คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ไทยตกลงรับผลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น (JTERA) เป็นกรณีพิเศษให้นักลงทุนของภาคีฝ่ายหนึ่งได้รับความคุ้มครองในประเทศภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ ให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุน (Certificate of Approval for Protection : C.A.P.) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. ไทยจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกับต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2504 จนถึงปัจจุบัน (จัดทำมาแล้วกับ 37 ประเทศ รวมความตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ซึ่งจะมีบทบัญญัติว่าด้วยกลไกกลั่นกรองการลงทุนที่จะได้รับความคุ้มครองเป็นรายกรณีหลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว กล่าวคือการลงทุนหรือนักลงทุนที่ต้องการได้รับความคุ้มครองตามความตกลงฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐภาคีเสียก่อน ซึ่งในส่วนของไทยการให้ความเห็นชอบกระทำในรูปของ “C.A.P.” (Certificate of Approval for Protection) โดยคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุน โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นประธาน ประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการดังกล่าวมีหลักเกณฑ์/นโยบายที่จะพิจารณาให้ความคุ้มครองเฉพาะการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment — FDI) โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หลักเกณฑ์ข้างต้นสอดคล้องกับสถานะของไทยที่เป็นประเทศผู้รับการลงทุน
2. ไทยยังคงรับการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็ส่งออกการลงทุนมากขึ้นและมีแนวโน้มและศักยภาพไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายเชิงรุกในการส่งเสริมสินค้า และการลงทุนบริการของไทยในต่างประเทศ รวมทั้งรักษาและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ อีกทั้งจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และมีความเชื่อมโยงกับนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพของไทยให้มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนและเงินลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งต้องให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหรือบริการ
3. ในการเจรจาความตกลง JTEPA ฝ่ายญี่ปุ่นแสดงท่าทีตลอดมาว่าญี่ปุ่นลงทุนในไทยเป็นปริมาณมาก และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยตรง ซึ่งมีส่วนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมานาน ญี่ปุ่นจึงต้องการให้นักลงทุนญี่ปุ่นได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติภายใต้ JTEPA นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเองไม่มีกลไกกลั่นกรองการให้ความคุ้มครองการลงทุนเช่นไทย การลงทุนของไทยในญี่ปุ่นจึงจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ อีกทั้งญี่ปุ่นยังตกลงในหลักการที่จะจำกัดขอบข่ายของ JTEPA ให้ครอบคลุมเฉพาะการลงทุนทางตรงและองค์ประกอบการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนทางตรง ดังนั้น ความจำเป็นที่ต้องมีกลไกกลั่นกรองในแง่นี้จึงหมดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. ไทยจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกับต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2504 จนถึงปัจจุบัน (จัดทำมาแล้วกับ 37 ประเทศ รวมความตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ซึ่งจะมีบทบัญญัติว่าด้วยกลไกกลั่นกรองการลงทุนที่จะได้รับความคุ้มครองเป็นรายกรณีหลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว กล่าวคือการลงทุนหรือนักลงทุนที่ต้องการได้รับความคุ้มครองตามความตกลงฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐภาคีเสียก่อน ซึ่งในส่วนของไทยการให้ความเห็นชอบกระทำในรูปของ “C.A.P.” (Certificate of Approval for Protection) โดยคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุน โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นประธาน ประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการดังกล่าวมีหลักเกณฑ์/นโยบายที่จะพิจารณาให้ความคุ้มครองเฉพาะการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment — FDI) โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หลักเกณฑ์ข้างต้นสอดคล้องกับสถานะของไทยที่เป็นประเทศผู้รับการลงทุน
2. ไทยยังคงรับการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็ส่งออกการลงทุนมากขึ้นและมีแนวโน้มและศักยภาพไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายเชิงรุกในการส่งเสริมสินค้า และการลงทุนบริการของไทยในต่างประเทศ รวมทั้งรักษาและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ อีกทั้งจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และมีความเชื่อมโยงกับนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพของไทยให้มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนและเงินลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งต้องให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหรือบริการ
3. ในการเจรจาความตกลง JTEPA ฝ่ายญี่ปุ่นแสดงท่าทีตลอดมาว่าญี่ปุ่นลงทุนในไทยเป็นปริมาณมาก และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยตรง ซึ่งมีส่วนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมานาน ญี่ปุ่นจึงต้องการให้นักลงทุนญี่ปุ่นได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติภายใต้ JTEPA นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเองไม่มีกลไกกลั่นกรองการให้ความคุ้มครองการลงทุนเช่นไทย การลงทุนของไทยในญี่ปุ่นจึงจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ อีกทั้งญี่ปุ่นยังตกลงในหลักการที่จะจำกัดขอบข่ายของ JTEPA ให้ครอบคลุมเฉพาะการลงทุนทางตรงและองค์ประกอบการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนทางตรง ดังนั้น ความจำเป็นที่ต้องมีกลไกกลั่นกรองในแง่นี้จึงหมดไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--