คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเงินเหลือจ่าย/เงินที่ลดได้มาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ และการจัดสรรเงินรางวัลจากการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้าง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ โดยให้สำนักงานก.พ.ร. แจ้งผลการประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการให้กระทรวงการคลังทราบภายในระยะเวลากำหนด เพื่อจะได้ดำเนินการจัดสรรให้ส่วนราชการนำไปใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาบุคลากรและหรือพัฒนาองค์กรได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
2. ให้ผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 โดยให้กระทรวงการคลังอนุมัติการกันเงินงบประมาณเหลือจ่ายไว้เบิกเหลื่อมปีรายการเพื่อพัฒนาบุคลากร และหรือรายการเพื่อพัฒนาองค์กร สำหรับการโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณเหลือจ่ายให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณถือปฏิบัติตามนัยข้อ 25 ของระเบียบว่าด้วยกาบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2546 และให้โอนเปลี่ยนแปลงเงินงบประมาณเหลือจ่ายที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินเป็นรายการใด ๆ ไปเพื่อพัฒนาบุคลากรและหรือเพื่อพัฒนาองค์กรโดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ และแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
3. ในกรณีที่เห็นสมควรเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์หรือวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ เห็นควรมอบให้กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณากำหนดตามความเหมาะสม สำหรับกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวข้างต้นมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจมาอนุโลมใช้ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อหาแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลัก Good Governance ก่อน
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ประชุมร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณากำหนดวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อให้ส่วนราชการนำไปใช้จ่ายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 และการจัดสรรเงินรางวัลจากการประหยัดงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. เห็นสมควรกำหนดวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายให้ส่วนราชการนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดดังนี้
1.1 เงินงบประมาณเหลือจ่ายตามที่ส่วนราชการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีให้นำไปใช้จ่ายได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่เหลือจ่ายทั้งจำนวน แต่ไม่เกินวงเงิน 10,000,000 บาท
1.2 กรณีเงินเหลือจ่ายที่คำนวณตามข้อ 1.1 แล้วไม่ถึง 500,000 บาท ให้กันเงินไว้ใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยส่วนราชการที่สามารถนำเงินงบประมาณเหลือจ่ายไปจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจได้จะต้องมีคะแนนการประเมินตามตัวชี้วัดร้อยละของงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ ในข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 3 คะแนน สำหรับส่วนราชการที่มีคะแนนในตัวชี้วัดดังกล่าวน้อยกว่า 3 คะแนน ต้องมีคะแนนประเมินผลในภาพรวมของทั้งส่วนราชการมากกว่า 3.75 คะแนนขึ้นไป ซึ่งเป็นการประเมินตามหลัก Good Governance โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้ประเมินผลการดำเนินงาน และแจ้งรายชื่อส่วนราชการที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดร้อยละของงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2547 และกรณีการประเมินผลในภาพรวมของทั้งส่วนราชการ ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 ให้กระทรวงการคลังทราบเพื่อดำเนินการอนุมัติเงินงบประมาณเหลือจ่าย โดยให้ยกเว้นวิธีปฏิบัติ ในการขอโอนเปลี่ยนแปลงรายการกับสำนักงบประมาณ
2. กรณีการจัดสรรรางวัลจากการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณานั้น มีการกำหนดสัดส่วนเงินที่เหลือจ่ายร้อยละ 50 แรกส่งคืนเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร้อยละ 50 หลัง ให้จัดสรรเป็นเงินรางวัลกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 96 สำหรับส่วนที่เหลือร้อยละ 4 จัดสรรให้หน่วยงานส่วนภูมิภาคหรือจังหวัด และหน่วยงานส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแล ร้อยละ 3 และร้อยละ 1 ตามลำดับ ซึ่งการจัดสรรเงินดังกล่าวมิใช่เงินรางวัลแต่จัดสรรให้หน่วยงานเพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร จึงมีความเห็นว่าเงินที่หน่วยงาน ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลได้รับจัดสรรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมิใช่เงินเหลือจ่ายของหน่วยงาน อย่างไรก็ดี หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสงค์จะจัดสรรเงินให้หน่วยงานดังกล่าวเพื่อนำไปพัฒนาบุคลากรโดยมีเกณฑ์การประเมินตามหลัก Good Governance ด้วย ก็สามารถดำเนินการได้โดยจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและควรมีหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานเช่นเดียวกัน
3. เนื่องจากส่วนราชการสามารถขอกันเงินงบประมาณที่เหลือจ่ายจากงบลงทุน งบดำเนินงาน งบรายจ่ายอื่น และงบเงินอุดหนุน และการนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและหรือพัฒนาองค์กรจำเป็นต้องดำเนินการเกี่ยวกับการโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ ดังนั้น เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกเงินงบประมาณเหลือจ่ายไปใช้จ่ายได้สะดวก รวดเร็ว จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อผ่อนผันวิธีปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ โดยให้สำนักงานก.พ.ร. แจ้งผลการประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการให้กระทรวงการคลังทราบภายในระยะเวลากำหนด เพื่อจะได้ดำเนินการจัดสรรให้ส่วนราชการนำไปใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาบุคลากรและหรือพัฒนาองค์กรได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
2. ให้ผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 โดยให้กระทรวงการคลังอนุมัติการกันเงินงบประมาณเหลือจ่ายไว้เบิกเหลื่อมปีรายการเพื่อพัฒนาบุคลากร และหรือรายการเพื่อพัฒนาองค์กร สำหรับการโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณเหลือจ่ายให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณถือปฏิบัติตามนัยข้อ 25 ของระเบียบว่าด้วยกาบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2546 และให้โอนเปลี่ยนแปลงเงินงบประมาณเหลือจ่ายที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินเป็นรายการใด ๆ ไปเพื่อพัฒนาบุคลากรและหรือเพื่อพัฒนาองค์กรโดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ และแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
3. ในกรณีที่เห็นสมควรเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์หรือวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ เห็นควรมอบให้กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณากำหนดตามความเหมาะสม สำหรับกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวข้างต้นมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจมาอนุโลมใช้ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อหาแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลัก Good Governance ก่อน
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ประชุมร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณากำหนดวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อให้ส่วนราชการนำไปใช้จ่ายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 และการจัดสรรเงินรางวัลจากการประหยัดงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. เห็นสมควรกำหนดวงเงินงบประมาณเหลือจ่ายให้ส่วนราชการนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดดังนี้
1.1 เงินงบประมาณเหลือจ่ายตามที่ส่วนราชการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีให้นำไปใช้จ่ายได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่เหลือจ่ายทั้งจำนวน แต่ไม่เกินวงเงิน 10,000,000 บาท
1.2 กรณีเงินเหลือจ่ายที่คำนวณตามข้อ 1.1 แล้วไม่ถึง 500,000 บาท ให้กันเงินไว้ใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยส่วนราชการที่สามารถนำเงินงบประมาณเหลือจ่ายไปจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจได้จะต้องมีคะแนนการประเมินตามตัวชี้วัดร้อยละของงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ ในข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 3 คะแนน สำหรับส่วนราชการที่มีคะแนนในตัวชี้วัดดังกล่าวน้อยกว่า 3 คะแนน ต้องมีคะแนนประเมินผลในภาพรวมของทั้งส่วนราชการมากกว่า 3.75 คะแนนขึ้นไป ซึ่งเป็นการประเมินตามหลัก Good Governance โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะเป็นผู้ประเมินผลการดำเนินงาน และแจ้งรายชื่อส่วนราชการที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดร้อยละของงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2547 และกรณีการประเมินผลในภาพรวมของทั้งส่วนราชการ ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 ให้กระทรวงการคลังทราบเพื่อดำเนินการอนุมัติเงินงบประมาณเหลือจ่าย โดยให้ยกเว้นวิธีปฏิบัติ ในการขอโอนเปลี่ยนแปลงรายการกับสำนักงบประมาณ
2. กรณีการจัดสรรรางวัลจากการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณานั้น มีการกำหนดสัดส่วนเงินที่เหลือจ่ายร้อยละ 50 แรกส่งคืนเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร้อยละ 50 หลัง ให้จัดสรรเป็นเงินรางวัลกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 96 สำหรับส่วนที่เหลือร้อยละ 4 จัดสรรให้หน่วยงานส่วนภูมิภาคหรือจังหวัด และหน่วยงานส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแล ร้อยละ 3 และร้อยละ 1 ตามลำดับ ซึ่งการจัดสรรเงินดังกล่าวมิใช่เงินรางวัลแต่จัดสรรให้หน่วยงานเพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร จึงมีความเห็นว่าเงินที่หน่วยงาน ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลได้รับจัดสรรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมิใช่เงินเหลือจ่ายของหน่วยงาน อย่างไรก็ดี หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสงค์จะจัดสรรเงินให้หน่วยงานดังกล่าวเพื่อนำไปพัฒนาบุคลากรโดยมีเกณฑ์การประเมินตามหลัก Good Governance ด้วย ก็สามารถดำเนินการได้โดยจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและควรมีหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานเช่นเดียวกัน
3. เนื่องจากส่วนราชการสามารถขอกันเงินงบประมาณที่เหลือจ่ายจากงบลงทุน งบดำเนินงาน งบรายจ่ายอื่น และงบเงินอุดหนุน และการนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและหรือพัฒนาองค์กรจำเป็นต้องดำเนินการเกี่ยวกับการโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ ดังนั้น เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกเงินงบประมาณเหลือจ่ายไปใช้จ่ายได้สะดวก รวดเร็ว จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อผ่อนผันวิธีปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--