คณะรัฐมนตรีพิจารณาการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการ แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และพื้นที่ดำเนินการโครงการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2549 ดังนี้
1) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อให้มีการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบของ 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ในลักษณะของการเยียวยาเพื่อให้สามารถดำรงชีพได้อย่างพอเพียง ให้มีการพัฒนาและส่งเสริมสันติสุขในชุมชน ในลักษณะเครือข่ายการประสานงานกับองค์กรในชุมชน ทั้งโรงเรียน องค์กรศาสนาในท้องถิ่นและให้ชุมชนสามารถดูแลขบวนการพัฒนาสันติสุขในชุมชนได้ด้วยตนเอง รวมทั้งให้มีการพัฒนาอาชีพตามแนวพระราชเสาวนีย์ในโครงการฟาร์มตัวอย่าง และโครงการพัฒนาอาชีพ ทั้งในด้านภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรตามความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ให้กำหนดพื้นที่เป้าหมายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และเขต 4 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา (จะนะ สะบ้าย้อย เทพา และนาทวี) โดยที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มภารกิจการจ้างงานไว้ 5 กลุ่ม ดังนี้
1.1 กลุ่มภารกิจโครงการตามพระราชเสาวนีย์ จำนวน 10,000 อัตรา กำหนดการจ้างงาน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นผู้ดำเนินการ
1.2 กลุ่มภารกิจโครงการช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จำนวน 2,300 อัตรา โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2548
1.3 กลุ่มภารกิจโครงการเสริมสร้างสันติสุขในชุมชน จำนวน 11,810 อัตรา เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548
1.4 กลุ่มภารกิจเพื่อพัฒนาอาชีพตามความต้องการของประชาชน จำนวน 10,000 อัตรา
1.5 กลุ่มสำรองไว้เพื่อความจำเป็นเร่งด่วน จำนวน 7,890 อัตรา
2) แนวทางและวิธีการดำเนินการ
2.1 จ้างเพื่อโครงการตามพระราชเสาวนีย์ฯ เริ่มจ้างได้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548
2.2 มอบให้ กอ.สสส.จชต. กอ.สสส.จังหวัด กอ.สสส.อำเภอ และสำนักงานจัดหางานจังหวัดดำเนินการรับสมัครและจัดจ้างในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- กลุ่มจ้างงาน เพื่อเยียวยาช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ รับสมัครและจ้างงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548
- กลุ่มจ้างงาน เพื่อเสริมสร้างสันติสุขในชุมชน และเพื่อพัฒนาอาชีพ รับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 และจ้างงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548
2.3 กำหนดให้ผู้รับจ้างเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในชุมชนและเพื่อพัฒนาอาชีพ มีการฝึกอบรมศึกษาดูงานตามหลักสูตรที่กำหนดขึ้นเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อสร้างความเข้าใจก่อนเริ่มปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายแต่ละตำแหน่งงาน โดยได้รับค่าจ้างเหมือนกับช่วงปฏิบัติงาน
2.4 อัตราค่าจ้าง กำหนดคนละ 4,500 บาท/เดือน หรือวันละ 150 บาท
2.5 จัดทำฐานข้อมูลการจ้างงานในระดับจังหวัด โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบด้วยการสนับสนุนกำลังคนและงบประมาณจาก กอ.สสส.จชต. และจัดทำฐานข้อมูลการจ้างงานในภาพรวม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดย กอ.สสส.จชต. เป็นผู้รับผิดชอบ
2.6 กำหนดให้มีการติดตามประเมินผลทุก ๆ 4 เดือน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.7 การฝึกอบรมด้านอาชีพการเกษตรและนอกภาคการเกษตร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรมในโครงการ
2. เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณโครงการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนปี 2549 จำนวน 2,294 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (5,000 ล้านบาท) ไปก่อน และหากมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพิ่มเติมมากกว่าวงเงินของรายการค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5,000 ล้านบาท เห็นควรให้คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) พิจารณากลั่นกรอง แล้วแจ้งทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพิ่มเติมตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการ แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และพื้นที่ดำเนินการโครงการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2549 ดังนี้
1) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อให้มีการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบของ 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ในลักษณะของการเยียวยาเพื่อให้สามารถดำรงชีพได้อย่างพอเพียง ให้มีการพัฒนาและส่งเสริมสันติสุขในชุมชน ในลักษณะเครือข่ายการประสานงานกับองค์กรในชุมชน ทั้งโรงเรียน องค์กรศาสนาในท้องถิ่นและให้ชุมชนสามารถดูแลขบวนการพัฒนาสันติสุขในชุมชนได้ด้วยตนเอง รวมทั้งให้มีการพัฒนาอาชีพตามแนวพระราชเสาวนีย์ในโครงการฟาร์มตัวอย่าง และโครงการพัฒนาอาชีพ ทั้งในด้านภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรตามความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ให้กำหนดพื้นที่เป้าหมายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และเขต 4 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา (จะนะ สะบ้าย้อย เทพา และนาทวี) โดยที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มภารกิจการจ้างงานไว้ 5 กลุ่ม ดังนี้
1.1 กลุ่มภารกิจโครงการตามพระราชเสาวนีย์ จำนวน 10,000 อัตรา กำหนดการจ้างงาน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นผู้ดำเนินการ
1.2 กลุ่มภารกิจโครงการช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จำนวน 2,300 อัตรา โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2548
1.3 กลุ่มภารกิจโครงการเสริมสร้างสันติสุขในชุมชน จำนวน 11,810 อัตรา เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548
1.4 กลุ่มภารกิจเพื่อพัฒนาอาชีพตามความต้องการของประชาชน จำนวน 10,000 อัตรา
1.5 กลุ่มสำรองไว้เพื่อความจำเป็นเร่งด่วน จำนวน 7,890 อัตรา
2) แนวทางและวิธีการดำเนินการ
2.1 จ้างเพื่อโครงการตามพระราชเสาวนีย์ฯ เริ่มจ้างได้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548
2.2 มอบให้ กอ.สสส.จชต. กอ.สสส.จังหวัด กอ.สสส.อำเภอ และสำนักงานจัดหางานจังหวัดดำเนินการรับสมัครและจัดจ้างในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- กลุ่มจ้างงาน เพื่อเยียวยาช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ รับสมัครและจ้างงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548
- กลุ่มจ้างงาน เพื่อเสริมสร้างสันติสุขในชุมชน และเพื่อพัฒนาอาชีพ รับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 และจ้างงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548
2.3 กำหนดให้ผู้รับจ้างเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในชุมชนและเพื่อพัฒนาอาชีพ มีการฝึกอบรมศึกษาดูงานตามหลักสูตรที่กำหนดขึ้นเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อสร้างความเข้าใจก่อนเริ่มปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายแต่ละตำแหน่งงาน โดยได้รับค่าจ้างเหมือนกับช่วงปฏิบัติงาน
2.4 อัตราค่าจ้าง กำหนดคนละ 4,500 บาท/เดือน หรือวันละ 150 บาท
2.5 จัดทำฐานข้อมูลการจ้างงานในระดับจังหวัด โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบด้วยการสนับสนุนกำลังคนและงบประมาณจาก กอ.สสส.จชต. และจัดทำฐานข้อมูลการจ้างงานในภาพรวม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดย กอ.สสส.จชต. เป็นผู้รับผิดชอบ
2.6 กำหนดให้มีการติดตามประเมินผลทุก ๆ 4 เดือน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.7 การฝึกอบรมด้านอาชีพการเกษตรและนอกภาคการเกษตร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นหน่วยงานหลักในการฝึกอบรมในโครงการ
2. เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณโครงการสร้างงานและจ้างงานเร่งด่วนปี 2549 จำนวน 2,294 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (5,000 ล้านบาท) ไปก่อน และหากมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพิ่มเติมมากกว่าวงเงินของรายการค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5,000 ล้านบาท เห็นควรให้คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) พิจารณากลั่นกรอง แล้วแจ้งทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพิ่มเติมตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--