คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานที่เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1. พิธีสารเลือกรับ เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ พิธีสารฉบับนี้เป็น พิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 38 คือ ห้ามเกณฑ์เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นทหารในภาวะสงคราม ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีสาระสำคัญประกอบด้วยข้อบท 13 ข้อ โดยมีหลักการให้รัฐภาคีรับรองสิทธิและประกันว่าบุคคลที่มีอายุไม่ถึง 18 จะไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบและไม่ถูกบังคับให้เข้าร่วมในกองทัพ รายละเอียด โดยสรุปดังนี้
1.1 ข้อ 1-4 ว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับการประกันว่าบุคคลที่อายุไม่ถึง 18 ปี จะไม่เข้าร่วมในการสู้รบ รวมถึงการไม่ถูกคัดเลือกโดยไม่สมัครใจเข้าร่วมในกองทัพของรัฐภาคี ตลอดจนกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ โดยให้รัฐภาคี จัดทำคำประกาศ ซึ่งกำหนดอายุขั้นต่ำในการเข้าร่วมในกองทัพโดยสมัครใจ
1.2 ข้อ 5-7 ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องรวมถึงการ ดำเนินมาตรการตามข้อบทของพิธีสารและการให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือระดับพหุภาคีหรือทวิภาคีในด้านการฟื้นฟูด้านวิชาการ และด้านการเงิน
1.3 ข้อ 8-13 ว่าด้วยการทำรายงานหลังการเข้าเป็นภาคีแล้ว 2 ปี จากนั้นให้เสนอรวมในรายงาน ผลการดำเนินงานตามอนุสัญญา ทุก ๆ 5 ปี และการเข้าเป็นภาคีและถอนตัวจากพิธีสาร
2. พิธีสารเลือกรับเรื่อง การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก พิธีสารฉบับนี้เป็นพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 32, 34, 35 ซึ่งว่าด้วยการแสวงประโยชน์จากเด็กทางเศรษฐกิจและ ทางเพศ มีสาระประกอบด้วยข้อบท 17 ข้อ โดยมีหลักการที่มุ่งการคุ้มครองเด็กจากการแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจทางเพศ และพัฒนาการทางร่างกายและจิตวิญญาณของเด็ก รายละเอียดโดยสรุปมีดังนี้
2.1 ข้อ 1-3 ว่าด้วยการห้ามให้มีและกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาสำหรับการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก และได้ให้คำนิยามไว้ดังนี้
(1) การค้าเด็ก หมายถึง การกระทำที่เด็กถูกส่งมอบโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไปยังอีกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์
(2) การค้าประเวณีเด็ก หมายถึง การใช้เด็กในกิจกรรมทางเพศ เพื่อค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์
(3) สื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก หมายถึง การนำเสนอกิจกรรมทางเพศหรือส่วนใดในทางเพศ ของเด็กจากตัวตนจริงหรือการทำจำลองเพื่อจุดประสงค์ในทางเพศ
2.2 ข้อ 4-6 ว่าด้วยมาตรการในการกำหนดเขตอำนาจความผิด การส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการสืบสวนสอบสวน หรือกระบวนการทางอาญา ซึ่งรัฐภาคีต้องดำเนินการตามสนธิสัญญาหรือความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือที่มีอยู่ระหว่างกัน ในกรณีที่ไม่มีสนธิสัญญาหรือความตกลงดังกล่าว รัฐภาคีต้องดำเนินการให้รัฐภาคีอีกรัฐหนึ่งในการช่วยเหลือ โดยสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศของตน
2.3 ข้อ 7 ว่าด้วยการกำหนดมาตรการในการริบทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
2.4 ข้อ 8 ว่าด้วยการจัดมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของเด็กได้แก่ กระบวนการพิจารณาคดีที่คำนึงถึงความต้องการเป็นพิเศษของเด็ก การคุ้มครองเอกลักษณ์ความเป็นส่วนตัวของเด็กและพยาน เป็นต้น
2.5 ข้อ 9 ว่าด้วยนโยบายในการป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมความรู้ทางกฎหมายและความตระหนักของสาธารณชน ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก
2.6 ข้อ 10 ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการบำบัดฟื้นฟูและส่งกลับเด็กผู้ได้รับเคราะห์
2.7 ข้อ 11 — 17 ว่าด้วยการจัดทำรายงานหลังจากเข้าเป็นภาคีแล้ว 2 ปี จากนั้นให้เสนอรวมใน รายงานผลการดำเนินงานตามอนุสัญญา ทุก ๆ 5 ปี และการเข้าเป็นภาคีและการถอนตัวจากพิธีสาร
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีความเห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมาย นโยบาย และการดำเนินงานรองรับพิธีสารเลือกรับทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวอยู่แล้ว และการเข้าเป็นภาคีพิธีสารจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยหลายประการ ได้แก่
1. ประเทศไทยจะเป็นที่ยอมรับในกลุ่มประชาคมโลกที่แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการปกป้องสิทธิเด็กจากความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และการตกเป็นเหยื่อของสื่อลามกอนาจาร
2. ความร่วมมือในกลุ่มประเทศภาคีในการคุ้มครองสิทธิเด็กอันจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิเด็ก รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ และการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก
3. ทำให้เกิดการพัฒนากลไกในการปกป้องคุ้มครองเด็กในประเทศไทยในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า ไม่ขัดข้องที่ไทยจะเข้าเป็นภาคีพิธีสารดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. พิธีสารเลือกรับ เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ พิธีสารฉบับนี้เป็น พิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 38 คือ ห้ามเกณฑ์เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นทหารในภาวะสงคราม ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีสาระสำคัญประกอบด้วยข้อบท 13 ข้อ โดยมีหลักการให้รัฐภาคีรับรองสิทธิและประกันว่าบุคคลที่มีอายุไม่ถึง 18 จะไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบและไม่ถูกบังคับให้เข้าร่วมในกองทัพ รายละเอียด โดยสรุปดังนี้
1.1 ข้อ 1-4 ว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับการประกันว่าบุคคลที่อายุไม่ถึง 18 ปี จะไม่เข้าร่วมในการสู้รบ รวมถึงการไม่ถูกคัดเลือกโดยไม่สมัครใจเข้าร่วมในกองทัพของรัฐภาคี ตลอดจนกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ โดยให้รัฐภาคี จัดทำคำประกาศ ซึ่งกำหนดอายุขั้นต่ำในการเข้าร่วมในกองทัพโดยสมัครใจ
1.2 ข้อ 5-7 ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องรวมถึงการ ดำเนินมาตรการตามข้อบทของพิธีสารและการให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือระดับพหุภาคีหรือทวิภาคีในด้านการฟื้นฟูด้านวิชาการ และด้านการเงิน
1.3 ข้อ 8-13 ว่าด้วยการทำรายงานหลังการเข้าเป็นภาคีแล้ว 2 ปี จากนั้นให้เสนอรวมในรายงาน ผลการดำเนินงานตามอนุสัญญา ทุก ๆ 5 ปี และการเข้าเป็นภาคีและถอนตัวจากพิธีสาร
2. พิธีสารเลือกรับเรื่อง การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก พิธีสารฉบับนี้เป็นพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 32, 34, 35 ซึ่งว่าด้วยการแสวงประโยชน์จากเด็กทางเศรษฐกิจและ ทางเพศ มีสาระประกอบด้วยข้อบท 17 ข้อ โดยมีหลักการที่มุ่งการคุ้มครองเด็กจากการแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจทางเพศ และพัฒนาการทางร่างกายและจิตวิญญาณของเด็ก รายละเอียดโดยสรุปมีดังนี้
2.1 ข้อ 1-3 ว่าด้วยการห้ามให้มีและกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาสำหรับการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก และได้ให้คำนิยามไว้ดังนี้
(1) การค้าเด็ก หมายถึง การกระทำที่เด็กถูกส่งมอบโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไปยังอีกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์
(2) การค้าประเวณีเด็ก หมายถึง การใช้เด็กในกิจกรรมทางเพศ เพื่อค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์
(3) สื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก หมายถึง การนำเสนอกิจกรรมทางเพศหรือส่วนใดในทางเพศ ของเด็กจากตัวตนจริงหรือการทำจำลองเพื่อจุดประสงค์ในทางเพศ
2.2 ข้อ 4-6 ว่าด้วยมาตรการในการกำหนดเขตอำนาจความผิด การส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการสืบสวนสอบสวน หรือกระบวนการทางอาญา ซึ่งรัฐภาคีต้องดำเนินการตามสนธิสัญญาหรือความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือที่มีอยู่ระหว่างกัน ในกรณีที่ไม่มีสนธิสัญญาหรือความตกลงดังกล่าว รัฐภาคีต้องดำเนินการให้รัฐภาคีอีกรัฐหนึ่งในการช่วยเหลือ โดยสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศของตน
2.3 ข้อ 7 ว่าด้วยการกำหนดมาตรการในการริบทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
2.4 ข้อ 8 ว่าด้วยการจัดมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของเด็กได้แก่ กระบวนการพิจารณาคดีที่คำนึงถึงความต้องการเป็นพิเศษของเด็ก การคุ้มครองเอกลักษณ์ความเป็นส่วนตัวของเด็กและพยาน เป็นต้น
2.5 ข้อ 9 ว่าด้วยนโยบายในการป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมความรู้ทางกฎหมายและความตระหนักของสาธารณชน ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก
2.6 ข้อ 10 ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการบำบัดฟื้นฟูและส่งกลับเด็กผู้ได้รับเคราะห์
2.7 ข้อ 11 — 17 ว่าด้วยการจัดทำรายงานหลังจากเข้าเป็นภาคีแล้ว 2 ปี จากนั้นให้เสนอรวมใน รายงานผลการดำเนินงานตามอนุสัญญา ทุก ๆ 5 ปี และการเข้าเป็นภาคีและการถอนตัวจากพิธีสาร
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีความเห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมาย นโยบาย และการดำเนินงานรองรับพิธีสารเลือกรับทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวอยู่แล้ว และการเข้าเป็นภาคีพิธีสารจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยหลายประการ ได้แก่
1. ประเทศไทยจะเป็นที่ยอมรับในกลุ่มประชาคมโลกที่แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการปกป้องสิทธิเด็กจากความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และการตกเป็นเหยื่อของสื่อลามกอนาจาร
2. ความร่วมมือในกลุ่มประเทศภาคีในการคุ้มครองสิทธิเด็กอันจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิเด็ก รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ และการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก
3. ทำให้เกิดการพัฒนากลไกในการปกป้องคุ้มครองเด็กในประเทศไทยในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า ไม่ขัดข้องที่ไทยจะเข้าเป็นภาคีพิธีสารดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--