คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาการมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีผู้ประกันตนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ประกันตน ซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่ได้ประสบหรือได้รับผลกระทบจากภัยธรณีพิบัติในจังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีตายต่อไปเป็นเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันที่ผู้ประกันตนนั้นสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้ชี้แจงตามรายงานของสำนักงานประกันสังคมว่า เนื่องจากได้เกิดภัยธรณีพิบัติในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล เป็นเหตุให้ผู้ประกันตนซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการพื้นที่ดังกล่าวต้องสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง เนื่องจากนายจ้างปิดกิจการหรือเลิกจ้างผู้ประกันตน ดังนั้น เพื่อบรรเทาช่วยเหลือความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตนที่ได้สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่ได้ประสบหรือได้รับผลกระทบจากภัยธรณีพิบัติ ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย ต่อไปอีกสิบสองเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง จึงพิจารณาขยายระยะเวลาการจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายทุพพลภาพ ตายมิใช่เนื่องจากการทำงาน และคลอดบุตร ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2547 ที่ได้สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง โดยต้องเป็นลูกจ้างอยู่ก่อนวันที่ 27 ธันวาคม 2547 และได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่ประสบหรือ ได้รับผลกระทบจากภัยธรณีพิบัติในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ประกันตน ซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่ได้ประสบหรือได้รับผลกระทบจากภัยธรณีพิบัติในจังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีตายต่อไปเป็นเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันที่ผู้ประกันตนนั้นสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้ชี้แจงตามรายงานของสำนักงานประกันสังคมว่า เนื่องจากได้เกิดภัยธรณีพิบัติในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล เป็นเหตุให้ผู้ประกันตนซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการพื้นที่ดังกล่าวต้องสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง เนื่องจากนายจ้างปิดกิจการหรือเลิกจ้างผู้ประกันตน ดังนั้น เพื่อบรรเทาช่วยเหลือความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตนที่ได้สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่ได้ประสบหรือได้รับผลกระทบจากภัยธรณีพิบัติ ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย ต่อไปอีกสิบสองเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง จึงพิจารณาขยายระยะเวลาการจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายทุพพลภาพ ตายมิใช่เนื่องจากการทำงาน และคลอดบุตร ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2547 ที่ได้สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง โดยต้องเป็นลูกจ้างอยู่ก่อนวันที่ 27 ธันวาคม 2547 และได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่ประสบหรือ ได้รับผลกระทบจากภัยธรณีพิบัติในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--