระบวนการด้านพิธีการศุลกากร การปรับประสานมาตรฐานและการรับรอง การเคลื่อน ย้ายของนักธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งได้เห็นชอบกับแผนปฏิบัติงานการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน (Investment Facilitation Action Plan: IFAP) ในช่วงปี 2008 — 2010
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรอง model measures ภายใต้ RTAs/FTAs เพิ่มอีกจำนวน 3 ฉบับที่ใช้เป็นแนวทางการจัดทำ RTAs/FTAs ของสมาชิกเอเปค ประกอบด้วย นโยบายการแข่งขัน สิ่งแวดล้อม และการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ทำให้ปัจจุบันมี model measures ที่จัดทำแล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น 13 เรื่อง เหลืออยู่อีก 5 เรื่องที่จะต้องให้เสร็จในปีนี้
2. การหารือทวิภาคี
นิวซีแลนด์
นาย Philip Bruce Goff รัฐมนตรีการค้าของนิวซีแลนด์ได้แจ้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ว่า ในความตกลง Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership Agreement (TNZCEP) นิวซีแลนด์สนใจเรื่อง การค้าบริการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้ให้มีการเจรจาภายใน 3 ปีนับจากความตกลง TNZCEP มีผลใช้บังคับ (1 กรกฎาคม 2548) และความตกลง ASEAN-Australia —New-Zealand Free Trade Agreement โดยนิวซีแลนด์ขอให้ไทยร่วมกับสิงคโปร์และบรูไนช่วยกระตุ้นให้สมาชิกอาเซียนที่เหลือเกี่ยวกับการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังได้ขอเข้ามามีส่วนร่วมการทำงานในเรื่อง Closer Economic Partnership of East Asia (CEPEA) อย่างใกล้ชิด
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวตอบว่า ไทยยินดีจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับการทำงานในเรื่องเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ในเรื่อง TNZCEP ไทยจะต้องยึดการดำเนิน การให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550
การหารือกับนาย Pascal Lamy
นาย Lamy ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก กล่าวถึง ความสำคัญของไทยในการช่วยผลักดันการเจรจารอบโดฮาให้บรรลุผลสำเร็จในปลายปีนี้ มิฉะนั้นอาจต้องหยุดชะงักไป 2 ปี เนื่องจากการ เลือกตั้งของสหรัฐฯ และอินเดีย รวมทั้งได้กล่าวถึง จุดยืนของไทยในประเด็นด้านการค้าที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง นอกจากนี้ ยังขอให้ไทยให้ความสำคัญในเรื่องการค้าบริการ โดยเฉพาะสาขาบริการที่ไทยมีความอ่อนไหวก็ขอให้ไทยมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น โทรคมนาคม ธนาคาร และประกันภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--
1. การประชุมเอเปค
1.1 การสนับสนุนการเจรจารอบโดฮาในองค์การการค้าโลก
นาย Pascal Lamy ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก ได้สรุปให้ที่ประชุมทราบถึงสถานะการเจรจารอบโดฮาซึ่งมาถึงจุดที่สำคัญ เนื่องจากได้มีการเสนอร่างเอกสารใหม่ 4 เรื่อง คือ สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม กฎเกณฑ์ และการค้าบริการ โดยนาย Lamy ตั้งเป้าหมายว่า จะจัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีในวันที่ 26 มิถุนายน 2551 เพื่อพิจารณาประเด็นใหญ่ที่ยังค้างอยู่ พร้อมทั้งขอให้ประเทศต่างๆ พิจารณาความสมดุลระหว่างความยืดหยุ่นกับระดับการเปิดตลาดอย่างแท้จริง เพื่อให้การเจรจาสามารถสรุปผลได้ในปลายปีนี้
ในการนี้ รัฐมนตรีการค้าเอเปคได้ออกแถลงการณ์แยก (stand-alone statement) เรื่องการเจรจารอบโดฮา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองผลักดันให้การเจรจาสรุปผลในปลายปีนี้โดยมีผลการเจรจาที่สมดุลและเปิดตลาดอย่างแท้จริง และครอบคลุมทุกเรื่อง ความสำเร็จของการเจรจารอบโดฮายังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ราคาอาหารในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ร่างเอกสารใหม่ดังกล่าวได้ส่งสัญญาณที่อาจเป็นไปได้ที่การเจรจารอบโดฮาจะสรุปผล และได้เรียกร้องให้สมาชิกแสดงความยืดหยุ่นเพื่อให้การเจรจาที่กำลังจะถึงนี้สามารถมีท่าทีร่วมกันในประเด็นหลักๆ ไทยเห็นว่า ปัญหาสำคัญของการเจรจาคือ สินค้าอุตสาหกรรม โดยร่างเอกสารฉบับปัจจุบันได้ให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนากลุ่มต่างๆแล้ว ไทยจึงอยากให้ทุกประเทศรับร่างเอกสารฉบับนี้
1.2 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากขึ้นในภูมิภาค (Regional Economic Integration: REI)
ที่ประชุมได้หารือกันเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากขึ้นในภูมิภาค รวมถึงความเป็นไปได้ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิค (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) โดยให้ความเห็นชอบต่อผลงานสำคัญต่างๆ ในปี 2551 ที่จะสร้างความคืบหน้าในเรื่องนี้ เช่น ในปีนี้ เอเปคได้ศึกษาความเหมือนและแตกต่างของความตกลง FTA ที่สมาชิกเอเปคทำ และศึกษาแนวทางต่าง ๆ สำหรับการเจรจา FTAAP ในอนาคตและมอบหมายให้มีการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นและนัย (implication) ที่เกี่ยว ข้องกับ FTAAP ต่อไป โดยให้รายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคในปลายปีนี้ รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะขั้นตอนการดำเนินงานต่อไปในปี 2552 และช่วงต่อไป
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า REI คงจะเป็นงานสำคัญของเอเปคในหลายปีข้างหน้า โดย REI มีขอบเขตกว้างกว่าการเตรียมการเจรจา FTAAP ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว และได้เน้นการดำเนินการในเรื่อง REI ที่สนับสนุนการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน และ business-friendly เพื่อให้เป็นประโยชน์ในระยะสั้นก่อน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมของเอเปคที่ทำมามีประโยชน์ และน่าจะดำเนินการต่อ โดยไทยสนใจเรื่องการรวมแหล่งกำเนิดสินค้า (cumulative rules of origin) และพร้อมจะร่วมการดำเนินการเรื่องอื่นด้วย
1.3 การเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร
ที่ประชุมได้หารือถึงวิกฤติการณ์การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอาหารในตลาดโลก ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค โดยสมาชิกส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ควรมีความร่วมมือระหว่างกันเพื่อเพิ่มอุปทานอาหารและไม่ควรออกมาตรการจำกัดการส่งออก เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิม
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวและอาหารรายใหญ่ แต่ก็เข้าใจความกังวลของประเทศต่างๆ และเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหาร่วมกันของโลก ไทยไม่มีนโยบายจำกัดการส่งออกข้าวและอาหาร ได้กำหนดราคาส่งออกที่เหมาะสม และจะพยายามรักษาระดับการส่งออกเพื่อไม่ให้ตลาดโลกขาดแคลน รวมทั้งบริจาคด้วยหากจำเป็น โดยการแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วน คงต้องให้ความสำคัญกับการให้มีปริมาณข้าวและอาหารอย่างเพียงพอก่อนเนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการคงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนระยะยาวต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งเอเปคน่าจะเป็นเวทีหนึ่งที่ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น การพัฒนาภาคเกษตร และพลังงานทางเลือก เอเปคอาจมี dialogue เรื่องนี้ในอนาคต
1.4 การอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน
ที่ประชุมได้รับทราบการจัดทำตัวชี้วัด (KPI) และวิธีวัดความคืบหน้าในการปฏิบัติงานด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ช่วงที่ 2 (Trade Facilitation Action Plan: TFAP 2) เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการค้าในภูมิภาคลงอีก 5% ภายในปี 2010 หลังจากดำเนินงานสำเร็จในช่วงแรกแล้ว ประกอบ ด้วย การลดขั้นตอน/กระบวนการด้านพิธีการศุลกากร การปรับประสานมาตรฐานและการรับรอง การเคลื่อน ย้ายของนักธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งได้เห็นชอบกับแผนปฏิบัติงานการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน (Investment Facilitation Action Plan: IFAP) ในช่วงปี 2008 — 2010
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรอง model measures ภายใต้ RTAs/FTAs เพิ่มอีกจำนวน 3 ฉบับที่ใช้เป็นแนวทางการจัดทำ RTAs/FTAs ของสมาชิกเอเปค ประกอบด้วย นโยบายการแข่งขัน สิ่งแวดล้อม และการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ทำให้ปัจจุบันมี model measures ที่จัดทำแล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น 13 เรื่อง เหลืออยู่อีก 5 เรื่องที่จะต้องให้เสร็จในปีนี้
2. การหารือทวิภาคี
นิวซีแลนด์
นาย Philip Bruce Goff รัฐมนตรีการค้าของนิวซีแลนด์ได้แจ้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ว่า ในความตกลง Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership Agreement (TNZCEP) นิวซีแลนด์สนใจเรื่อง การค้าบริการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้ให้มีการเจรจาภายใน 3 ปีนับจากความตกลง TNZCEP มีผลใช้บังคับ (1 กรกฎาคม 2548) และความตกลง ASEAN-Australia —New-Zealand Free Trade Agreement โดยนิวซีแลนด์ขอให้ไทยร่วมกับสิงคโปร์และบรูไนช่วยกระตุ้นให้สมาชิกอาเซียนที่เหลือเกี่ยวกับการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังได้ขอเข้ามามีส่วนร่วมการทำงานในเรื่อง Closer Economic Partnership of East Asia (CEPEA) อย่างใกล้ชิด
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวตอบว่า ไทยยินดีจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับการทำงานในเรื่องเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ในเรื่อง TNZCEP ไทยจะต้องยึดการดำเนิน การให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550
การหารือกับนาย Pascal Lamy
นาย Lamy ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก กล่าวถึง ความสำคัญของไทยในการช่วยผลักดันการเจรจารอบโดฮาให้บรรลุผลสำเร็จในปลายปีนี้ มิฉะนั้นอาจต้องหยุดชะงักไป 2 ปี เนื่องจากการ เลือกตั้งของสหรัฐฯ และอินเดีย รวมทั้งได้กล่าวถึง จุดยืนของไทยในประเด็นด้านการค้าที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง นอกจากนี้ ยังขอให้ไทยให้ความสำคัญในเรื่องการค้าบริการ โดยเฉพาะสาขาบริการที่ไทยมีความอ่อนไหวก็ขอให้ไทยมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น โทรคมนาคม ธนาคาร และประกันภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--