เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... เสร็จแล้วโดยกระทรวงแรงงานได้เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงนี้แล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงเป็นการกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ดังนี้
1. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดคำนิยามให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น “งานก่อสร้าง” “อาคาร” “เขตก่อสร้าง” “เขตอันตราย” “อุปกรณ์ไฟฟ้า” “เสาเข็ม” “เสาเจาะเข็ม” “การตอกเสาเข็ม” “เครื่องตอกเสาเข็ม” “แคร่ลอย” “งานก่อสร้างในน้ำ” “ค่าความปลอดภัย” “วิศวกร” “ผู้ควบคุมงาน” “ผู้บังคับเครื่องตอกเสาเข็ม” และ “ ผู้บังคับปั้นจั่น” เป็นต้น (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดให้นายจ้างให้มีแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างงานอาคารขนาดใหญ่ งานสะพานที่ยาวตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป งานสะพานข้ามแยก งานสะพานกลับรถ งานทางแยกต่างระดับ ฯลฯ (ร่างข้อ 3 — ร่างข้อ 15)
4. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในเขตก่อสร้างและงานไฟฟ้า (ร่างข้อ 16 — ร่างข้อ 24)
5. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการป้องกันอัคคีภัย โดยห้ามเก็บสารไวไฟหรือวัตถุระเบิดที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง จัดให้มีทางหนีไฟ และบันไดหนีไฟ ฯลฯ (ร่างข้อ 25 — ร่างข้อ 29)
6. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในงานเจาะ งานขุด และงานก่อสร้างเสาเข็ม (ร่างข้อ 30 — ร่างข้อ 63)
7. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในงานก่อสร้างกำแพงพืด โดยต้องจัดให้มีวิศวกรควบคุมการทำงาน
ให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้างตลอดเวลา และในระหว่างก่อสร้างชั้นใต้ดินติดตั้งหรือ ฯลฯ (ร่างข้อ 64 — ร่างข้อ 65)
8. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในงานเกี่ยวกับค้ำยัน เครื่องจักรและปั้นจั่น (ร่างข้อ 66 — ร่างข้อ 76)
9. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการใช้ลิฟต์ขนส่งวัสดุและลิฟต์โดยสารชั่วคราว โดยให้ใช้ลิฟต์ขนส่งวัสดุและลิฟต์โดยสารชั่วคราวตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต ฯลฯ (ร่างข้อ 77 — ร่างข้อ 83)
10.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการนำเชือกหรือลวดสลิงมาใช้กับรอก โดยให้มีการใช้เชือกหรือลวดสลิงที่เหมาะสมกับร่องรอก (ร่างข้อ 84 — ร่างข้อ 86)
11.กำหนดให้นายจ้างจัดสร้างทางเดินชั่วคราวยกระดับสูงตั้งแต่ 150 เซนติเมตรขึ้นไป ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามสภาพการใช้งานจริง แต่ไม่น้อยกว่า 250 กิโลกรัมต่อเมตร ฯลฯ (ร่างข้อ 87 — ร่างข้อ 88)
12.กรณีที่ลูกจ้างทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคาร ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป เช่นการทำงานบนเสาหรือในตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง คานที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป หรือทำงานบนหรือในถัง บ่อ หรือกรวย สำหรับเทวัสดุต้องป้องกันการตกหล่นของลูกจ้าง และสิ่งของ โดยจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตกตาข่าย สิ่งปิดกันหรืออุปกรณ์ป้องกันอันใด และจัดให้มีการใช้เข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ ฯลฯ (ร่างข้อ 89 — ร่างข้อ 93)
13.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในกรณีที่ลูกจ้างใช้นั่งร้าน บันได ขาหยั่ง และม้ายืน (ร่างข้อ 94 — ร่างข้อ 97)
14.กำหนดให้นายจ้างป้องกันอันตรายจากการพังทลายหรือการกระเด็นตกหล่นของหิน ดิน ทราย โดยจัดทำไหล่หิน ดิน ทราย หรือวัสดุทั้งให้ลาดเอียงเป็นมุม ผ้าใบ หรือตาข่าย ปิดกั้นหรือรองรับ (ร่างข้อ 98 — ร่างข้อ 100)
15.กำหนดความปลอดภัยในการขุดเจาะอุโมงค์โดยให้นายจ้างจัดให้มีวิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านอุโมงค์และมีความรู้ด้านปฐพีกลศาสตร์ ออกแบบ และกำหนดวิธีปฏิบัติงาน และต้องมีวิศวกรที่มีประสบการณ์ควบคุมตลอดเวลาทำงาน (ร่างข้อ 101 — ร่างข้อ 103)
16.กำหนดให้นายจ้างจัดทำแผนปฏิบัติงาน จัดทำแผนฉุกเฉินกรณีเกิดภัยจากธรรมชาติ และจัดให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างในน้ำ เป็นชนิดที่สามารถป้องกันความชื้น การระเบิด การลุกไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจรได้ นอกจากนี้ในการทำงานแคร่ลอย หรือนั่งร้านเหนือน้ำนั้นต้องดูแลความปลอดภัย และรักษาความสะอาด แคร่ลอยตลอดเวลาทำงาน (ร่างข้อ 104 — ร่างข้อ 106)
17.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้าง โดยต้องจัดให้มีวิศวกรกำหนดขั้นตอน วิธีการ และควบคุมดูแลการทำงานของลูกจ้าง และจัดให้มีความปลอดภัยในการรื้อถอนทำลายด้วยวัตถุระเบิด โดยจัดให้มีผู้ชำนาญการด้านวัตถุระเบิดและวิศวกรที่มีประสบการณ์เป็นผู้ควบคุมงาน และกำหนดวิธีป้องกันอันตราย (ร่างข้อ 107 — ร่างข้อ 110)
18.กำหนดนายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาทำงาน เช่น งานไม้หรืองานสี งานเหล็ก งานอุโมงค์ เป็นต้น และในอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่เป็นที่ยอมรับ โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ควบคุมงาน และให้มีการตรวจสอบและอบรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล(ร่างข้อ 111 — ร่างข้อ112)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
เกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... เสร็จแล้วโดยกระทรวงแรงงานได้เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงนี้แล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงเป็นการกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ดังนี้
1. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดคำนิยามให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น “งานก่อสร้าง” “อาคาร” “เขตก่อสร้าง” “เขตอันตราย” “อุปกรณ์ไฟฟ้า” “เสาเข็ม” “เสาเจาะเข็ม” “การตอกเสาเข็ม” “เครื่องตอกเสาเข็ม” “แคร่ลอย” “งานก่อสร้างในน้ำ” “ค่าความปลอดภัย” “วิศวกร” “ผู้ควบคุมงาน” “ผู้บังคับเครื่องตอกเสาเข็ม” และ “ ผู้บังคับปั้นจั่น” เป็นต้น (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดให้นายจ้างให้มีแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างงานอาคารขนาดใหญ่ งานสะพานที่ยาวตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป งานสะพานข้ามแยก งานสะพานกลับรถ งานทางแยกต่างระดับ ฯลฯ (ร่างข้อ 3 — ร่างข้อ 15)
4. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในเขตก่อสร้างและงานไฟฟ้า (ร่างข้อ 16 — ร่างข้อ 24)
5. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการป้องกันอัคคีภัย โดยห้ามเก็บสารไวไฟหรือวัตถุระเบิดที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง จัดให้มีทางหนีไฟ และบันไดหนีไฟ ฯลฯ (ร่างข้อ 25 — ร่างข้อ 29)
6. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในงานเจาะ งานขุด และงานก่อสร้างเสาเข็ม (ร่างข้อ 30 — ร่างข้อ 63)
7. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในงานก่อสร้างกำแพงพืด โดยต้องจัดให้มีวิศวกรควบคุมการทำงาน
ให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้างตลอดเวลา และในระหว่างก่อสร้างชั้นใต้ดินติดตั้งหรือ ฯลฯ (ร่างข้อ 64 — ร่างข้อ 65)
8. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในงานเกี่ยวกับค้ำยัน เครื่องจักรและปั้นจั่น (ร่างข้อ 66 — ร่างข้อ 76)
9. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการใช้ลิฟต์ขนส่งวัสดุและลิฟต์โดยสารชั่วคราว โดยให้ใช้ลิฟต์ขนส่งวัสดุและลิฟต์โดยสารชั่วคราวตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต ฯลฯ (ร่างข้อ 77 — ร่างข้อ 83)
10.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการนำเชือกหรือลวดสลิงมาใช้กับรอก โดยให้มีการใช้เชือกหรือลวดสลิงที่เหมาะสมกับร่องรอก (ร่างข้อ 84 — ร่างข้อ 86)
11.กำหนดให้นายจ้างจัดสร้างทางเดินชั่วคราวยกระดับสูงตั้งแต่ 150 เซนติเมตรขึ้นไป ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามสภาพการใช้งานจริง แต่ไม่น้อยกว่า 250 กิโลกรัมต่อเมตร ฯลฯ (ร่างข้อ 87 — ร่างข้อ 88)
12.กรณีที่ลูกจ้างทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคาร ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป เช่นการทำงานบนเสาหรือในตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง คานที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป หรือทำงานบนหรือในถัง บ่อ หรือกรวย สำหรับเทวัสดุต้องป้องกันการตกหล่นของลูกจ้าง และสิ่งของ โดยจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตกตาข่าย สิ่งปิดกันหรืออุปกรณ์ป้องกันอันใด และจัดให้มีการใช้เข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ ฯลฯ (ร่างข้อ 89 — ร่างข้อ 93)
13.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในกรณีที่ลูกจ้างใช้นั่งร้าน บันได ขาหยั่ง และม้ายืน (ร่างข้อ 94 — ร่างข้อ 97)
14.กำหนดให้นายจ้างป้องกันอันตรายจากการพังทลายหรือการกระเด็นตกหล่นของหิน ดิน ทราย โดยจัดทำไหล่หิน ดิน ทราย หรือวัสดุทั้งให้ลาดเอียงเป็นมุม ผ้าใบ หรือตาข่าย ปิดกั้นหรือรองรับ (ร่างข้อ 98 — ร่างข้อ 100)
15.กำหนดความปลอดภัยในการขุดเจาะอุโมงค์โดยให้นายจ้างจัดให้มีวิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านอุโมงค์และมีความรู้ด้านปฐพีกลศาสตร์ ออกแบบ และกำหนดวิธีปฏิบัติงาน และต้องมีวิศวกรที่มีประสบการณ์ควบคุมตลอดเวลาทำงาน (ร่างข้อ 101 — ร่างข้อ 103)
16.กำหนดให้นายจ้างจัดทำแผนปฏิบัติงาน จัดทำแผนฉุกเฉินกรณีเกิดภัยจากธรรมชาติ และจัดให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างในน้ำ เป็นชนิดที่สามารถป้องกันความชื้น การระเบิด การลุกไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจรได้ นอกจากนี้ในการทำงานแคร่ลอย หรือนั่งร้านเหนือน้ำนั้นต้องดูแลความปลอดภัย และรักษาความสะอาด แคร่ลอยตลอดเวลาทำงาน (ร่างข้อ 104 — ร่างข้อ 106)
17.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีความปลอดภัยในการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้าง โดยต้องจัดให้มีวิศวกรกำหนดขั้นตอน วิธีการ และควบคุมดูแลการทำงานของลูกจ้าง และจัดให้มีความปลอดภัยในการรื้อถอนทำลายด้วยวัตถุระเบิด โดยจัดให้มีผู้ชำนาญการด้านวัตถุระเบิดและวิศวกรที่มีประสบการณ์เป็นผู้ควบคุมงาน และกำหนดวิธีป้องกันอันตราย (ร่างข้อ 107 — ร่างข้อ 110)
18.กำหนดนายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาทำงาน เช่น งานไม้หรืองานสี งานเหล็ก งานอุโมงค์ เป็นต้น และในอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่เป็นที่ยอมรับ โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ควบคุมงาน และให้มีการตรวจสอบและอบรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล(ร่างข้อ 111 — ร่างข้อ112)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--