คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เป็นดังนี้
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 มติคณะรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม
ที่ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้คงปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16
(ธ.ก.ส.) สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ มกราคม 2550 ทั้งนี้ ในส่วนสถาบันการเงิน
ธ.ก.ส. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ มอบให้กระทรวงการคลังรับไปประสานขอ
ของเกษตรกร ดำเนินการดังนี้ ความร่วมมือ เพื่อเร่งดำเนินการตามนัยมติ
- เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้องให้ชะลอการฟ้องร้อง คณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
ไว้ก่อน
- เรื่องที่มีการฟ้องร้องและคดีถึงที่สุดแล้วให้ชะลอการ (ข้อความอื่นคงเดิม)
บังคับคดีไว้ก่อน
- คดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้วและจะต้องมีการขาย
ทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกรให้ชะลอการขาย
ทอดตลาดไว้ก่อน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงอายุความในการ
ฟ้องร้องดำเนินคดีและการบังคับคดีประกอบ
- ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)
ดำเนินการเจรจากับธนาคารพาณิชย์ สถาบัน (ข้อความอื่นคงเดิม)
การเงินและนิติบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร
เพื่อให้มีการปฏิบัติตามความตกลง (MOU) ที่ได้
ลงนามกันไว้แล้ว ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่าง
จริงจัง โดยให้คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
และความยากจนของเกษตรกรเป็นสำคัญ
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกองทุนฟื้นฟู (ข้อความอื่นคงเดิม)
และพัฒนาเกษตรกร และกองทุนหมุนเวียนเพื่อการ
กู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน รับไปดำเนินการ
ปรับปรุงกลไกการดำเนินงานเพื่อให้สามารถแก้ไข
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยั่งยืนต่อไป
2. ให้สถาบันการเงินและสถาบันเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกรเร่งดำเนินการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ให้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่เกษตรกรต่อไป
3. การจัดการหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)
- ให้ ธ.ก.ส.ปรับสถานภาพของสถาบันเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ ให้เป็นลูกหนี้ชั้นดี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่อปีร้อยละ 5.5
- ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 สิงหาคม 2549 เป็นดังนี้
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 สิงหาคม 2549 มติคณะรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม
...และเห็นชอบให้ กฟก. ทดรองจ่ายให้กับสถาบัน ...และเห็นชอบให้ กฟก. ทดรองจ่ายให้สถาบัน
เกษตรกรก่อน ตามจำนวนที่รัฐบาลต้องจ่ายชดเชย เกษตรกรก่อน ตามจำนวนที่รัฐบาลต้องจ่าย
ให้กับสถาบันเกษตรกร (ต้นเงินส่วนที่เหลือจากที่ ชดเชยให้กับสถาบันเกษตรกร (ต้นเงินส่วนที่เหลือ
กฟก. รับโอนไป และดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี จากที่ กฟก. รับโอนไป และดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ
ของต้นเงินคงค้าง คิดถึงวันที่มีการโอนหนี้ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินคงค้างคิดถึงวันที่มีการโอนหนี้
โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ให้รวมถึงค่าดำเนินการของ
สถาบันเกษตรกร ตามพระราชบัญญัติกองทุน
ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 หมวด 5/1
เพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน
ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544)
ทั้งนี้ สถาบันเกษตรกรต้องไม่เรียกร้องส่วนต่าง
ใด ๆ จากเกษตรกรอีก โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายที่
เพิ่มขึ้นให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของกรมส่งเสริม
สหกรณ์ในกรอบวงเงินเดิม 1,236 ล้านบาท
ที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว
4. โดยที่การชะลอการดำเนินคดีและบังคับคดี ถือเป็นการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้อง จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาประสานงานตามความจำเป็นและเหมาะสม
5. ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และให้ทุกส่วนราชการกำกับดูแลให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้โดยเคร่งครัด ข้อเท็จจริง
1. วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2551 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 37/2551 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้นำข้อเรียกร้องของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยแจ้งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
2. วันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2551 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและปัญหาหนี้สินเกษตรกรแก่คณะรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายอรรคพล สรสุชาติ) ในฐานะประธานอนุกรรมการยกร่างแนวทางแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นัดประชุมกับตัวแทนเกษตรกรที่เป็นกรรมการ กฟก. และได้สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมที่เป็นรูปธรรมและเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
ประเด็นปัญหา
1. การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีและมติคณะกรรมการ กฟก.ยังมีประเด็นปัญหาตามแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร จึงมีการชุมนุมเรียกร้องกับรัฐบาลเป็นระยะ นับตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2550 โดยมีเกษตรกรกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กลุ่มพัฒนายั่งยืน โดยล่าสุดได้ร้องเรียนว่ากระบวนการจัดการหนี้ของรัฐบาลไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เนื่องจากสถาบันเจ้าหนี้อาศัยช่องว่างกฎหมายหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงมีความประสงค์ขอให้รัฐบาลพิจารณาหาแนวทางแก้ไข
2. การไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 เกษตรกรร้องเรียนว่าได้เกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
- สถาบันการเงินและสถาบันเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร ไม่ยอมปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรของกองทุน เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการตามนโยบายและแนวทางของกองทุนจะมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของตน จึงไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจสอบหลักฐานความมีอยู่จริงของหนี้และหลักประกันหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกรลูกหนี้เพื่อคัดแยกเกษตรกรที่เป็นหนี้เพื่อการเกษตรแล้วนำเสนอให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาให้สิทธิในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร
- สถาบันการเงินหลีกเลี่ยงการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 โดยการฟ้องสถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) เพื่อเล็งเห็นผลให้สถาบันเกษตรกรไปฟ้องเกษตรกรอีกต่อหนึ่ง
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกรไม่เร่งดำเนินการโอนหนี้ NPLs ของเกษตรกรมาให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร โดย กฟก.ขอซื้อหนี้จาก ธ.ก.ส. จำนวนกว่า 80,000 คน แต่ ธ.ก.ส. ยินยอมให้ซื้อเพียง 123 คน ที่ได้ฟ้องคดีแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ไม่ระบุเหตุผลในการไม่ยอมขายหนี้ NPLs ของเกษตรกรให้
4. สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) ไม่ยอมรับเงื่อนไขที่ กฟก.ขอชำระหนี้เงินต้นคงค้างร้อยละ 100 บวกดอกเบี้ยร้อยละ 5 แทนเกษตรกร (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 สิงหาคม 2549) โดยให้เหตุผลว่าต้นทุนการกู้ยืมเงินจาก ธ.ก.ส.ต้องเสียดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 5 ที่ได้รับจาก กฟก. ซึ่งเมื่อรวมค่าดำเนินการของสถาบันเกษตรกรอีกประมาณร้อยละ 3 จะทำให้ สหกรณ์ขาดทุน จึงไม่สามารถรับชำระหนี้แทนเกษตรกรจาก กฟก.ได้ และไม่ยอมขายหนี้ รวมทั้งไม่ยอมหยุดการดำเนินคดีกับเกษตรกรด้วย ซึ่งหากต้องการซื้อหนี้ตามหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ สถาบันเกษตรกรบังคับให้เกษตรกรต้องมาชำระดอกเบี้ย ส่วนต่างจากร้อยละ 5 ที่ กฟก. ชำระหนี้แทนได้ ทำให้เกษตรกรต้องถูกหักค่าหุ้นและเงินปันผลที่ถือหุ้นอยู่กับสหกรณ์มาชำระเงินส่วนต่าง หากเงินค่าหุ้นและเงินปันผลมีไม่เพียงพอชำระส่วนต่าง เกษตรกรก็ต้องถูกบังคับให้ไปหาเงินจากแหล่งเงินอื่นมาชำระ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
1. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เป็นดังนี้
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 มติคณะรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม
ที่ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้คงปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16
(ธ.ก.ส.) สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ มกราคม 2550 ทั้งนี้ ในส่วนสถาบันการเงิน
ธ.ก.ส. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ มอบให้กระทรวงการคลังรับไปประสานขอ
ของเกษตรกร ดำเนินการดังนี้ ความร่วมมือ เพื่อเร่งดำเนินการตามนัยมติ
- เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้องให้ชะลอการฟ้องร้อง คณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
ไว้ก่อน
- เรื่องที่มีการฟ้องร้องและคดีถึงที่สุดแล้วให้ชะลอการ (ข้อความอื่นคงเดิม)
บังคับคดีไว้ก่อน
- คดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้วและจะต้องมีการขาย
ทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกรให้ชะลอการขาย
ทอดตลาดไว้ก่อน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงอายุความในการ
ฟ้องร้องดำเนินคดีและการบังคับคดีประกอบ
- ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)
ดำเนินการเจรจากับธนาคารพาณิชย์ สถาบัน (ข้อความอื่นคงเดิม)
การเงินและนิติบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร
เพื่อให้มีการปฏิบัติตามความตกลง (MOU) ที่ได้
ลงนามกันไว้แล้ว ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่าง
จริงจัง โดยให้คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
และความยากจนของเกษตรกรเป็นสำคัญ
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกองทุนฟื้นฟู (ข้อความอื่นคงเดิม)
และพัฒนาเกษตรกร และกองทุนหมุนเวียนเพื่อการ
กู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน รับไปดำเนินการ
ปรับปรุงกลไกการดำเนินงานเพื่อให้สามารถแก้ไข
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยั่งยืนต่อไป
2. ให้สถาบันการเงินและสถาบันเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกรเร่งดำเนินการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ให้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่เกษตรกรต่อไป
3. การจัดการหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)
- ให้ ธ.ก.ส.ปรับสถานภาพของสถาบันเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ ให้เป็นลูกหนี้ชั้นดี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่อปีร้อยละ 5.5
- ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 สิงหาคม 2549 เป็นดังนี้
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 สิงหาคม 2549 มติคณะรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม
...และเห็นชอบให้ กฟก. ทดรองจ่ายให้กับสถาบัน ...และเห็นชอบให้ กฟก. ทดรองจ่ายให้สถาบัน
เกษตรกรก่อน ตามจำนวนที่รัฐบาลต้องจ่ายชดเชย เกษตรกรก่อน ตามจำนวนที่รัฐบาลต้องจ่าย
ให้กับสถาบันเกษตรกร (ต้นเงินส่วนที่เหลือจากที่ ชดเชยให้กับสถาบันเกษตรกร (ต้นเงินส่วนที่เหลือ
กฟก. รับโอนไป และดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี จากที่ กฟก. รับโอนไป และดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ
ของต้นเงินคงค้าง คิดถึงวันที่มีการโอนหนี้ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินคงค้างคิดถึงวันที่มีการโอนหนี้
โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ให้รวมถึงค่าดำเนินการของ
สถาบันเกษตรกร ตามพระราชบัญญัติกองทุน
ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 หมวด 5/1
เพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน
ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544)
ทั้งนี้ สถาบันเกษตรกรต้องไม่เรียกร้องส่วนต่าง
ใด ๆ จากเกษตรกรอีก โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายที่
เพิ่มขึ้นให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของกรมส่งเสริม
สหกรณ์ในกรอบวงเงินเดิม 1,236 ล้านบาท
ที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว
4. โดยที่การชะลอการดำเนินคดีและบังคับคดี ถือเป็นการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้อง จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาประสานงานตามความจำเป็นและเหมาะสม
5. ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และให้ทุกส่วนราชการกำกับดูแลให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้โดยเคร่งครัด ข้อเท็จจริง
1. วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2551 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 37/2551 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้นำข้อเรียกร้องของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยแจ้งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
2. วันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2551 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและปัญหาหนี้สินเกษตรกรแก่คณะรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายอรรคพล สรสุชาติ) ในฐานะประธานอนุกรรมการยกร่างแนวทางแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นัดประชุมกับตัวแทนเกษตรกรที่เป็นกรรมการ กฟก. และได้สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมที่เป็นรูปธรรมและเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
ประเด็นปัญหา
1. การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีและมติคณะกรรมการ กฟก.ยังมีประเด็นปัญหาตามแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร จึงมีการชุมนุมเรียกร้องกับรัฐบาลเป็นระยะ นับตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2550 โดยมีเกษตรกรกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กลุ่มพัฒนายั่งยืน โดยล่าสุดได้ร้องเรียนว่ากระบวนการจัดการหนี้ของรัฐบาลไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เนื่องจากสถาบันเจ้าหนี้อาศัยช่องว่างกฎหมายหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงมีความประสงค์ขอให้รัฐบาลพิจารณาหาแนวทางแก้ไข
2. การไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 เกษตรกรร้องเรียนว่าได้เกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
- สถาบันการเงินและสถาบันเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกร ไม่ยอมปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรของกองทุน เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการตามนโยบายและแนวทางของกองทุนจะมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของตน จึงไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจสอบหลักฐานความมีอยู่จริงของหนี้และหลักประกันหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกรลูกหนี้เพื่อคัดแยกเกษตรกรที่เป็นหนี้เพื่อการเกษตรแล้วนำเสนอให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาให้สิทธิในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร
- สถาบันการเงินหลีกเลี่ยงการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มกราคม 2550 โดยการฟ้องสถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) เพื่อเล็งเห็นผลให้สถาบันเกษตรกรไปฟ้องเกษตรกรอีกต่อหนึ่ง
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเกษตรกรไม่เร่งดำเนินการโอนหนี้ NPLs ของเกษตรกรมาให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร โดย กฟก.ขอซื้อหนี้จาก ธ.ก.ส. จำนวนกว่า 80,000 คน แต่ ธ.ก.ส. ยินยอมให้ซื้อเพียง 123 คน ที่ได้ฟ้องคดีแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ไม่ระบุเหตุผลในการไม่ยอมขายหนี้ NPLs ของเกษตรกรให้
4. สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) ไม่ยอมรับเงื่อนไขที่ กฟก.ขอชำระหนี้เงินต้นคงค้างร้อยละ 100 บวกดอกเบี้ยร้อยละ 5 แทนเกษตรกร (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 สิงหาคม 2549) โดยให้เหตุผลว่าต้นทุนการกู้ยืมเงินจาก ธ.ก.ส.ต้องเสียดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 5 ที่ได้รับจาก กฟก. ซึ่งเมื่อรวมค่าดำเนินการของสถาบันเกษตรกรอีกประมาณร้อยละ 3 จะทำให้ สหกรณ์ขาดทุน จึงไม่สามารถรับชำระหนี้แทนเกษตรกรจาก กฟก.ได้ และไม่ยอมขายหนี้ รวมทั้งไม่ยอมหยุดการดำเนินคดีกับเกษตรกรด้วย ซึ่งหากต้องการซื้อหนี้ตามหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ สถาบันเกษตรกรบังคับให้เกษตรกรต้องมาชำระดอกเบี้ย ส่วนต่างจากร้อยละ 5 ที่ กฟก. ชำระหนี้แทนได้ ทำให้เกษตรกรต้องถูกหักค่าหุ้นและเงินปันผลที่ถือหุ้นอยู่กับสหกรณ์มาชำระเงินส่วนต่าง หากเงินค่าหุ้นและเงินปันผลมีไม่เพียงพอชำระส่วนต่าง เกษตรกรก็ต้องถูกบังคับให้ไปหาเงินจากแหล่งเงินอื่นมาชำระ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--