คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการตามนโยบายเร่งด่วนที่ใช้งบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551) ได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ดำเนินการสร้างกลุ่มเครือข่ายในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรที่เข้มแข็งและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง เกษตรกรประกอบอาชีพและดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยการแนะนำและฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตร การจัดทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือนเกษตรกร ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาการบริหารจัดการทางการเงินการบัญชีแก่ชุมชนและสถาบันเกษตรกร ซึ่งผลการดำเนินงานมีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์รวม 1,123 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20 ของเป้าหมาย 5,508 ครัวเรือน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการเนื่องจากพื้นที่ในการดำเนินงานยังมีความเสี่ยงทำให้การรวมกลุ่มจึงล่าช้า
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพและพื้นที่ ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพแหล่งผลิตการเกษตรที่มีอยู่เดิมและส่งเสริมให้เกิดขึ้นใหม่ เช่น ปลูกทดแทนและดูแลสวนยางพารา ก่อสร้างตลาดกลางยางพารา ปรับปรุงพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ก่อสร้างโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน ฟื้นฟูนาร้าง อบรมเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตลองกอง อบรมและให้ความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อ/แพะ/ไก่เนื้อ และฟื้นฟูอาชีพประมงชายฝั่ง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพสินค้าประมง เป็นต้น โดยเพิ่มแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตรในชุมชนเชื่อมโยงผลผลิตการเกษตรกับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งผลการดำเนินงานมีดังนี้
2.1 ปรับปรุงสวนยางเดิมจำนวน 403,293 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 93 ของเป้าหมาย 487,793 ไร่
2.2 เพิ่มพื้นที่ใหม่จำนวน 27,872 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 36 ของเป้าหมาย 76,630 ไร่
2.3 เพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์ม 6,327 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69 ของเป้าหมาย 9,132 ไร่
2.4 ปรับปรุงคุณภาพลองกองจากเกรด C,B เป็นเกรด A จำนวน 930 ราย คิดเป็นร้อยละ 34 ของเป้าหมาย
2.5 อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ และติดตามดูแลแม่โคเนื้อรวมทั้งดำเนินการผสมเทียม จำนวน 3,102 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 ของเป้าหมาย 3,532 ราย
2.6 อบรมให้ความรู้เกษตรกรแกนนำในการเลี้ยงแพะและติดตามดูแลแพะของกลุ่มเกษตรกรจำนวน 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมาย
2.7 ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ 145 ล้านตัว คิดเป็นร้อยละ 59 ของเป้าหมาย 249 ล้านตัว เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,309 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 ของเป้าหมายและจัดทำประมงโรงเรียน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.5 ของเป้าหมาย (66 แห่ง)
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ดำเนินการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยปรับปรุงคุณภาพดินส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร ฟื้นฟูและป้องกันการ ชะล้างพังทลายของดินก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ ระบบชลประทานจัดหาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานและก่อสร้างปะการังเทียม ซึ่งผลการดำเนินงานมีการปรับปรุงคุณภาพดินและส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์จำนวน 145,391 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของเป้าหมาย 274,325 ไร่ ก่อสร้างแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำ ปรับปรุงชลประทานและแหล่งน้ำในไร่นาจากเป้าหมายจำนวน 230 แห่ง ดำเนินการได้ร้อยละ 36 และการก่อสร้างปะการังเทียม 3 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรให้เข้มแข็ง ดำเนินการสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยปรับรูปแบบการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรแบบมวลชน ผ่านสื่อวิทยุ — โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ สร้างผู้ช่วยในการปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น อาสาสมัครเกษตรและสหกรณ์ ยุวเกษตรกร หมอดินอาสา ยุวหมอดิน เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ อาสาปฏิรูปที่ดิน ให้สามารถเชื่อมโยงกับปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำในท้องถิ่นได้ทุกตำบล สร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชน ซึ่งผลการดำเนินงานมีการดำเนินการพัฒนาเกษตรอาสาจำนวน 2,587 ราย คิดเป็นร้อยละ 77 ของเป้าหมาย มีเกษตกรอาสาที่สามารถสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานได้ 317 ราย และสร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชนตำบลละ 1 แห่ง รวม 326 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ทุกระดับ
5. การดำเนินงานโครงการตามนโยบายเร่งด่วนที่ใช้งบ ศอ.บต.
5.1 โครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพารา วงเงิน 16 ล้านบาท ดำเนินการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลาเพื่อเป็นศูนย์กลางการรับซื้อขายยางพารา และสร้างเครือข่ายตลาดกลางในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดำเนินการทดลองเปิดตลาด 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 27 และ 29 พฤษภาคม 2551 รวม 17,712 กิโลกรัม มูลค่า 1.693 ล้านบาท เฉลี่ยราคายาง 83 — 85 บาท/กก.
5.2 โครงการนำร่องส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อครบวงจร วงเงิน 2.615 ล้านบาท ดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ,เทพา,นาทวี และสะบ้าย้อย) มีกลุ่มผู้เลี้ยงรวม 5 กลุ่ม จำนวน 63 ราย เลี้ยงไก่ทั้งสิ้น 24,220 ตัว
5.3 โครงการฟื้นฟูนาร้าง วงเงิน 23.5 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เน้นการพัฒนาการผลิตข้าวปลอดสารพิษและข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์รณรงค์ฟื้นฟูนาร้าง สำรวจพื้นที่นาร้าง จัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ ทำแผนปฏิบัติการ จัดการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 467 ราย พื้นที่เป้าหมาย 5,500 ไร่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการตามนโยบายเร่งด่วนที่ใช้งบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551) ได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ดำเนินการสร้างกลุ่มเครือข่ายในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรที่เข้มแข็งและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง เกษตรกรประกอบอาชีพและดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยการแนะนำและฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตร การจัดทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือนเกษตรกร ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาการบริหารจัดการทางการเงินการบัญชีแก่ชุมชนและสถาบันเกษตรกร ซึ่งผลการดำเนินงานมีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์รวม 1,123 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20 ของเป้าหมาย 5,508 ครัวเรือน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการเนื่องจากพื้นที่ในการดำเนินงานยังมีความเสี่ยงทำให้การรวมกลุ่มจึงล่าช้า
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพและพื้นที่ ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพแหล่งผลิตการเกษตรที่มีอยู่เดิมและส่งเสริมให้เกิดขึ้นใหม่ เช่น ปลูกทดแทนและดูแลสวนยางพารา ก่อสร้างตลาดกลางยางพารา ปรับปรุงพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ก่อสร้างโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน ฟื้นฟูนาร้าง อบรมเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตลองกอง อบรมและให้ความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อ/แพะ/ไก่เนื้อ และฟื้นฟูอาชีพประมงชายฝั่ง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพสินค้าประมง เป็นต้น โดยเพิ่มแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตรในชุมชนเชื่อมโยงผลผลิตการเกษตรกับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งผลการดำเนินงานมีดังนี้
2.1 ปรับปรุงสวนยางเดิมจำนวน 403,293 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 93 ของเป้าหมาย 487,793 ไร่
2.2 เพิ่มพื้นที่ใหม่จำนวน 27,872 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 36 ของเป้าหมาย 76,630 ไร่
2.3 เพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์ม 6,327 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69 ของเป้าหมาย 9,132 ไร่
2.4 ปรับปรุงคุณภาพลองกองจากเกรด C,B เป็นเกรด A จำนวน 930 ราย คิดเป็นร้อยละ 34 ของเป้าหมาย
2.5 อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ และติดตามดูแลแม่โคเนื้อรวมทั้งดำเนินการผสมเทียม จำนวน 3,102 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 ของเป้าหมาย 3,532 ราย
2.6 อบรมให้ความรู้เกษตรกรแกนนำในการเลี้ยงแพะและติดตามดูแลแพะของกลุ่มเกษตรกรจำนวน 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมาย
2.7 ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ 145 ล้านตัว คิดเป็นร้อยละ 59 ของเป้าหมาย 249 ล้านตัว เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,309 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 ของเป้าหมายและจัดทำประมงโรงเรียน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.5 ของเป้าหมาย (66 แห่ง)
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ดำเนินการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยปรับปรุงคุณภาพดินส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร ฟื้นฟูและป้องกันการ ชะล้างพังทลายของดินก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ ระบบชลประทานจัดหาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานและก่อสร้างปะการังเทียม ซึ่งผลการดำเนินงานมีการปรับปรุงคุณภาพดินและส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์จำนวน 145,391 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของเป้าหมาย 274,325 ไร่ ก่อสร้างแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำ ปรับปรุงชลประทานและแหล่งน้ำในไร่นาจากเป้าหมายจำนวน 230 แห่ง ดำเนินการได้ร้อยละ 36 และการก่อสร้างปะการังเทียม 3 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรให้เข้มแข็ง ดำเนินการสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยปรับรูปแบบการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรแบบมวลชน ผ่านสื่อวิทยุ — โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ สร้างผู้ช่วยในการปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น อาสาสมัครเกษตรและสหกรณ์ ยุวเกษตรกร หมอดินอาสา ยุวหมอดิน เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ อาสาปฏิรูปที่ดิน ให้สามารถเชื่อมโยงกับปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำในท้องถิ่นได้ทุกตำบล สร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชน ซึ่งผลการดำเนินงานมีการดำเนินการพัฒนาเกษตรอาสาจำนวน 2,587 ราย คิดเป็นร้อยละ 77 ของเป้าหมาย มีเกษตกรอาสาที่สามารถสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานได้ 317 ราย และสร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชนตำบลละ 1 แห่ง รวม 326 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ทุกระดับ
5. การดำเนินงานโครงการตามนโยบายเร่งด่วนที่ใช้งบ ศอ.บต.
5.1 โครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพารา วงเงิน 16 ล้านบาท ดำเนินการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลาเพื่อเป็นศูนย์กลางการรับซื้อขายยางพารา และสร้างเครือข่ายตลาดกลางในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดำเนินการทดลองเปิดตลาด 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 27 และ 29 พฤษภาคม 2551 รวม 17,712 กิโลกรัม มูลค่า 1.693 ล้านบาท เฉลี่ยราคายาง 83 — 85 บาท/กก.
5.2 โครงการนำร่องส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อครบวงจร วงเงิน 2.615 ล้านบาท ดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ,เทพา,นาทวี และสะบ้าย้อย) มีกลุ่มผู้เลี้ยงรวม 5 กลุ่ม จำนวน 63 ราย เลี้ยงไก่ทั้งสิ้น 24,220 ตัว
5.3 โครงการฟื้นฟูนาร้าง วงเงิน 23.5 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เน้นการพัฒนาการผลิตข้าวปลอดสารพิษและข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์รณรงค์ฟื้นฟูนาร้าง สำรวจพื้นที่นาร้าง จัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ ทำแผนปฏิบัติการ จัดการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 467 ราย พื้นที่เป้าหมาย 5,500 ไร่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--