คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินการก่อสร้างตามโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เทศบาลนครราชสีมา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมะสมชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการดำเนินงานโครงการข้างต้นและให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาทบทวนร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 2548 ต่อไป
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ปัจจุบันเขตเทศบาลนครนครราชสีมามีการขยายตัวของชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นประกอบกับเกิดปัญหาความแห้งแล้ง ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรง โดยมีข้อมูลความต้องการใช้น้ำและกำลังการผลิตและจ่ายน้ำประปา ดังนี้
1. ความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคของประชาชน
1.1 ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวนประชากร 222,290 คน มีความต้องการใช้น้ำ 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 36,500,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี
1.2 บริเวณพื้นที่เขตติดต่อเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวนประชากร 78,315 คน ซึ่งอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความต้องการใช้น้ำ 23,495 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 8,575,675 ลูกบาศก์เมตร/ปี
1.3 รวมความต้องการใช้น้ำ 123,495 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 45,075,675 ลูกบาศก์เมตร/ปี
2. การประปานครนครราชสีมามีกำลังการผลิตและจ่ายน้ำประปาได้ 75,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 27,375,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี โดยใช้น้ำจากเขื่อนลำตะคองในปริมาณ 75,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 27,375,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการ และน้ำมีคุณภาพไม่ดีเนื่องจากมีการสะสมของสารอินทรีย์และอนินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
3. อัตราการขยายตัวของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรอบจะมีประชากรเพิ่มขึ้น ในระหว่าง พ.ศ.2548-2551 เพิ่มขึ้น 314,336 คน ปริมาณการต้องการใช้น้ำ 129,167 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 47,145,955 ลูกบาศก์เมตร/ปี หากยังไม่มีการขยายกำลังการผลิตประปาในปี พ.ศ. 2548 นี้ จะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้น คิดเป็นปริมาณน้ำที่ขาดแคลน 54,167 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 19,770,955 ลูกบาศก์เมตร/ปี
ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ขณะดำรงตำแหน่งในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบกลางในปี 2548 และงบประมาณปกติในปี 2549-2551 เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ตามหนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0100/1127 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2548 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประสานกับกรมชลประทาน และคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) เพื่อพิจารณามีความเห็นประกอบ หากเหมาะสมให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป เนื่องจากโครงการนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการในทันที มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรอบ จึงเสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ปัจจุบันเขตเทศบาลนครนครราชสีมามีการขยายตัวของชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นประกอบกับเกิดปัญหาความแห้งแล้ง ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรง โดยมีข้อมูลความต้องการใช้น้ำและกำลังการผลิตและจ่ายน้ำประปา ดังนี้
1. ความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคของประชาชน
1.1 ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวนประชากร 222,290 คน มีความต้องการใช้น้ำ 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 36,500,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี
1.2 บริเวณพื้นที่เขตติดต่อเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวนประชากร 78,315 คน ซึ่งอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความต้องการใช้น้ำ 23,495 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 8,575,675 ลูกบาศก์เมตร/ปี
1.3 รวมความต้องการใช้น้ำ 123,495 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 45,075,675 ลูกบาศก์เมตร/ปี
2. การประปานครนครราชสีมามีกำลังการผลิตและจ่ายน้ำประปาได้ 75,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 27,375,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี โดยใช้น้ำจากเขื่อนลำตะคองในปริมาณ 75,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 27,375,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการ และน้ำมีคุณภาพไม่ดีเนื่องจากมีการสะสมของสารอินทรีย์และอนินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
3. อัตราการขยายตัวของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรอบจะมีประชากรเพิ่มขึ้น ในระหว่าง พ.ศ.2548-2551 เพิ่มขึ้น 314,336 คน ปริมาณการต้องการใช้น้ำ 129,167 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 47,145,955 ลูกบาศก์เมตร/ปี หากยังไม่มีการขยายกำลังการผลิตประปาในปี พ.ศ. 2548 นี้ จะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้น คิดเป็นปริมาณน้ำที่ขาดแคลน 54,167 ลูกบาศก์เมตร/วัน เท่ากับ 19,770,955 ลูกบาศก์เมตร/ปี
ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ขณะดำรงตำแหน่งในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบกลางในปี 2548 และงบประมาณปกติในปี 2549-2551 เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ตามหนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0100/1127 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2548 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประสานกับกรมชลประทาน และคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) เพื่อพิจารณามีความเห็นประกอบ หากเหมาะสมให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป เนื่องจากโครงการนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการในทันที มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรอบ จึงเสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--