คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ผลการประชุมยุทธศาสตร์ผลไม้ภาคใต้สู่ตลาดโลก ดังนี้
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุม “ยุทธศาสตร์ผลไม้ภาคใต้สู่ตลาดโลก” เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) เป็นประธานและปาฐกถาพิเศษ และมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภาคใต้ 7 จังหวัด (ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง นราธิวาส ยะลา ปัตตานี) กลุ่มเกษตรกร หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้แก่กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ ในการเจรจาการค้ากับผู้ซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อช่วยระบายผลผลิตทุเรียน มังคุด และเงาะที่จะออกสู่ตลาดในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขายสินค้า เป็นการยกระดับราคาสินค้า และเร่งระบายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ
ผลการประชุมดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มผู้ซื้อที่มาร่วมงาน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 37 บริษัท แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.1 กลุ่มผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า จากต่างประเทศ จำนวน 25 บริษัท จาก 12 ประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย กัมพูชา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์
1.2 กลุ่มห้างค้าปลีกรายใหญ่ (Modern Trade) จำนวน 7 บริษัท ซึ่งจะมาซื้อผลไม้เพื่อขายในประเทศไทย และส่งออกไปยังสาขาในต่างประเทศ ได้แก่ ห้างคาร์ฟูร์ ห้างเทสโก้-โลตัส ห้างจัสโก้ ห้างแม็คโคร ห้างบิ๊กซี ห้างฟูดแลนด์ และห้างท็อปซุปเปร์มาเก็ต
1.3 กลุ่มผู้ส่งออกรายใหญ่ และสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกผลไม้ไทย รวม 5 ราย
2. กลุ่มผู้ขายรวมทั้งสิ้น 300 ราย ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกร 55 กลุ่ม จาก 7 จังหวัดภาคใต้
3. การจัดประชุมในครั้งนี้ ก่อให้เกิดกิจกรรมการเจรจาการค้าระหว่างผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าต่างประเทศห้างค้าปลีก และผู้ส่งออกรายใหญ่ กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผลไม้มากกว่า 350 ครั้ง และคาดว่าจะมีปริมาณความต้องการซื้อทุเรียน 92,000 ตัน (มูลค่า 2,116 ล้านบาท) มังคุด 41,000 ตัน (มูลค่า 1,189 ล้านบาท) และเงาะ 15,000 ตัน (มูลค่า 247.5 ล้านบาท ) รวมมูลค่าการเจรจาการค้าทั้งสิ้น 3,552.5 ล้านบาท
4. นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน ยังได้เตรียมแผนเชื่อมโยงการตลาดภายในประเทศไว้ด้วย ซึ่งจะสามารถรองรับผลไม้จากภาคใต้ แยกเป็นทุเรียนปริมาณรวม 75,728 ตัน มังคุดปริมาณรวม 7,200 ตัน และเงาะปริมาณรวม 168,720 ตัน รวมทั้งลองกองจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปริมาณ 30,000 ตัน โดยมีมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
4.1 นำผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกรไปขายยังตลาดกลางผักผลไม้ในความส่งเสริมของกรมการค้าภายในทั่วประเทศ เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดสุรนารี ตลาดปฐมมงคล ตลาดบางขุนศรี ตลาดศรีเมือง ตลาดหัวอิฐ และตลาดมีนบุรี
4.2 นำผลผลิตไปขายยังตลาดเพื่อนบ้าน ผ่าน 6 จุด ได้แก่ สระแก้ว —โรงเกลือ หนองคาย-เวียงจันทน์ มุกดาหาร —สุวรรณเขต ตราด-เกาะกง ระนอง-เกาะสอง สงขลา-ปาดังเบซาร์และสะเดา
4.3 นำผลผลิตไปขายให้แก่โรงงานแปรรูปเงาะกระป๋องจำนวนประมาณ 9,000 ตัน
4.4 นำผลผลิตกระจายไปขายในจังหวัดปลายทาง 40 จังหวัด
4.5 การรณรงค์บริโภคลองกอง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดย (1) จัดงาน “มหกรรมสุดยอดลองกองปักษ์ใต้” ระหว่างวันที่ 9-12 สิงหาคม 2551 ที่ตลาดกลางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (2) กระจายลองกองไปสู่จังหวัดปลายทางทั่วประเทศ 65 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ 30,000 ตัน
5. จากการที่กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการผลักดันด้านตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศตามที่กล่าวมา จะทำให้สามารถรองรับผลผลิตผลไม้จากภาคใต้ทั้งหมด โดยแบ่งเป็น
ชนิดผลไม้ ผลไม้ที่มีมาตรการรองรับ (ตัน) มูลค่าซื้อขาย
ตลาดส่งออก ห้างค้าปลีก รวม (ล้าน สรอ.)
ทุเรียน 84,000 8,000 92,000 2,116
มังคุด 32,000 9,000 41,000 1,189
เงาะ 4,000 11,000 15,000 247.5
หมายเหตุ : ราคาเฉลี่ยเกษตรกรขายได้
1) ทุเรียน 23 บาท/กก. +20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
2) มังคุด 29 บาท/กก. + 96%
3) เงาะ 16.5 บาท/กก. +47%
การจัดประชุมครั้งนี้ ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้มีโอกาสนำเสนอสินค้าและกำหนดราคาขายสินค้าด้วยตนเองมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเจรจาการค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะช่วยสนับสนุนในการเปิดตลาดผลไม้ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาสนามบิน 37 แห่งเพื่อขนส่งผลิตผลทางการเกษตรต่อไปอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มิถุนายน 2551--จบ--
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุม “ยุทธศาสตร์ผลไม้ภาคใต้สู่ตลาดโลก” เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) เป็นประธานและปาฐกถาพิเศษ และมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภาคใต้ 7 จังหวัด (ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง นราธิวาส ยะลา ปัตตานี) กลุ่มเกษตรกร หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้แก่กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ ในการเจรจาการค้ากับผู้ซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อช่วยระบายผลผลิตทุเรียน มังคุด และเงาะที่จะออกสู่ตลาดในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขายสินค้า เป็นการยกระดับราคาสินค้า และเร่งระบายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ
ผลการประชุมดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มผู้ซื้อที่มาร่วมงาน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 37 บริษัท แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.1 กลุ่มผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า จากต่างประเทศ จำนวน 25 บริษัท จาก 12 ประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย กัมพูชา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์
1.2 กลุ่มห้างค้าปลีกรายใหญ่ (Modern Trade) จำนวน 7 บริษัท ซึ่งจะมาซื้อผลไม้เพื่อขายในประเทศไทย และส่งออกไปยังสาขาในต่างประเทศ ได้แก่ ห้างคาร์ฟูร์ ห้างเทสโก้-โลตัส ห้างจัสโก้ ห้างแม็คโคร ห้างบิ๊กซี ห้างฟูดแลนด์ และห้างท็อปซุปเปร์มาเก็ต
1.3 กลุ่มผู้ส่งออกรายใหญ่ และสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกผลไม้ไทย รวม 5 ราย
2. กลุ่มผู้ขายรวมทั้งสิ้น 300 ราย ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกร 55 กลุ่ม จาก 7 จังหวัดภาคใต้
3. การจัดประชุมในครั้งนี้ ก่อให้เกิดกิจกรรมการเจรจาการค้าระหว่างผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าต่างประเทศห้างค้าปลีก และผู้ส่งออกรายใหญ่ กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผลไม้มากกว่า 350 ครั้ง และคาดว่าจะมีปริมาณความต้องการซื้อทุเรียน 92,000 ตัน (มูลค่า 2,116 ล้านบาท) มังคุด 41,000 ตัน (มูลค่า 1,189 ล้านบาท) และเงาะ 15,000 ตัน (มูลค่า 247.5 ล้านบาท ) รวมมูลค่าการเจรจาการค้าทั้งสิ้น 3,552.5 ล้านบาท
4. นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน ยังได้เตรียมแผนเชื่อมโยงการตลาดภายในประเทศไว้ด้วย ซึ่งจะสามารถรองรับผลไม้จากภาคใต้ แยกเป็นทุเรียนปริมาณรวม 75,728 ตัน มังคุดปริมาณรวม 7,200 ตัน และเงาะปริมาณรวม 168,720 ตัน รวมทั้งลองกองจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปริมาณ 30,000 ตัน โดยมีมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
4.1 นำผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกรไปขายยังตลาดกลางผักผลไม้ในความส่งเสริมของกรมการค้าภายในทั่วประเทศ เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดสุรนารี ตลาดปฐมมงคล ตลาดบางขุนศรี ตลาดศรีเมือง ตลาดหัวอิฐ และตลาดมีนบุรี
4.2 นำผลผลิตไปขายยังตลาดเพื่อนบ้าน ผ่าน 6 จุด ได้แก่ สระแก้ว —โรงเกลือ หนองคาย-เวียงจันทน์ มุกดาหาร —สุวรรณเขต ตราด-เกาะกง ระนอง-เกาะสอง สงขลา-ปาดังเบซาร์และสะเดา
4.3 นำผลผลิตไปขายให้แก่โรงงานแปรรูปเงาะกระป๋องจำนวนประมาณ 9,000 ตัน
4.4 นำผลผลิตกระจายไปขายในจังหวัดปลายทาง 40 จังหวัด
4.5 การรณรงค์บริโภคลองกอง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดย (1) จัดงาน “มหกรรมสุดยอดลองกองปักษ์ใต้” ระหว่างวันที่ 9-12 สิงหาคม 2551 ที่ตลาดกลางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (2) กระจายลองกองไปสู่จังหวัดปลายทางทั่วประเทศ 65 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ 30,000 ตัน
5. จากการที่กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการผลักดันด้านตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศตามที่กล่าวมา จะทำให้สามารถรองรับผลผลิตผลไม้จากภาคใต้ทั้งหมด โดยแบ่งเป็น
ชนิดผลไม้ ผลไม้ที่มีมาตรการรองรับ (ตัน) มูลค่าซื้อขาย
ตลาดส่งออก ห้างค้าปลีก รวม (ล้าน สรอ.)
ทุเรียน 84,000 8,000 92,000 2,116
มังคุด 32,000 9,000 41,000 1,189
เงาะ 4,000 11,000 15,000 247.5
หมายเหตุ : ราคาเฉลี่ยเกษตรกรขายได้
1) ทุเรียน 23 บาท/กก. +20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
2) มังคุด 29 บาท/กก. + 96%
3) เงาะ 16.5 บาท/กก. +47%
การจัดประชุมครั้งนี้ ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้มีโอกาสนำเสนอสินค้าและกำหนดราคาขายสินค้าด้วยตนเองมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเจรจาการค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะช่วยสนับสนุนในการเปิดตลาดผลไม้ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาสนามบิน 37 แห่งเพื่อขนส่งผลิตผลทางการเกษตรต่อไปอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มิถุนายน 2551--จบ--