คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีแรงงานของกลุ่มประเทศจี 8 และการเยี่ยมผู้ฝึกงานไทยในประเทศญี่ปุ่นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอดังนี้
กระทรวงแรงงานรายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะข้าราชการกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีแรงงานของกลุ่มประเทศจี 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ณ จังหวัดนีกาตะ และเยี่ยมผู้ฝึกงานไทยในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10 — 15 พฤษภาคม 2551 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น ได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
กล่าวคำปราศรัยในประเด็น “การปรับตัวและการนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งพันธะของกลุ่มประเทศจี 8 ที่มีต่อสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์” และขอให้ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องและร่วมแถลงข่าวด้วย
2. เป้าหมายของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานของกลุ่มประเทศจี 8 ในปีนี้เน้นให้ความสำคัญ 3 ประเด็น คือ การปรับตัวและการรักษาดุลยภาพในการใช้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตทำงานเมื่อประชากรต้องมีอายุสูงขึ้น การกำหนดนโยบาย ด้านการจ้างงานที่เอื้ออาทรต่อกลุ่มแรงานที่เสียเปรียบ รวมถึงบทบาทและพันธะของกลุ่มจี 8 ต่อสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
3. ประเทศกลุ่มจี 8 ให้ความสำคัญต่อเรื่องข้างต้น เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมาแม้จะยกมาตรฐานของประชากรในกลุ่มให้สูงขึ้น แต่หากจะให้ยั่งยืนจำเป็นต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างของรายได้ที่นับวันจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภายใต้การผันแปรของเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อคนทำงาน จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมการในเรื่องการเตรียมคนที่มีความสามารถและมีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น และจะเกิดตามมาเมื่อประชากรมีอายุสูงขึ้น และเพื่อประกันว่าคนงานเหล่านั้นสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขภายใต้สภาพแวดล้อมที่ได้รับการปรับปรุงและไม่เบียดเบียนธรรมชาติมากเกินไป
4. ที่ประชุมเห็นพ้องว่าเพื่อให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายในส่วนของบุคคล จะต้องมีการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความมั่นคงภายหลังเลิกทำงาน การพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตทำงาน ที่สำคัญรัฐบาลแต่ละประเทศจำเป็นต้องเหลียวแลและเอาใจใส่ต่อแรงงานซึ่งก้าวไม่ทันหรืออยู่ในฐานะด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบด้วย ทั้งนี้ จะต้องดึงทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมและควรให้ความสำคัญต่อหน่วยงานท้องถิ่นในการมีบทบาทจ้างงาน การจัดสรรทรัพยากร การจัดระบบประกันสังคมและการจัดหางาน
5. ในส่วนของความรับผิดชอบของกลุ่มจี 8 ต่อสังคม ที่ประชุมสรุปว่ากลุ่มจี 8 มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ดูแลเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมภายในกลุ่ม แต่ควรถ่ายทอดประสบการณ์การเข้าร่วมหารือกับประเทศกำลังพัฒนา เช่น การประชุมระดับระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ กลุ่มจี 8 เห็นว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องอยู่บนพื้นฐาน 3 ประการ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญและตระหนักถึงการประเมินผลกระทบต่อสังคมจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและการช่วยเหลือคนทำงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน การส่งเสริมทักษะภายใต้การจ้างงานที่เอื้ออาทรต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดและปรับระบบการทำงาน การใช้วัตถุดิบหมุนเวียน ตลอดจนการปรับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้กลุ่มจี 8 สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีต่อประเทศกำลังพัฒนา
6. คำปราศรัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทยได้กล่าวครอบคลุมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร องค์ประกอบการจ้างงานที่ยังมีกลุ่มแรงงานนอกระบบจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสที่ควรได้รับการคุ้มครองดูแลและเห็นพ้องว่าประเทศพัฒนาแล้วมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติจำเป็นต้องเอื้ออาทรต่อสังคม ซึ่งตนเองเข้าไปลงทุนให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของผู้ใช้แรงงานควรยึดแนวทางประหยัด และปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ย้ำความสำคัญของรัฐบาลที่ให้ความใส่ใจต่อกลุ่มแรงงานที่เสียเปรียบ อาทิ การขยายระบบประกันสังคมไปสู่แรงงานอิสระ การแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานรับงานไปทำที่บ้านและการคุ้มครองลูกจ้างในภาคเกษตร
7. ในการแถลงข่าวของกลุ่มจี 8 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเข้าร่วมด้วยได้มีการสอบถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานถึงความคาดหวังของไทยต่อกลุ่มจี 8 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นว่าสังคมโลกต้องให้ความสำคัญต่อการขจัดความยากจน ซึ่งเป็นปัจจัยมูลฐานสำคัญที่จะต้องดำเนินการเพราะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมและการพัฒนาที่ยังยืน การให้ความสำคัญต่อแรงงานด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบและการให้ความสำคัญต่อท้องถิ่นในการใช้ภูมิปัญญาให้เป็นประโยชน์
8. ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 หน่วยงาน IMM Japan ได้จัดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะเข้าเยี่ยมบริษัทยามาฮ่า มารีน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องยนต์เรือที่มีชื่อเสียง มีลูกค้าจาก 180 ประเทศทั่วโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดสินค้าถึงร้อยละ 40 ของโลก ซึ่งจากการพบปะผู้ฝึกงานไทยทราบว่าทุกคนมีความสุข และพอใจกับการทำงานและจากการหารือกับผู้บริหารบริษัทแห่งนี้ทราบว่ามีความพอใจผู้ฝึกงานไทยและมีแนวโน้มจะรับคนไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวได้ว่าจ้างผู้ฝึกงานเยาวชนไทย จำนวน 24 คน และจะว่าจ้างเพิ่มเติมอีก 18 คน ในเดือนมิถุนายน 2551
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--
กระทรวงแรงงานรายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะข้าราชการกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีแรงงานของกลุ่มประเทศจี 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ณ จังหวัดนีกาตะ และเยี่ยมผู้ฝึกงานไทยในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10 — 15 พฤษภาคม 2551 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น ได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
กล่าวคำปราศรัยในประเด็น “การปรับตัวและการนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งพันธะของกลุ่มประเทศจี 8 ที่มีต่อสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์” และขอให้ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องและร่วมแถลงข่าวด้วย
2. เป้าหมายของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานของกลุ่มประเทศจี 8 ในปีนี้เน้นให้ความสำคัญ 3 ประเด็น คือ การปรับตัวและการรักษาดุลยภาพในการใช้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตทำงานเมื่อประชากรต้องมีอายุสูงขึ้น การกำหนดนโยบาย ด้านการจ้างงานที่เอื้ออาทรต่อกลุ่มแรงานที่เสียเปรียบ รวมถึงบทบาทและพันธะของกลุ่มจี 8 ต่อสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
3. ประเทศกลุ่มจี 8 ให้ความสำคัญต่อเรื่องข้างต้น เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมาแม้จะยกมาตรฐานของประชากรในกลุ่มให้สูงขึ้น แต่หากจะให้ยั่งยืนจำเป็นต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างของรายได้ที่นับวันจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภายใต้การผันแปรของเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อคนทำงาน จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมการในเรื่องการเตรียมคนที่มีความสามารถและมีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น และจะเกิดตามมาเมื่อประชากรมีอายุสูงขึ้น และเพื่อประกันว่าคนงานเหล่านั้นสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขภายใต้สภาพแวดล้อมที่ได้รับการปรับปรุงและไม่เบียดเบียนธรรมชาติมากเกินไป
4. ที่ประชุมเห็นพ้องว่าเพื่อให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายในส่วนของบุคคล จะต้องมีการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความมั่นคงภายหลังเลิกทำงาน การพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตทำงาน ที่สำคัญรัฐบาลแต่ละประเทศจำเป็นต้องเหลียวแลและเอาใจใส่ต่อแรงงานซึ่งก้าวไม่ทันหรืออยู่ในฐานะด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบด้วย ทั้งนี้ จะต้องดึงทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมและควรให้ความสำคัญต่อหน่วยงานท้องถิ่นในการมีบทบาทจ้างงาน การจัดสรรทรัพยากร การจัดระบบประกันสังคมและการจัดหางาน
5. ในส่วนของความรับผิดชอบของกลุ่มจี 8 ต่อสังคม ที่ประชุมสรุปว่ากลุ่มจี 8 มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ดูแลเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมภายในกลุ่ม แต่ควรถ่ายทอดประสบการณ์การเข้าร่วมหารือกับประเทศกำลังพัฒนา เช่น การประชุมระดับระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ กลุ่มจี 8 เห็นว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องอยู่บนพื้นฐาน 3 ประการ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญและตระหนักถึงการประเมินผลกระทบต่อสังคมจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและการช่วยเหลือคนทำงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน การส่งเสริมทักษะภายใต้การจ้างงานที่เอื้ออาทรต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดและปรับระบบการทำงาน การใช้วัตถุดิบหมุนเวียน ตลอดจนการปรับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้กลุ่มจี 8 สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีต่อประเทศกำลังพัฒนา
6. คำปราศรัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทยได้กล่าวครอบคลุมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร องค์ประกอบการจ้างงานที่ยังมีกลุ่มแรงงานนอกระบบจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสที่ควรได้รับการคุ้มครองดูแลและเห็นพ้องว่าประเทศพัฒนาแล้วมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติจำเป็นต้องเอื้ออาทรต่อสังคม ซึ่งตนเองเข้าไปลงทุนให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของผู้ใช้แรงงานควรยึดแนวทางประหยัด และปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ย้ำความสำคัญของรัฐบาลที่ให้ความใส่ใจต่อกลุ่มแรงงานที่เสียเปรียบ อาทิ การขยายระบบประกันสังคมไปสู่แรงงานอิสระ การแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานรับงานไปทำที่บ้านและการคุ้มครองลูกจ้างในภาคเกษตร
7. ในการแถลงข่าวของกลุ่มจี 8 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเข้าร่วมด้วยได้มีการสอบถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานถึงความคาดหวังของไทยต่อกลุ่มจี 8 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นว่าสังคมโลกต้องให้ความสำคัญต่อการขจัดความยากจน ซึ่งเป็นปัจจัยมูลฐานสำคัญที่จะต้องดำเนินการเพราะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมและการพัฒนาที่ยังยืน การให้ความสำคัญต่อแรงงานด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบและการให้ความสำคัญต่อท้องถิ่นในการใช้ภูมิปัญญาให้เป็นประโยชน์
8. ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 หน่วยงาน IMM Japan ได้จัดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะเข้าเยี่ยมบริษัทยามาฮ่า มารีน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องยนต์เรือที่มีชื่อเสียง มีลูกค้าจาก 180 ประเทศทั่วโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดสินค้าถึงร้อยละ 40 ของโลก ซึ่งจากการพบปะผู้ฝึกงานไทยทราบว่าทุกคนมีความสุข และพอใจกับการทำงานและจากการหารือกับผู้บริหารบริษัทแห่งนี้ทราบว่ามีความพอใจผู้ฝึกงานไทยและมีแนวโน้มจะรับคนไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวได้ว่าจ้างผู้ฝึกงานเยาวชนไทย จำนวน 24 คน และจะว่าจ้างเพิ่มเติมอีก 18 คน ในเดือนมิถุนายน 2551
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 มิถุนายน 2551--จบ--