คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้ คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ข้อเท็จจริง
1. พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 ได้บัญญัติให้
1.1 ข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยไม่น้อยกว่า 25 ปี มีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
1.2 คำว่า “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ตามข้อ 1.1 หมายความรวมถึง
(1) ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(2) ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม
(3) ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
(4) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และ
(5) พนักงานเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล
2. ต่อมาสำนักงานศาลปกครองได้เสนอขอให้มีการพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ตุลาการศาลปกครองที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี
3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงานศาลปกครองตามข้อ 2 ประกอบกับ พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาฯ ตามข้อ 1 รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า ตุลาการศาลปกครองอาจไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา และโดยที่เรื่องนี้ยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาวินิจฉัย
4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1)) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ตุลาการศาลปกครองเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่เนื่องจากบุคคลที่จะมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาต้องเป็น “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งนิยามดังกล่าวไม่รวมถึงตุลาการศาลปกครองด้วย ดังนั้น การที่จะให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาฯ นอกจากนี้ ก็สมควรแก้ไขให้ครอบคลุมถึงข้าราชการในหน่วยงานอื่นของรัฐที่ได้จัดตั้งขึ้นในภายหลังด้วย
5. เมื่อพิจารณาจากคำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามข้อ 4 แล้วเห็นว่า ตุลาการศาลปกครอง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 ซึ่งมีสถานะเป็นข้าราชการ สมควรที่จะมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เช่นเดียวกับข้าราชการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาของข้าราชการประเภทต่าง ๆ สมควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเหรียญ จักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาตามที่เสนอดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ให้ครอบคลุมถึง ตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการของสำนักงานที่เป็นหน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมถึงข้าราชการอื่นที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน (แก้ไขมาตรา 4 (ร่างมาตรา 3))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
ข้อเท็จจริง
1. พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 ได้บัญญัติให้
1.1 ข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยไม่น้อยกว่า 25 ปี มีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
1.2 คำว่า “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ตามข้อ 1.1 หมายความรวมถึง
(1) ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(2) ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม
(3) ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
(4) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และ
(5) พนักงานเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล
2. ต่อมาสำนักงานศาลปกครองได้เสนอขอให้มีการพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ตุลาการศาลปกครองที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี
3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาข้อเสนอของสำนักงานศาลปกครองตามข้อ 2 ประกอบกับ พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาฯ ตามข้อ 1 รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า ตุลาการศาลปกครองอาจไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา และโดยที่เรื่องนี้ยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาวินิจฉัย
4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1)) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ตุลาการศาลปกครองเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่เนื่องจากบุคคลที่จะมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาต้องเป็น “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งนิยามดังกล่าวไม่รวมถึงตุลาการศาลปกครองด้วย ดังนั้น การที่จะให้ตุลาการศาลปกครองมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาฯ นอกจากนี้ ก็สมควรแก้ไขให้ครอบคลุมถึงข้าราชการในหน่วยงานอื่นของรัฐที่ได้จัดตั้งขึ้นในภายหลังด้วย
5. เมื่อพิจารณาจากคำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามข้อ 4 แล้วเห็นว่า ตุลาการศาลปกครอง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 ซึ่งมีสถานะเป็นข้าราชการ สมควรที่จะมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เช่นเดียวกับข้าราชการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการมีสิทธิได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาของข้าราชการประเภทต่าง ๆ สมควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเหรียญ จักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาตามที่เสนอดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ให้ครอบคลุมถึง ตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการของสำนักงานที่เป็นหน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมถึงข้าราชการอื่นที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน (แก้ไขมาตรา 4 (ร่างมาตรา 3))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--