คณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธานกรรมการ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2551 วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2551 ดังนี้
1. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำ ในโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้รวมถึงระบบการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อยด้วย และให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ต่อไปอีก 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ตามประเด็นอภิปรายในเรื่องวงเงินที่แต่ละโรงงานจะได้รับการจัดสรรโรงงานละ 21,276,595 บาท และวงเงินกู้ยืมที่จัดสรรให้ชาวไร่อ้อยไม่เกิน 150 บาทต่อตันอ้อย และไม่เกินวงเงินรวม 200,000 บาทต่อราย โดยให้โรงงานเป็นผู้ค้ำประกันนั้นเห็นว่า จำนวนวงเงินดังกล่าวไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เห็นควรมอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) รับไปพิจารณาปรับวงเงินที่จะจัดสรรให้โรงงานแต่ละโรงเพิ่มตามวงเงินที่ปรับเพิ่มและสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการฯ แต่ละราย ควรพิจารณาปรับเพิ่มร้อยละ 20-30 เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นที่จะทำให้การดำเนินโครงการฯ มีประสิทธิภาพต่อไป ไปดำเนินการด้วย
2. อนุมัติให้เพิ่มวงเงินกู้ที่จะใช้ในโครงการฯ จากปีละ 1,000 ล้านบาท เป็นปีละ 2,000 ล้านบาท และในกรณีที่มีการใช้วงเงินกู้เต็มตามจำนวน 2,000 ล้านบาทแล้ว หากยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินกู้เพิ่มขึ้นอีก ก็อนุมัติเป็นหลักการให้เพิ่มวงเงินกู้ที่จะใช้ในโครงการฯ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) ตกลงกับกระทรวงการคลัง (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) และดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. จากการสำรวจและติดตามผลการพัฒนาแหล่งน้ำในโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 9 -10 ตันต่อไร่ เป็น 14 -16 ตันต่อไร่ อย่างไรก็ดี เนื่องจากแนวทางปฏิบัติในการเข้าโครงการฯ กำหนดให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแสดงหลักฐานเอกสารสิทธิในพื้นที่ปลูกอ้อยด้วย หรือหากเป็นพื้นที่เช่าต้องมีระยะเวลาสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยบางรายไม่สามารถขอรับการสนับสนุนเงินกู้จากโครงการฯ ได้ นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกอ้อยในบางพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะทำการพัฒนาแหล่งน้ำตามรูปแบบที่กำหนด แต่สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำในลักษณะอื่น ๆ ได้
2. ในการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ครั้งที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินโครงการฯ แล้วเห็นว่า การพัฒนาแหล่งน้ำตามโครงการฯ เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตอ้อย อย่างไรก็ดี แม้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี (6 กุมภาพันธ์ 2550) แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถใช้ประโยชน์จากเงินกู้ในโครงการฯ เป็นจำนวนน้อย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติและขยายโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถใช้ประโยชน์จากเงินกู้ในโครงการฯ เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อยในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
1. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำ ในโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้รวมถึงระบบการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อยด้วย และให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ต่อไปอีก 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ตามประเด็นอภิปรายในเรื่องวงเงินที่แต่ละโรงงานจะได้รับการจัดสรรโรงงานละ 21,276,595 บาท และวงเงินกู้ยืมที่จัดสรรให้ชาวไร่อ้อยไม่เกิน 150 บาทต่อตันอ้อย และไม่เกินวงเงินรวม 200,000 บาทต่อราย โดยให้โรงงานเป็นผู้ค้ำประกันนั้นเห็นว่า จำนวนวงเงินดังกล่าวไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เห็นควรมอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) รับไปพิจารณาปรับวงเงินที่จะจัดสรรให้โรงงานแต่ละโรงเพิ่มตามวงเงินที่ปรับเพิ่มและสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการฯ แต่ละราย ควรพิจารณาปรับเพิ่มร้อยละ 20-30 เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นที่จะทำให้การดำเนินโครงการฯ มีประสิทธิภาพต่อไป ไปดำเนินการด้วย
2. อนุมัติให้เพิ่มวงเงินกู้ที่จะใช้ในโครงการฯ จากปีละ 1,000 ล้านบาท เป็นปีละ 2,000 ล้านบาท และในกรณีที่มีการใช้วงเงินกู้เต็มตามจำนวน 2,000 ล้านบาทแล้ว หากยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินกู้เพิ่มขึ้นอีก ก็อนุมัติเป็นหลักการให้เพิ่มวงเงินกู้ที่จะใช้ในโครงการฯ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) ตกลงกับกระทรวงการคลัง (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) และดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. จากการสำรวจและติดตามผลการพัฒนาแหล่งน้ำในโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 9 -10 ตันต่อไร่ เป็น 14 -16 ตันต่อไร่ อย่างไรก็ดี เนื่องจากแนวทางปฏิบัติในการเข้าโครงการฯ กำหนดให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแสดงหลักฐานเอกสารสิทธิในพื้นที่ปลูกอ้อยด้วย หรือหากเป็นพื้นที่เช่าต้องมีระยะเวลาสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยบางรายไม่สามารถขอรับการสนับสนุนเงินกู้จากโครงการฯ ได้ นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกอ้อยในบางพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะทำการพัฒนาแหล่งน้ำตามรูปแบบที่กำหนด แต่สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำในลักษณะอื่น ๆ ได้
2. ในการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ครั้งที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินโครงการฯ แล้วเห็นว่า การพัฒนาแหล่งน้ำตามโครงการฯ เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตอ้อย อย่างไรก็ดี แม้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี (6 กุมภาพันธ์ 2550) แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถใช้ประโยชน์จากเงินกู้ในโครงการฯ เป็นจำนวนน้อย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติและขยายโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถใช้ประโยชน์จากเงินกู้ในโครงการฯ เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อยในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--