คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้ารายงานการแก้ไขปัญหาของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ดังนี้
- ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ ธ.ก.ส. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของเกษตรกรดำเนินการดังนี้ เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้องให้ชะลอการฟ้องร้อง เรื่องที่ฟ้องร้องและคดีถึงที่สุดแล้วให้ชะลอการบังคับคดี คดีที่มีการบังคับคดีและขายทอดตลาดให้ชะลอการขายทอดตลาด โดยให้พิจารณาถึงอายุความและการบังคับคดีประกอบ
- ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ดำเนินการเจรจากับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และนิติบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร เพื่อให้มีการปฏิบัติตามความตกลง (MOU) ที่ได้ลงนามกันไว้แล้ว ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยให้คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจนของเกษตรกรเป็นสำคัญ
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง กฟก. กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน รับไปดำเนินการปรับปรุงกลไกการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
2. จากนั้นวันที่ 3 มีนาคม 2551 เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยได้มายื่นหนังสือเรียนรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น
ขจรประศาสน์) เพื่อแจ้งให้ทราบถึงปัญหาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (16 มกราคม 2550) และปัญหาการบริหารงานของ กฟก.
3. วันที่ 4 มีนาคม 2551 รองนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 37/2551 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำข้อเรียกร้องของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยแจ้งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
4. วันที่ 2 เมษายน 2551 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อขอทราบความคืบหน้าการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อการเกษตรตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
5. นอกจากนี้ ในช่วงเดือนเมษายน 2551 ยังมีตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อตรวจสอบเสนอแนะการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและกลุ่มพัฒนายั่งยืนพร้อมทั้งองค์กรอิสระ 15 องค์กร ได้มายื่นหนังสือติดตามการดำเนินงานและติดตามผลงานการแก้ปัญหาของ กฟก.
6. ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2551 นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)เข้าพบเจรจากับแกนนำกลุ่มเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ซึ่งมาชุมนุมบริเวณหน้าธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐสภา โดยผู้ชุมนุมได้ยื่นข้อเสนอให้เรียกประชุม กฟก.โดยด่วน รองนายกรัฐมนตรีจึงมีบัญชาให้นัดประชุมคณะกรรมการ กฟก. ในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในวันเดียวกันได้มีแนวร่วมเกษตรกร กฟก. มายื่นหนังสือให้รองนายกรัฐมนตรีที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรองนายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้บรรจุในวาระการประชุมด้วย สรุปผลการประชุมดังนี้
1) เนื่องจาก กฟก.มีปัญหาในเรื่องผู้บริหารงาน ที่ประชุมจึงได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย นายเกษม สรศักดิ์เกษม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายชลิต ดำรงศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุจิโรจน์ คงเมือง เจ้าพนักงานปกครอง 7 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ร้องเรียนใน 3 เรื่อง
- การดำรงตำแหน่งเลขาธิการและผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กฟก.
- ปัญหาการบริหารงานของ กฟก.
- ปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของกรรมการบริหาร กฟก.
2) เนื่องจากเกษตรกรได้ร้องเรียนว่าสถาบันการเงินทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เป็นเจ้าหนี้ ไม่ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 จึงเห็นควรนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยืนยันมติดังกล่าวอีกครั้ง โดยรองนายกรัฐมนตรีจะได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งมีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเป็นประธานพิจารณาแนวทางร่วมกับตัวแทนเกษตรกรที่เป็นกรรมการ กฟก. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2551 ต่อไป
3) กรณีการแต่งตั้งรักษาการเลขาธิการ กฟก.ให้รอฟังผลการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพของผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กฟก. จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มิถุนายน 2551--จบ--
1. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ดังนี้
- ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ ธ.ก.ส. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของเกษตรกรดำเนินการดังนี้ เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้องให้ชะลอการฟ้องร้อง เรื่องที่ฟ้องร้องและคดีถึงที่สุดแล้วให้ชะลอการบังคับคดี คดีที่มีการบังคับคดีและขายทอดตลาดให้ชะลอการขายทอดตลาด โดยให้พิจารณาถึงอายุความและการบังคับคดีประกอบ
- ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ดำเนินการเจรจากับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และนิติบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร เพื่อให้มีการปฏิบัติตามความตกลง (MOU) ที่ได้ลงนามกันไว้แล้ว ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยให้คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจนของเกษตรกรเป็นสำคัญ
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง กฟก. กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน รับไปดำเนินการปรับปรุงกลไกการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
2. จากนั้นวันที่ 3 มีนาคม 2551 เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยได้มายื่นหนังสือเรียนรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น
ขจรประศาสน์) เพื่อแจ้งให้ทราบถึงปัญหาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (16 มกราคม 2550) และปัญหาการบริหารงานของ กฟก.
3. วันที่ 4 มีนาคม 2551 รองนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 37/2551 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำข้อเรียกร้องของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยแจ้งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
4. วันที่ 2 เมษายน 2551 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อขอทราบความคืบหน้าการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อการเกษตรตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
5. นอกจากนี้ ในช่วงเดือนเมษายน 2551 ยังมีตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อตรวจสอบเสนอแนะการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและกลุ่มพัฒนายั่งยืนพร้อมทั้งองค์กรอิสระ 15 องค์กร ได้มายื่นหนังสือติดตามการดำเนินงานและติดตามผลงานการแก้ปัญหาของ กฟก.
6. ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2551 นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)เข้าพบเจรจากับแกนนำกลุ่มเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ซึ่งมาชุมนุมบริเวณหน้าธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐสภา โดยผู้ชุมนุมได้ยื่นข้อเสนอให้เรียกประชุม กฟก.โดยด่วน รองนายกรัฐมนตรีจึงมีบัญชาให้นัดประชุมคณะกรรมการ กฟก. ในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในวันเดียวกันได้มีแนวร่วมเกษตรกร กฟก. มายื่นหนังสือให้รองนายกรัฐมนตรีที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรองนายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้บรรจุในวาระการประชุมด้วย สรุปผลการประชุมดังนี้
1) เนื่องจาก กฟก.มีปัญหาในเรื่องผู้บริหารงาน ที่ประชุมจึงได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย นายเกษม สรศักดิ์เกษม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายชลิต ดำรงศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุจิโรจน์ คงเมือง เจ้าพนักงานปกครอง 7 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ร้องเรียนใน 3 เรื่อง
- การดำรงตำแหน่งเลขาธิการและผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กฟก.
- ปัญหาการบริหารงานของ กฟก.
- ปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของกรรมการบริหาร กฟก.
2) เนื่องจากเกษตรกรได้ร้องเรียนว่าสถาบันการเงินทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เป็นเจ้าหนี้ ไม่ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 จึงเห็นควรนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยืนยันมติดังกล่าวอีกครั้ง โดยรองนายกรัฐมนตรีจะได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งมีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเป็นประธานพิจารณาแนวทางร่วมกับตัวแทนเกษตรกรที่เป็นกรรมการ กฟก. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2551 ต่อไป
3) กรณีการแต่งตั้งรักษาการเลขาธิการ กฟก.ให้รอฟังผลการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพของผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กฟก. จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มิถุนายน 2551--จบ--