แท็ก
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ธนาคารแห่งประเทศไทย
อิเล็กทรอนิกส์
คณะรัฐมนตรี
ธปท.
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
โดยสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว มีดังนี้
1. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ และพระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับกับการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ ธปท. เป็นผู้ให้บริการ (ร่างมาตรา 4 และร่างมาตรา 5)
2. แยกประเภทการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 3 ประเภท โดยให้เป็นไปตามบัญชี ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 8)
3. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ให้บริการ และให้คณะกรรมการฯ ออกประกาศกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามประการอื่นของผู้ให้บริการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม (ร่างมาตรา 9)
4. กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นแบบและเอกสารของผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์การตรวจสอบแบบและเอกสารของพนักงานเจ้าหน้าที่ อำนาจของคณะกรรมการฯ ในการกำหนดข้อปฏิบัติ อายุใบอนุญาตของผู้ให้บริการ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบในการขอต่ออายุใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต (ร่างมาตรา 10 ถึงร่างมาตรา 15)
5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (ร่างมาตรา 16 ถึงร่างมาตรา 21)
6. กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการห้ามประกอบธุรกิจ การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต (ร่างมาตรา 22 ถึงร่างมาตรา 24)
7. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ คงดำเนินการต่อไปได้เป็นระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หากผู้ประกอบการประสงค์จะดำเนินการต่อไปภายหลังครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้มายื่นแบบภายในระยะเวลาเก้าสิบวัน แต่ไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว (ร่างมาตรา 25)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มิถุนายน 2551--จบ--
โดยสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว มีดังนี้
1. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ และพระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับกับการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ ธปท. เป็นผู้ให้บริการ (ร่างมาตรา 4 และร่างมาตรา 5)
2. แยกประเภทการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 3 ประเภท โดยให้เป็นไปตามบัญชี ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 8)
3. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ให้บริการ และให้คณะกรรมการฯ ออกประกาศกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามประการอื่นของผู้ให้บริการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม (ร่างมาตรา 9)
4. กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นแบบและเอกสารของผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์การตรวจสอบแบบและเอกสารของพนักงานเจ้าหน้าที่ อำนาจของคณะกรรมการฯ ในการกำหนดข้อปฏิบัติ อายุใบอนุญาตของผู้ให้บริการ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบในการขอต่ออายุใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต (ร่างมาตรา 10 ถึงร่างมาตรา 15)
5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (ร่างมาตรา 16 ถึงร่างมาตรา 21)
6. กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการห้ามประกอบธุรกิจ การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต (ร่างมาตรา 22 ถึงร่างมาตรา 24)
7. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ คงดำเนินการต่อไปได้เป็นระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หากผู้ประกอบการประสงค์จะดำเนินการต่อไปภายหลังครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้มายื่นแบบภายในระยะเวลาเก้าสิบวัน แต่ไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว (ร่างมาตรา 25)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มิถุนายน 2551--จบ--