คณะรัฐมนตรีเห็นชอบประกาศให้ปี พ.ศ. 2551 เป็น “ปีการสุขาภิบาลแห่งชาติ” เพื่อส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาสุขาภิบาลในประเทศไทยให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ได้ประกาศให้ปี 2551 เป็น “ปีสากลว่าด้วยการสุขาภิบาล” (International Year of Sanitation-2008) เพื่อกระตุ้นให้ประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการสุขาภิบาลของแต่ละประเทศให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา แห่งสหัสวรรษในปี 2558 (ค.ศ.2015) เนื่องจากการเข้าถึงการสุขาภิบาลเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการลดภาวะยากจน เพิ่มการมีสุขภาพดี และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน นั้น กระทรวงสาธารณสุขถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญในการผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการสุขาภิบาลของประเทศไทย นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน มีผลให้ความครอบคลุมด้านการสุขาภิบาล โดยเฉพาะการมีส้วมใช้ในครัวเรือน โดยในปี 2543 พบว่าประชาชนในเขตชนบท มีส้วมใช้ร้อยละ 98.2 และเขตเมืองร้อยละ 98 ซึ่งนับเป็นประเทศแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียที่ประสบความสำเร็จ ด้านการสุขาภิบาล อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมการพัฒนาการสุขาภิบาลในด้านอื่น ๆ ได้แก่ การพัฒนาส้วมในสถานที่สาธารณะ การจัดการสิ่งปฏิกูลและของเสียในชุมชน การพัฒนาการสุขาภิบาล อาหารและน้ำ และพฤติกรรมอนามัยของประชาชน ซึ่งนอกจากจะทำให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) แล้ว ยังเป็นผลดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนไทยอย่างยั่งยืนด้วย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขขอเสนอให้ใช้โอกาสของปีสากลว่าด้วยการสุขาภิบาล ประกาศ “ปีการสุขาภิบาลแห่งชาติ” พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษด้านการสุขาภิบาล โดยมีแนวคิดและสาระสำคัญของการประกาศให้ปี พ.ศ. 2551 เป็น “ปีการสุขาภิบาลแห่งชาติ” สรุปได้ดังนี้
แนวคิดการดำเนินงาน
1. ไทยให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการสุขาภิบาลมายาวนานและเน้นการส่งเสริมการมีและใช้ส้วมของครัวเรือน โดยการช่วยเหลือด้านวิชาการและงบประมาณจากรัฐบาลในระยะแรก ต่อมาโดยการระดมทุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2548 พบว่าครัวเรือนไทยมีส้วมใช้ครอบคลุมร้อยละ 98.9 ส่วนที่ยังมีปัญหาคือพื้นที่ห่างไกลและในชุมชนแออัดบางพื้นที่เท่านั้น และแม้ว่าไทยจะบรรลุเป้าหมายด้านการสุขาภิบาลแล้ว แต่พบว่าอัตราการเจ็บป่วยและการตายจากโรคระบบทางเดินอาหารยังไม่ลดลงมากนัก ซึ่งเกิดจากปัจจัยเกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพฤติกรรมอนามัย ปัจจุบันประชาชนไทยมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ต้องเคลื่อนตัวเข้าเมืองและเดินทางติดต่อระหว่างพื้นที่มากขึ้น ดังนั้น ส้วมในครัวเรือนมิใช่ปัญหาสำหรับไทยแล้ว แต่ส้วมในที่สาธารณะที่ประชาชนต้องใช้ร่วมกันในระหว่างการเดินทางหรือการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น การให้ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะในการใช้ส้วมสาธารณะในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้วมในโรงเรียน วัด และสถานที่สาธารณะอื่น ๆ เช่น สวนสาธารณะ สถานีขนส่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งส่งเสริมและกระตุ้นการมีส่วนร่วมรับผิดชอบจากทุกภาคส่วน
2. ไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะ สามารถเข้าถึงได้และปลอดภัยเมื่อใช้บริการ (Health, Accessibility and Safety : HAS) รวมถึงการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล อาหารและน้ำ และการพัฒนาพฤติกรรมอนามัยของคนไทย จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งนอกจากเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนไทยและลดภาระโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย
3.การดำเนินงานด้านการสุขาภิบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน ดังนั้น ความเข้าใจและความตระหนักในความสำคัญของการสุขาภิบาลจึงต้องมีการสื่อสารต่อสาธารณะ สร้างกลไกและกระบวนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการสุขาภิบาลอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศภายในปี 2551 ซึ่งการสนับสนุนระดับนโยบายจากรัฐบาล โดยการใช้โอกาสเนื่องในปีสากลว่าด้วยการสุขาภิบาล ประกาศให้ปี พ.ศ. 2551 เป็น “ปีการสุขาภิบาลแห่งชาติ” นอกจากเป็นการแสดงความร่วมมือตามประกาศขององค์การสหประชาชาติ ในการรณรงค์พัฒนาการสุขาภิบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแล้ว ยังจะเป็นการกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงประชาชนภายในประเทศเห็นความสำคัญและตื่นตัวที่จะพัฒนาการสุขาภิบาลและพฤติกรรมสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย เป้าหมาย ประชาชนไทยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้อง ได้รับการปกป้องสิทธิการเข้าถึงบริการ และได้รับบริการสุขาภิบาลที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มความตระหนักในความสำคัญของการสุขาภิบาลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษด้านอื่น ๆ
2. เพื่อกระตุ้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการส่งเสริมและดำเนินการตามแนวนโยบายและแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านการสุขาภิบาลของประเทศ
3. เพื่อขับเคลื่อนชุมชนเข้าสู่กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ด้านการสุขาภิบาลและพฤติกรรมสุขอนามัย
4. เพื่อพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานด้านการสุขาภิบาล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสุขาภิบาลที่ดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ได้ประกาศให้ปี 2551 เป็น “ปีสากลว่าด้วยการสุขาภิบาล” (International Year of Sanitation-2008) เพื่อกระตุ้นให้ประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการสุขาภิบาลของแต่ละประเทศให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา แห่งสหัสวรรษในปี 2558 (ค.ศ.2015) เนื่องจากการเข้าถึงการสุขาภิบาลเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการลดภาวะยากจน เพิ่มการมีสุขภาพดี และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน นั้น กระทรวงสาธารณสุขถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญในการผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการสุขาภิบาลของประเทศไทย นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน มีผลให้ความครอบคลุมด้านการสุขาภิบาล โดยเฉพาะการมีส้วมใช้ในครัวเรือน โดยในปี 2543 พบว่าประชาชนในเขตชนบท มีส้วมใช้ร้อยละ 98.2 และเขตเมืองร้อยละ 98 ซึ่งนับเป็นประเทศแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียที่ประสบความสำเร็จ ด้านการสุขาภิบาล อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมการพัฒนาการสุขาภิบาลในด้านอื่น ๆ ได้แก่ การพัฒนาส้วมในสถานที่สาธารณะ การจัดการสิ่งปฏิกูลและของเสียในชุมชน การพัฒนาการสุขาภิบาล อาหารและน้ำ และพฤติกรรมอนามัยของประชาชน ซึ่งนอกจากจะทำให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) แล้ว ยังเป็นผลดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนไทยอย่างยั่งยืนด้วย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขขอเสนอให้ใช้โอกาสของปีสากลว่าด้วยการสุขาภิบาล ประกาศ “ปีการสุขาภิบาลแห่งชาติ” พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษด้านการสุขาภิบาล โดยมีแนวคิดและสาระสำคัญของการประกาศให้ปี พ.ศ. 2551 เป็น “ปีการสุขาภิบาลแห่งชาติ” สรุปได้ดังนี้
แนวคิดการดำเนินงาน
1. ไทยให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการสุขาภิบาลมายาวนานและเน้นการส่งเสริมการมีและใช้ส้วมของครัวเรือน โดยการช่วยเหลือด้านวิชาการและงบประมาณจากรัฐบาลในระยะแรก ต่อมาโดยการระดมทุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2548 พบว่าครัวเรือนไทยมีส้วมใช้ครอบคลุมร้อยละ 98.9 ส่วนที่ยังมีปัญหาคือพื้นที่ห่างไกลและในชุมชนแออัดบางพื้นที่เท่านั้น และแม้ว่าไทยจะบรรลุเป้าหมายด้านการสุขาภิบาลแล้ว แต่พบว่าอัตราการเจ็บป่วยและการตายจากโรคระบบทางเดินอาหารยังไม่ลดลงมากนัก ซึ่งเกิดจากปัจจัยเกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพฤติกรรมอนามัย ปัจจุบันประชาชนไทยมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ต้องเคลื่อนตัวเข้าเมืองและเดินทางติดต่อระหว่างพื้นที่มากขึ้น ดังนั้น ส้วมในครัวเรือนมิใช่ปัญหาสำหรับไทยแล้ว แต่ส้วมในที่สาธารณะที่ประชาชนต้องใช้ร่วมกันในระหว่างการเดินทางหรือการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น การให้ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะในการใช้ส้วมสาธารณะในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้วมในโรงเรียน วัด และสถานที่สาธารณะอื่น ๆ เช่น สวนสาธารณะ สถานีขนส่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งส่งเสริมและกระตุ้นการมีส่วนร่วมรับผิดชอบจากทุกภาคส่วน
2. ไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะ สามารถเข้าถึงได้และปลอดภัยเมื่อใช้บริการ (Health, Accessibility and Safety : HAS) รวมถึงการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล อาหารและน้ำ และการพัฒนาพฤติกรรมอนามัยของคนไทย จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งนอกจากเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนไทยและลดภาระโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย
3.การดำเนินงานด้านการสุขาภิบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน ดังนั้น ความเข้าใจและความตระหนักในความสำคัญของการสุขาภิบาลจึงต้องมีการสื่อสารต่อสาธารณะ สร้างกลไกและกระบวนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการสุขาภิบาลอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศภายในปี 2551 ซึ่งการสนับสนุนระดับนโยบายจากรัฐบาล โดยการใช้โอกาสเนื่องในปีสากลว่าด้วยการสุขาภิบาล ประกาศให้ปี พ.ศ. 2551 เป็น “ปีการสุขาภิบาลแห่งชาติ” นอกจากเป็นการแสดงความร่วมมือตามประกาศขององค์การสหประชาชาติ ในการรณรงค์พัฒนาการสุขาภิบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแล้ว ยังจะเป็นการกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงประชาชนภายในประเทศเห็นความสำคัญและตื่นตัวที่จะพัฒนาการสุขาภิบาลและพฤติกรรมสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย เป้าหมาย ประชาชนไทยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้อง ได้รับการปกป้องสิทธิการเข้าถึงบริการ และได้รับบริการสุขาภิบาลที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มความตระหนักในความสำคัญของการสุขาภิบาลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษด้านอื่น ๆ
2. เพื่อกระตุ้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการส่งเสริมและดำเนินการตามแนวนโยบายและแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านการสุขาภิบาลของประเทศ
3. เพื่อขับเคลื่อนชุมชนเข้าสู่กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ด้านการสุขาภิบาลและพฤติกรรมสุขอนามัย
4. เพื่อพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานด้านการสุขาภิบาล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสุขาภิบาลที่ดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มิถุนายน 2551--จบ--